POLITICS

คณะนิติศาสตร์ มธ. จัดสัมมนา “ปัญหาการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิด ในกระบวนการยุติธรรมฯ”

วันนี้ (4 พ.ย. 65) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อ “ปัญหาการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิดในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย” โดยมีผู้ร่วมสัมมนาคือ พล.ต.ต.เจนเชิง ประทุมสุวรรณ ผู้บังคับการกองทะเบียนประวัติอาชญากรรม, ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ มธ., คุณปิติกาญจน์ สิทธิเดช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, รศ.ดร.ปกป้อง ศรีสนิท คณบดีคณะนิติศาสตร์, นายชัยวัฒน์ ร่างเล็ก รองผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม และนายรังสิมันต์ โรม พรรคก้าวไกล

ผศ.ดร.ปริญญา ระบุว่า “การใช้ประมวลกฏหมายอาญา จะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ที่ประเทศไทยไม่ใช่แบบนั้น จึงต้องแก้ไขที่โครงสร้างใหญ่ โดยจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำของไทยสูงติดอันดับ 6 ของโลก และมีผู้ต้องขังระหว่างการพิจารณาในขณะนี้ ที่ยังไม่ถูกตัดสินว่าผิดกว่า 5 หมื่นคน การดำเนินการในไทยคือรอลงอาญา หรือโทษปรับก็กลายเป็นนักโทษอาชญากรแล้ว เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อว่าเขาคือนักโทษอาชญากร และทำให้มีประวัติจนไม่สามรถสมัครงานได้ อีกทั้งการผลักดันให้มีการวงเงินประกันน้อยลง และลดการคุมขังในคุก ส่วนการที่ใช้เงินประกัน หมายความว่ามีเงินก็จะประกันตัวได้ และคนที่ติดคุกอยู่ตอนนี้ก็เป็นคนที่ไม่มีเงินประกันตัว”

“ อย่างแรกต้องแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ใช้หลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ ซึ่งจะเป็นอาชญากรก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาเท่านั้น รวมไปถึงแก้ไขประวัติอาชญากรรมที่มีไว้ การปล่อยตัวชั่วคราวต้องยกเลิก จะปล่อยตัวเรื่องเงินต้องไม่เกี่ยว ส่วนถ้าจะมีการขังชั่วคราวก็ต้องขังที่อื่นที่ไม่ใช่คุก สุดท้ายนี้คือการประเมินผลความยุติธรรมของไทย”

รศ.ดร.ปกป้อง กล่าวว่า “กฏหมายของไทยจะต้องใช้เหตุการขังเท่าที่จำเป็น แต่ในไทยใช้ดุลพินิจเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่เป็นไปตามเกณฑ์เดียวกัน ต่างกับในฝรั่งเศสขังระหว่างพิจารณาตาม 7 ข้อที่กำหนดไว้ อาทิ เป็นคดีร้ายแรงที่ส่งผลกับคนส่วนมาก ซี่งการจับขังระหว่างพิจารณา ซึ่งไม่ขัดกับ presumption of innocent แต่ถ้าหากขังไว้นานโดยไม่ดำเนินการต่อก็จะกระทบต่อ presumption of innocent รวมไปถึงการขังเป็นมาตรการสุดท้าย จะต้องปล่อยตัวตามเงื่อนไขที่กำหนด สัดส่วนในการขัง ถ้าขังชั่วคราวจะขังได้เฉพาะคดีที่โทษมากกว่า 3 ปีขึ้นไป เพราะโดนสันนิษฐานว่าบริสุทธิ์อยู่ และวิธีการพิจารณาในการสั่งขัง ส่วนข้อเสนอในการแก้ไขปัญหา การขังระหว่างดำเนินคดีอาญา เป็นยาแรงที่จำเป็น แต่ควรใช้เท่าที่จำเป็น ควรแก้ประมวลกฎหมายอาญา”

พล.ต.ต.เจนเชิง ให้ข้อมูลว่า “ ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทำงานจับผู้ต้องหาได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากต้องการลดปัญหาอาชญากรรม อีกทั้งยังมีการปล่อยตัว และทำตามขั้นตอนกระบวนการตามกฏหมาย”

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า “ระบบฐานข้อมูลที่ใช้การดูหมายจับแล้ว แต่ไม่ได้มีการอัพเดต ร่างประวัติอาชญากรรม ยังมีคดีที่แค่อยู่ภายในที่ที่มีการทำผิด แต่ไม่ได้ทำ และโดนสันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิดแล้ว สังคมแทบไม่มองคนที่ตำรวจจับมาเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งก็มาจากความคิดโดยรวมของสังคม การจะแก้ปัญหาได้ต้องแก้ที่งบประมาณในการดูแลประชากรด้วย ต้องเตรียมความพร้อมทั้งหมด ไม่ได้ทำได้แค่การแก้กฏหมาย

“ส่วนการสันนิษฐานว่าทำผิดไว้ก่อน เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ออกไปทำงานจับสักคน ต้องมีความเชื่อแบบไหน ถ้ามองว่าไม่ผิดอาจไม่ต้องเตรียมความพร้อมไปก็ได้ และต้องมีการวิเคราะห์ผู้ต้องหาได้เช่นกัน เบื้องต้นมีวิธีการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรมอยู่แล้ว ถ้าไม่เปิดเผยก็เพื่อให้คนเหล่านี้มีที่ยืน เช่น เด็กที่ทำความผิดห้ามเปิดเผยข้อมูล ในส่วนของอาชีพอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ก็ให้มีแจ้งประวัติอย่างชัดเจน และการแก้ไขปัญหาตรงนี้ต้องมาจากทุกภาคส่วน”

ด้าน รังสิสันต์ ระบุว่า “การมีชื่อในบัญชีอาชญากรรม ก็ไม่ต่างอะไรกับอาชญากร ตัวอย่างเช่น เวลาไปร่วมงานที่ต้องตรวจบัตรประชาชนก็ไม่สามารถเข้าร่วมงานได้ เพราะมีประวัติอาชญากรรม ทั้งที่แต่ละคดียังไม่ถูกตัดสิน ต่อมาคือการที่ไม่คัดค้านการถูกฝากขังเลย เนื่องจากไม่มีทนาย และคนส่วนมากไม่ได้เข้าใจว่า เรามีสิทธิ์ในการคัดค้านการฝากขังหรือหาเงินมาจ้างทนาย ในตอนที่ติดคุก ก็เกิดคำถามว่า เรามาต่อสู้เพื่อความยุติธรรม หรือว่ามาพิสูจน์ว่าตัวเองเป็นผู้บริสุทธิ์ จากการถูกตัดสินว่าผิดไปแล้ว”

วิธีการแก้ไขจะต้องแก้ประมวลกฎหมายอาญา แม้ขณะนี้จะแก้ในสภาไม่ทันแล้ว แต่ก็สามารถปักธงทางความคิดได้ ว่าความยุติธรรมจะอยู่ต่อไป ต่อมาคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้มีผู้ตรวจการศาล เพื่อความยุติธรรม ผู้พิพากษาทั้งจากศาลฎีกา และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฏร เนื่องจากต้องการการยึดโยงกับประชาชน เพิ่มฐานความผิดการบิดเบือนกฏหมาย และให้ผู้พิพากษา ตุลาการ เปิดบัญชีทรัพย์สินเป็นระยะ จะได้เห็นว่ามั่นใจและโปร่งใสมากขึ้น สิ่งที่เราควรจะทำคือการทำให้มีความโปร่งใสควบคู่ไปกับหารทำงานอิสระ

Related Posts

Send this to a friend