POLITICS

‘วีวอช’ ถอดบทเรียนเลือกตั้งในไทยและเอเชีย ชี้เลือกตั้ง 66 มีการพัฒนาที่น่าพอใจแต่ประกาศผลล่าช้า

กกต.อินโดนีเซีย แลกเปลี่ยนการปฏิรูปการเลือกตั้ง ใช้แอปพลิเคชั่นสร้างการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส ด้วยแรงหนุนจากขบวนการนักศึกษาและภาคประชาชน

วันนี้ (18 ธ.ค. 66) เครือข่ายเยาวชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตย (We Watch) และมูลนิธิอันเฟรล (ANFREL Foundation) จัดงานเสวนาสาธารณะเรื่อง “เปลี่ยนคูหาให้เป็นประชาธิปไตย บทเรียนจากเทศถึงไทย” เพื่อสร้างการตระหนักรู้และรวบรวมข้อเสนอแนะต่อการปฏิรูปการเลือกตั้งผ่านประสบการณ์ตรง โดยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำเสนอบทเรียนจากปฏิรูปการเลือกตั้งในเอเชีย และนำมาปรับปรุงแนวทางการปฏิรูปการเลือกตั้งในประเทศไทย

ในช่วงแรกมีการจัดวงเสวนา “บทเรียนจากการปฏิรูปการเลือกตั้งในเอเชีย” โดยมี Brizza Margareth Rosales ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิอันเฟรล (Program Manager, ANFREL), Betty Epsilon Idross Member of Election Commission Republic of Indonesia (KPU) หรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประเทศอินโดนีเซีย และ ผศ.ดร.อรอนงค์ ทิพย์พิมล นักวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการ โดย โอมาร์ หนุนอนันต์

Brizza Margareth Rosales ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิอันเฟรล (Program Manager, ANFREL) พบว่าประชาชนให้ความสนใจ และมีการตื่นตัวในการเลือกตั้งปี 2566 ของประเทศไทย ที่ผ่านมามาก มีการพัฒนาที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างมาก แต่การรายงานผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นช้ากว่าปกติหากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศอื่น เสนอแนะให้มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการรายงานผลการเลือกตั้งเพื่อให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน พร้อมเสนอแนะว่า กกต.ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบการเลือกตั้งให้ประชาชนเข้าใจได้ง่ายกว่านี้ พบว่า นักการเมือง นักวิชาการ และประชาชน ต้องพึ่งการรายงานข่าวของสื่อมวลชน กกต.ต้องเป็นเป็นผู้นำในการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ พัฒนาสู่ Open Election Data เปิดเผยอย่างเหมาะสมกับเวลา เข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีข้อมูลครบถ้วน สามารถวิเคราะห์ได้ ไม่เลือกปฏิบัติ เข้าถึงได้ง่ายตลอดเวลา

Brizza Margareth Rosales ระบุว่า กระบวนการเลือกตั้งที่นับรวมการเลือกตั้งล่วงหน้าสำหรับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทุกคน เป็นจุดแข็งของการเลือกตั้งในประเทศไทย ว่านับรวมทุกคนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในทุกกระบวนการ แต่เห็นว่ายังสามารถทำได้ดีกว่านี้ เพราะในหน่วยเลือกตั้งบางที่ยังไม่เหมาะกับกลุ่มคนผู้พิการ ผู้สูงอายุที่ต้องนั่งรถเข็น จึงอยากให้ กกต.ใส่ใจกับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งกลุ่มนี้ให้มากขึ้นกล่าวโดยสรุปจากการสังเกตการเลือกตั้งของประเทศไทย พบว่า ต้องการให้มีการปฏิรูปการเลือกตั้ง โดย ทำให้โปร่งใส เป็นธรรม และเกิดขึ้นได้จริง

ด้าน Betty Epsilon Idross กกต.ประเทศอินโดนีเซีย (Member of Election Commission Republic of Indonesia : KPU) กล่าวว่า การเลือกตั้งในประเทศอินโดนีเซีย เกิดขึ้นทุก 4-5 ปี เพื่อเลือกตั้งประธานาธิบดี สส. และ สว. รวมถึงผู้บริหารท้องถิ่น กกต.อินโดนีเซียเป็นองค์กรอิสระที่มีความมั่นคง ตนเป็น กกต.ผู้หญิงหนึ่งเดียวใน 7 คน มีหน้าที่เก็บข้อมูล ซึ่งการเลือกตั้งของอินโดนีเซียน เป็นการเลือกตั้งใหญ่ที่สุดในโลกที่เปิดให้เลือกตั้งในวันเดียว

