POLITICS

‘กลุ่มราษฏรหยุดเอเปค’ ยื่นฟ้อง สตช. กรณีสลายการชุมนุมช่วงเอเปค ชี้ ผิดหลักสิทธิมนุษยชน

วันนี้ (5 ก.ค. 66) กลุ่มราษฎรหยุดเอเปค ยื่นฟ้องสำนักงานตไรวจแห่งชาติ ต่อศาลปกครอง จากการสลายการชุมนุมกลุ่มราษฎรหยุด APEC2022 เมื่อวันที่ 18 พ.ย. 2565 ในระหว่างที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC)

ต่อมาได้มีการแสดง Performance Art ถึงการสลายการชุมนุมในวันนั้น และเปิดพื้นที่เสวนาจากกลุ่มแกนนำ โดยนายสมบูรณ์ คำแหง ระบุว่า ในช่วงการประชุมเอเปค เรื่อง นำไปสู่การแย่งยึดพื้นที่ของชาวบ้าน ตั้งองค์การก๊าซเรือนกระจก และเปลี่ยนชื่อกรม เป็นวิ่งที่นักสิ่งแวดล้อมโลกไม่สามารถรับได้ แต่ต้องเป็นแนวคิดที่กลุ่มทุนที่สร้าวคาร์บอนทำได้ต่อไปแค่นำเงินมาจ่ายให้ คนเิงช้ื่อว่าทุกภาคในบริเวณนั้นจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน

“ผมเชื่อว่าในช่วงนั้นเรารู้ว่าการออกมาเคลื่อนไหวช่วงนี้นทำได้ยาก ทั้งกฎอัยการศึก พ.ร.บ.การชุมนุม ซึ่งเราถือว่าจำกัดสิทธิ์ของประชาชน อีกทั้ง พวกเรายังแจ้งทำตามขั้นตอนครบถ้วน แต่ก็มาสลายการชุมนุมพวกเรา จึงคิดว่าตั้งใจที่จะสะกัเกั้นพวกเราอย่างชัดเจน ตึงเป็นเหตุผลที่เราต้องมาที่ศาลปกครองในวันนี้ ต้องมีคนรับผิดชอบ” นายสมบูรณ์ กล่าว

ตัวแทนสมัชชาคนจน ระบุว่า รัฐพยายามเพิ่มระดับในการใช้ความรุนแรง ส่งเจ้าหน้าที่ติดตาม เหมือนเป็นการลิดรอนสิทธิก่อนที่จะออกไปชุมนุมด้วย ตนเองไม่คิดว่าจะมีความรุนแรงขนาดนั้น เพราะคนที่มาเป็นชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่จนเงิน แต่มันคือการจนสิทธิ จนโอกาส และนโยบาย BCG จะส่งผลกระทบต่อพี่น้อง ในวันที่ 18 พ.ย. 65 มีการใช้ความรุนแรงมาก เหมือนการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม โดยชาวบ้านหลายคนที่กลับไปก็มีความหวาดกลัว และไม่กล้าออกมาเรียงร้องอีก

นายพายุ บุญโสภณ ระบุว่า เราขึ้นมาปกติ ออกมาเรียกร้องปกติ ไม่คิดว่าจะมีเหตุการณ์ความรุนแรง ซึ่งการชุมนุมเป็นเครื่องมือเดียวที่เรามี รวมถึงทำตามกำหนดการทุกอย่าง โดยเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการแจ้งก่อนการสลายการชุมนุม ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งรอกที่เกิดเหตุการณ์กับประชาชน แต่เรามองว่าเรารอไม่ได้แล้ง จึงอยากสร้างบรรทัดฐานในการฟ้องครั้งนี้

นางสาวภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล ระบุว่า ตนเองมองว่าการแก้ไขปัญหาเชิงทรัพยากร ควรควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งการประชุมตั้งแต่วันที่ 16 พ.ย. 65 เป็นไปด้วยความสงบ และแสดงให้เห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อทุกคนอย่างไร แม้จะไม่เห็นด้วย เราก็ทำตามกระบวนการ สิ่งที่เจ้าหน้าที่ทำ ผิดหลักสิทธิมนุษยชน ผิกต่อหลักประชาธิปไตย หลักที่บอกว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ วันนี้จึงเดินทางมาฟ้องศาลเพื่อให้เกิดความยุติธรรม ต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้น ความเสียหายที่เกิดขึ้น

โดยมีข้อเรียกร้องขอให้ศาลพิพากษา ดังนี้
1.สำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าเสียหายต่อเสรีภาพการชุมนุม ค่าเสียหายต่อร่างกาย ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายต่อจิตใจ ค่าเสียหายต่อทรัพย์สิน ค่าขาดรายได้ ค่าเสียหายจากการเสื่อมเสียชื่อเสียง และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แก่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 19 คน รวม 12,499,891

2.ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้บังคับบัญชาตำรวจที่เกี่ยวข้องปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลไม่ให้มีการปิดกั้นขัดขวาง และหรือใช้กำลังในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลการชุมนุมสาธารณะที่รุนแรงเกินจำเป็น ไม่ได้สัดส่วน และเกินสมควรแก่เหตุกับผู้ชุมนุมทุกกลุ่ม และกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามหลักการปฏิบัติสากลเกี่ยวกับการใช้กำลัง และเครื่องมือควบคุมฝูงชนอย่างเคร่งครัดและด้วยความระมัดระวัง โดยคำนึงถึงการรับรองและคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของประชาชน

3.ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บังคับบัญชาตำรวจที่เกี่ยวข้อง แก้ไขปรับปรุงแผนการดูแลการชุมนุมสาธารณะ และคู่มือการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ให้มีมาตรการป้องกันและควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ดูแลการชุมนุมสาธารณะของตำรวจควบคุมฝูงชนให้ชัดเจน เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนผู้ชุมนุมในอนาคตและเพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำชาก รวมถึงกำหนดให้มีการเปิดเผยรายงานการปฏิบัติหน้าที่ดูแลการชุมนุมสาธารณะ รายละเอียดการใช้กำลัง รายชื่อตำรวจเกี่ยวข้อง และรายชื่อตำรวจที่ใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ชุมนุม ให้สาธารณะหรือประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตรวจสอบได้ด้วย

Related Posts

Send this to a friend