POLITICS

‘ชัยวุฒิ’ ประชุม 3 ฝ่าย จัดการปัญหาอาชญากรรมออนไลน์

‘ชัยวุฒิ’ ประชุม 3 ฝ่าย จัดการปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ ขอ กลต.จับตาบริษัทเเอบอ้างระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์

วันนี้ (21 ก.ย. 65) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ ครั้งที่ 4/2565 โดยมีการพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นต้น

กรประชุมครั้งนี้ มุ่งไปที่การหาแนวทางป้องกันและแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ที่สำคัญ ได้แก่ กรณี Forex-3D หลอกลงทุนเก็งกำไรการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ กรณีหลอกลงทุนในฟาร์มเห็ด หรือ “Turtle Farm” และ การกดลิงก์ mobile app หลอกลวงโอนเงินออกจากบัญชี เป็นต้น

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ข้อสรุปแนวทางป้องกันและแก้ปัญหา ประกอบด้วย

1. เว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน/เก็งกำไรค่าเงิน (FX) มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เนื่องจากกิจการนี้ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. และต้องได้รับใบอนุญาต ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่เคยมีการให้ใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจแลกเปลี่ยนเงินตราบนแพลตฟอร์มออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย ดังนั้น หากพบพฤติกรรมการซื้อขายแลกเปลี่ยน/เก็งกำไรค่าเงิน ถือว่าผิดกฎหมาย

ส่วนกรณีที่บางเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย โฆษณา หลอกชักชวนลงทุน หรือ หลอกให้คนเอาเงินมาฝากเป็นสกุลเงินต่างประเทศ ชวนซื้อขายแลกเปลี่ยน/เก็งกำไรค่าเงิน (FX) โดยสัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนสูงผิดปกติ เข้าข่าวความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

  1. การหลอกลวงลงทุนผ่านเว็บ/โซเชียล จากการหารือกับผู้แทน สำนักงาน ก.ล.ต. ได้รับคำยืนยันว่า ก.ล.ต. มีอำนาจกำกับดูแลเฉพาะในส่วนที่เป็น “หลักทรัพย์” ส่วนกรณีเป็นสินทรัพย์อื่นๆ อย่างเช่น กรณี หลอกลงทุนฟาร์มเห็ด หรือ “Turtle Farm” ซึ่งเป็นหนึ่งในคดีใหญ่ของตำรวจไซเบอร์ขณะนี้ ก.ล.ต. จะไม่สามารถเข้าไปกำกับดูแลการระดมทุน หรือลงทุนได้ อย่างไรก็ตาม การหลอกลวงรูปแบบนี้ อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินฯ เพราะพฤติกรรมการเชิญชวนลงทุน และมีผลตอบแทนสูงผิดปกติ เเต่ก็ขอให้ก.ล.ต.ออกประกาศหรือประชาสัมพันธ์เตือนให้ประชาชน ทราบว่าบริษัทใดบ้าง ไม่ได้มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ถูกกฏหมาย ต้องเตือนประชาชน เพื่อไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ

3.การหลอกดูดเงินจากบัญชีผ่าน mobile app ซึ่ง ได้ตรวจสอบกับ ธปท. แล้วพบว่า มีกรณีเกิดขึ้นจริง เนื่องจากผู้เสียหายหลงเชื่อ คลิกเปิด link ที่มิจฉาชีพส่งเข้ามาทางมือถือ ทำให้ถูกควบคุมมือถือจากทางไกล (remote control) โดยมิจฉาชีพจะเห็นข้อมูลที่ปรากฏบนหน้าจอมือถือของเหยื่อ ทำให้แฮกรหัส OTP ที่ใช้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ และสั่งโอนเงินจากบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่นได้

ปัจจุบัน ธปท. ได้แจ้งเตือนธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ให้ทำการปรับปรุงระบบ mobile banking เพื่อให้ทำการปิดระบบโอนเงินทันทีเมื่อพบว่ามือถือหมายเลขนั้นๆ ถูกแฮกทางไกล ซึ่งปัจจุบันมี 2 ธนาคารที่ทำการปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงไทย ดังนั้นอยากขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นๆ เร่งทำการอัพเดทด้วย

รมว.ดีอีเอส กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการหลอกลวงลงทุนออนไลน์ ใช้ช่องทางโซเชียลชักชวนลงทุน มีการใช้อินฟูลเอนเซอร์ ดารา คนดังที่มีคนติดตามแยะ ทำให้ประชาชนสนใจอย่างแพร่หลาย และทำให้คนหลงเชื่อตามกันมาลงทุน จนเกิดความเสียหายในวงกว้าง เพื่อป้องกันปัญหา ถ้า สำนักงาน ก.ล.ต. แบงค์ชาติ หรือหน่วยงานใด พบพฤติกรรมแบบนี้ ที่หลอกลวง มีการระดมทุนจากประชาชนอย่างผิดกฎหมาย ก็เร่งตรวจสอบ รวบรวมหลักฐาน ส่งกระทรวงดิจิทัลฯ เพื่อจะได้ดำเนินการเร่งปิดกั้นก่อนที่จะสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนในวงกว้าง

Related Posts

Send this to a friend