สำหรับก่อนการเลือกต้้ง จะมีการเตรียมตัวในระยะ 20 เดือนก่อนการเลือกตั้งจะเกิดขึ้น ขณะนี้อยู่ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ก่อนจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ปีหน้า โดยจะมีการดีเบตผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานประธานาธิบดีในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ จากนั้นจะมีการเกิดการเลือกตั้งเพื่อหยั่งเสียง หากครั้งแรกไม่มีผู้ใดได้รับเลือกตั้งมากกว่า 50% ก็จะมีการเลือกตั้งครั้งที่สอง เรื่องนี้เป็นไปตามกฎที่ตั้งไว้แต่แรก ว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งรอบสองหากไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนเสียงมากกว่า 50%

ประเทศอินโดนีเซียมีพรรคการเมืองกว่า 18 พรรค ที่พร้อมแข่งขันเพื่อแย่งชิงที่นั่งในสภา และมีอีก 6 พรรคระดับท้องถิ่น ซึ่งประเทศอินโดนีเซียจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี 2024 ซึ่งมีการเปิดการเลือกตั้งนอกประเทศจากผู้ที่อยู่ต่างประเทศ เป็นการเลือกตั้งที่ปรับให้ประชาชนเลือกได้ว่าในประเทศที่อาศัยอยู่มีวันหยุดเป็นวันไหน ก็จัดเลือกตั้งในวันหยุดของประเทศที่อาศัยอยู่ล่วงหน้า อินโดนีเซียมีประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมมากกว่า 200 ล้านคน สัดส่วนประชากรหญิงชายใกล้เคียงกันมาก และการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2024 มีสัดส่วนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ตั้งแต่อายุ 17 ถึง 30 ปีเป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุด ราว 31% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมดที่เป็นชาวอินโดนีเซีย จึงจะเป็นการเลือกตั้งของกลุ่มคนรุ่นใหม่

นอกจากนี้ ประเทศอินโดนีเซีย มีแอปพลิเคชั่นสำหรับการเลือกตั้งให้ประชาชน ได้ติดตามข้อมูลการดำเนินงานของ กกต. ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง จนถึงวันเลือกตั้ง และหลังเลือกตั้ง สามารถให้ประชาชนได้ตรวจสอบข้อมูลการลงคะแนน และใช้เป็นช่องทางให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อแสดงตัวใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งเป็นการทำงานทั้งในระบบออนไลน์และในพื้นที่ด้วย เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้แสดงตัวในระบบก่อนจะมีการเลือกตั้ง เป็นระบบ Open Data มีความฝันจะพัฒนาระบบไปสู่ One Data ให้ประชาชน สามารถมาตรวจสอบการเลือกตั้ง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ โดยเป็นข้อมูลเดียวกัน ซึ่งเชื่อว่าระบบนี้จะสร้างความโปร่งใสให้กับการเลือกตั้ง และยืนยันว่าเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระเที่ยงธรรมในการเลือกตั้ง

ด้าน ผศ.ดร.อรอนงค์ ทิพย์พิมล นักวิชาการจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า ในประเทศอินโดนีเซีย มีภาคประชาชนที่กว้างขวางมาก ทั้งนักศึกษา สื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน สหภาพแรงงาน องค์กรสิ่งแวดล้อม มีการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อปี 1955 โดยในช่วงที่ซูฮาโตเป็นผู้นำเคยเผชิญกับการถูกควบคุมการเลือกตั้งด้วยกฎหมายและความไม่โปร่งใส แต่เมื่อซูฮาโตประกาศลาออกเมื่อปี 1998 ทำให้เกิดการปฏิรูประบบการเลือกตั้งและพรรคการเมือง

อรอนงค์ ชี้ให้เห็นว่าก่อนที่ประเทศอินโดนีเซียจะเกิดการปฏิรูปการเลือกตั้ง เกิดจากแรงหนุนและการเคลื่อนไหวขององค์กรนักศึกษาและภาคประชาชน รวมถึงบทบาทของสื่อมวลชนที่พยายามเคลื่อนไหวตั้งแต่สมัยซูฮาร์โต การเปลี่ยนแปลงต้องใช้ระยะเวลาและการต่อสู้ จากภาคประชาสังคม

