“ตอนนั้นผมเป็นสมาชิก อบต.บ้านน้ำเค็ม พอเกิดภัยพิบัติ ผมรู้สึกเอาเองว่าต้องดูแลชาวบ้าน ด้วยความหวังว่าเราดูแลเขาวันหน้าเขาจะเลือกเราเป็น อบต. ทั้งๆ ที่ตอนนั้นพ่อผมเสียชีวิต ผมฝากศพพ่อไปกับญาติที่จังหวัดนครศรีธรรมราช แล้วมาช่วยชาวบ้าน เพราะคิดว่าเป็นหน้าที่ของเรา”
ไมตรี เล่าให้ฟังถึงเหตุการณ์วันนั้น
ไมตรี บอกว่าพอไปเยี่ยมชาวบ้านหลายที่เขาหนีไปอยู่ตามเขา ตามวัด ไม่มีที่อาบน้ำ ไม่มีที่นอน จะอยู่ยังไง ถามว่าชาวบ้านไม่มีห้องน้ำ มูลนิธิชุมชนไท ก็ไปหาห้องน้ำ เขาเลยซื้อส้วม คอห่าน สังกะสี สร้างห้องน้ำ ก็มีห้องน้ำ แล้วไม่มีที่นอน ก็หาเต้นท์ฺมาให้ เริ่มจัดหมู่ลูกเสือ ทางมูลนิธิชุมชนไท ชวนเราตั้งคำถาม เป็นจุดตั้งต้นทำบ้านพักชั่วคราว ก็เห็นประสบการณ์
“เราเจอกัน 30 ธันวาคม 2547 วันที่ 31 ธันวาคม 2547 เราเริ่มหาห้องน้ำ และตั้งเต้นท์ มีเวลา 3 วัน มูลนิธิชุมชนไท มีประสปการณ์ทำงานสลัม ประสปการณ์แบบนั้น ทำให้เราเรียนรู้ท่ามกลางการทำโดยไม่ต้องบอก”
ไมตรี บอกว่า การจัดการภัยพิบัติมีหลายรูปแบบ สิ่งแรกที่เขาเรียกร้องเป็นสิ่งสำคัญ คือ ผมอยากได้ห้องน้ำ ทำห้องน้ำ อย่างที่อุบลฯ น้ำท่วม เขาต้องการเรือ เราก็ทำเรือ ตามที่เขาต้องการ
“ตอนผมเป็นผู้ประสบภัยสึนามิ ผมเครียดมาก แต่ต้องการห้องน้ำ พอไปอุบลฯ เขา ก็ทำเรือ ช่วยกันฟื้นฟู โดยไม่คาดหวัง ช่วยเขาให้ช่วยตัวเอง ช่วยให้มีอาชีพกลับมาให้ได้ ผู้ประสบภัยทุกที่ต้องไปช่วยเพื่อนในอนาคตได้ ทุกที่ทำได้ เมื่อมีศูนย์ภัยพิบัติชุมชนก็ช่วยเพื่อได้ “