กกต.อินโดนีเซีย แลกเปลี่ยนการปฏิรูปการเลือกตั้ง ใช้แอปพลิเคชั่นสร้างการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส ด้วยแรงหนุนจากขบวนการนักศึกษาและภาคประชาชน

วันนี้ (18 ธ.ค. 66) เครือข่ายเยาวชนสังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตย (We Watch) และมูลนิธิอันเฟรล (ANFREL Foundation) จัดงานเสวนาสาธารณะเรื่อง “เปลี่ยนคูหาให้เป็นประชาธิปไตย บทเรียนจากเทศถึงไทย” เพื่อสร้างการตระหนักรู้และรวบรวมข้อเสนอแนะต่อการปฏิรูปการเลือกตั้งผ่านประสบการณ์ตรง โดยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำเสนอบทเรียนจากปฏิรูปการเลือกตั้งในเอเชีย และนำมาปรับปรุงแนวทางการปฏิรูปการเลือกตั้งในประเทศไทย

ในช่วงแรกมีการจัดวงเสวนา “บทเรียนจากการปฏิรูปการเลือกตั้งในเอเชีย” โดยมี Brizza Margareth Rosales ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิอันเฟรล (Program Manager, ANFREL), Betty Epsilon Idross Member of Election Commission Republic of Indonesia (KPU) หรือคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประเทศอินโดนีเซีย และ ผศ.ดร.อรอนงค์ ทิพย์พิมล นักวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินรายการ โดย โอมาร์ หนุนอนันต์

Brizza Margareth Rosales ผู้จัดการโครงการ มูลนิธิอันเฟรล (Program Manager, ANFREL) พบว่าประชาชนให้ความสนใจ และมีการตื่นตัวในการเลือกตั้งปี 2566 ของประเทศไทย ที่ผ่านมามาก มีการพัฒนาที่น่าพึงพอใจเป็นอย่างมาก แต่การรายงานผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นช้ากว่าปกติหากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศอื่น เสนอแนะให้มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุนการรายงานผลการเลือกตั้งเพื่อให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน พร้อมเสนอแนะว่า กกต.ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบการเลือกตั้งให้ประชาชนเข้าใจได้ง่ายกว่านี้ พบว่า นักการเมือง นักวิชาการ และประชาชน ต้องพึ่งการรายงานข่าวของสื่อมวลชน กกต.ต้องเป็นเป็นผู้นำในการเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ พัฒนาสู่ Open Election Data เปิดเผยอย่างเหมาะสมกับเวลา เข้าถึงได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย มีข้อมูลครบถ้วน สามารถวิเคราะห์ได้ ไม่เลือกปฏิบัติ เข้าถึงได้ง่ายตลอดเวลา

Brizza Margareth Rosales ระบุว่า กระบวนการเลือกตั้งที่นับรวมการเลือกตั้งล่วงหน้าสำหรับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทุกคน เป็นจุดแข็งของการเลือกตั้งในประเทศไทย ว่านับรวมทุกคนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในทุกกระบวนการ แต่เห็นว่ายังสามารถทำได้ดีกว่านี้ เพราะในหน่วยเลือกตั้งบางที่ยังไม่เหมาะกับกลุ่มคนผู้พิการ ผู้สูงอายุที่ต้องนั่งรถเข็น จึงอยากให้ กกต.ใส่ใจกับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งกลุ่มนี้ให้มากขึ้นกล่าวโดยสรุปจากการสังเกตการเลือกตั้งของประเทศไทย พบว่า ต้องการให้มีการปฏิรูปการเลือกตั้ง โดย ทำให้โปร่งใส เป็นธรรม และเกิดขึ้นได้จริง

ด้าน Betty Epsilon Idross กกต.ประเทศอินโดนีเซีย (Member of Election Commission Republic of Indonesia : KPU) กล่าวว่า การเลือกตั้งในประเทศอินโดนีเซีย เกิดขึ้นทุก 4-5 ปี เพื่อเลือกตั้งประธานาธิบดี สส. และ สว. รวมถึงผู้บริหารท้องถิ่น กกต.อินโดนีเซียเป็นองค์กรอิสระที่มีความมั่นคง ตนเป็น กกต.ผู้หญิงหนึ่งเดียวใน 7 คน มีหน้าที่เก็บข้อมูล ซึ่งการเลือกตั้งของอินโดนีเซียน เป็นการเลือกตั้งใหญ่ที่สุดในโลกที่เปิดให้เลือกตั้งในวันเดียว

สำหรับก่อนการเลือกต้้ง จะมีการเตรียมตัวในระยะ 20 เดือนก่อนการเลือกตั้งจะเกิดขึ้น ขณะนี้อยู่ในช่วงก่อนการเลือกตั้ง ก่อนจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ปีหน้า โดยจะมีการดีเบตผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานประธานาธิบดีในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ จากนั้นจะมีการเกิดการเลือกตั้งเพื่อหยั่งเสียง หากครั้งแรกไม่มีผู้ใดได้รับเลือกตั้งมากกว่า 50% ก็จะมีการเลือกตั้งครั้งที่สอง เรื่องนี้เป็นไปตามกฎที่ตั้งไว้แต่แรก ว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งรอบสองหากไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนเสียงมากกว่า 50%

ประเทศอินโดนีเซียมีพรรคการเมืองกว่า 18 พรรค ที่พร้อมแข่งขันเพื่อแย่งชิงที่นั่งในสภา และมีอีก 6 พรรคระดับท้องถิ่น ซึ่งประเทศอินโดนีเซียจะมีการเลือกตั้งในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ปี 2024 ซึ่งมีการเปิดการเลือกตั้งนอกประเทศจากผู้ที่อยู่ต่างประเทศ เป็นการเลือกตั้งที่ปรับให้ประชาชนเลือกได้ว่าในประเทศที่อาศัยอยู่มีวันหยุดเป็นวันไหน ก็จัดเลือกตั้งในวันหยุดของประเทศที่อาศัยอยู่ล่วงหน้า อินโดนีเซียมีประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งรวมมากกว่า 200 ล้านคน สัดส่วนประชากรหญิงชายใกล้เคียงกันมาก และการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2024 มีสัดส่วนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ตั้งแต่อายุ 17 ถึง 30 ปีเป็นสัดส่วนใหญ่ที่สุด ราว 31% ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมดที่เป็นชาวอินโดนีเซีย จึงจะเป็นการเลือกตั้งของกลุ่มคนรุ่นใหม่

นอกจากนี้ ประเทศอินโดนีเซีย มีแอปพลิเคชั่นสำหรับการเลือกตั้งให้ประชาชน ได้ติดตามข้อมูลการดำเนินงานของ กกต. ตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง จนถึงวันเลือกตั้ง และหลังเลือกตั้ง สามารถให้ประชาชนได้ตรวจสอบข้อมูลการลงคะแนน และใช้เป็นช่องทางให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อแสดงตัวใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ซึ่งเป็นการทำงานทั้งในระบบออนไลน์และในพื้นที่ด้วย เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้แสดงตัวในระบบก่อนจะมีการเลือกตั้ง เป็นระบบ Open Data มีความฝันจะพัฒนาระบบไปสู่ One Data ให้ประชาชน สามารถมาตรวจสอบการเลือกตั้ง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ โดยเป็นข้อมูลเดียวกัน ซึ่งเชื่อว่าระบบนี้จะสร้างความโปร่งใสให้กับการเลือกตั้ง และยืนยันว่าเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระเที่ยงธรรมในการเลือกตั้ง

ด้าน ผศ.ดร.อรอนงค์ ทิพย์พิมล นักวิชาการจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า ในประเทศอินโดนีเซีย มีภาคประชาชนที่กว้างขวางมาก ทั้งนักศึกษา สื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน สหภาพแรงงาน องค์กรสิ่งแวดล้อม มีการเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อปี 1955 โดยในช่วงที่ซูฮาโตเป็นผู้นำเคยเผชิญกับการถูกควบคุมการเลือกตั้งด้วยกฎหมายและความไม่โปร่งใส แต่เมื่อซูฮาโตประกาศลาออกเมื่อปี 1998 ทำให้เกิดการปฏิรูประบบการเลือกตั้งและพรรคการเมือง

อรอนงค์ ชี้ให้เห็นว่าก่อนที่ประเทศอินโดนีเซียจะเกิดการปฏิรูปการเลือกตั้ง เกิดจากแรงหนุนและการเคลื่อนไหวขององค์กรนักศึกษาและภาคประชาชน รวมถึงบทบาทของสื่อมวลชนที่พยายามเคลื่อนไหวตั้งแต่สมัยซูฮาร์โต การเปลี่ยนแปลงต้องใช้ระยะเวลาและการต่อสู้ จากภาคประชาสังคม

Related Posts

Send this to a friend