HUMANITY

ครบ 10 ปีมติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลหลายฝ่ายเห็นพ้องยังห่างไกลความเป็นจริง-ปัญหาที่ดินและความไม่มั่นคงในชีวิตยังเป็นปัญหาใหญ่

วันนี้ (2 มิถุนายน 2563) ได้มีการเสวนาออนไลน์เรื่อง “มองย้อนสะท้อนบทเรียน 10 ปีมติคณะรัฐมนตรีฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล” โดยวิทยากรประกอบด้วย ดร.นฤมลอรุโณทัยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / นพ.โกมาตรจึงเสถียรทรัพย์. ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) / “ครูแดง”เตือนใจดีเทศอดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ / นายธีระสลักเพชรอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม / นางปรีดาคงแป้นผู้แทนมูลนิธิชุมชนไท / ครูแสงโสมหาญทะเลชาวเลเกาะหลีเป๊ะจ.สตูล / น.ส.อรวรรณหาญทะเลชาวเลชุมชนทับตะวันจ.พังงา ดำเนินรายการโดย น.ส.ฐปณีย์ เอียดศรีไชย The Reporters

ทั้งนี้ก่อนเสวนาได้มีการฟังเสียงของชาวเลจากชุมชนทับตะวัน จ.พังงาชาวเลชุมชนเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล และชาวเลชุมชนราไวย์ จ.ภูเก็ตโดยน.ส.อรวรรณ หาญทะเล และชาวบ้านซึ่งรวมตัวกันอยู่ที่ขุมเขียวกล่าวว่าเดิมทีพื้นที่ขุมเขียวเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ และชาวเลปลูกข้าวแต่ต่อมาได้มีการให้สัมปทานเอกชนทำเหมือนแร่ และเมื่อหมดยุคชาวบ้านก็กลับมาใช้เป็นพื้นที่จอดเรือแต่ภายหลังเหตุการณ์สึนามินายทุนมาปักป้ายบอกว่าเป็นพื้นที่ของเขา บางครั้งมีการเอาหมาเข้ามาปล่อยและมีการดำเนินคดีจนศาลสั่งให้ใช้ประโยชน์ร่วมกันแต่รัฐก็ยังไม่ได้มาฟันธงว่าพื้นที่นี้เป็นของใคร อย่างไรก็ตามเมื่อมีโควิด-19 ชาวบ้านเห็นความสำคัญของขุมเขียวมากขึ้นเพราะเมื่อตกงานก็ต้องใช้พื้นที่นี้ทำมาหากิน

น.ส.อรวรรณกล่าวว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้วชาวบ้านรู้สึกดีใจมากที่มีมติครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล 2 มิ.ย.2553 เพราะไม่คิดมาก่อนว่ารัฐบาลจะให้ความสนใจปัญหาของชาวเลอย่างจริงจังโดยช่วง 2-3 ปีแรกยังเห็นผลงานการทำงานของรัฐ 1.ชาวบ้านไม่ถูกจับกุมมีการเข้ามาพูดคุยเพื่อหาทางออกร่วมกัน 2.ผู้ว่าราชการจังหวัดบางคนเข้ามาทำงานพัฒนาชุมชนเช่นโครงการหน้าบ้านหน้ามองส่งเสริมการท่องเที่ยวมีส่วนร่วมกับชุมชนในหลายด้านแต่สิ่งที่แก้ไม่ได้เลยคือปัญหาสิทธิที่ดินเช่นศาลพ่อตาสามพัน พื้นที่ทำกินบนเขาแม้จะมีคำสั่งให้ชาวบ้านไปทำกินได้แต่บางคนยังถูกไล่หรือถูกฟันพืชผลส่วนด้านการศึกษายังไม่มีหลักสูตรที่นำเรื่องวิถีชีวิตชาวเลเข้าไปบรรจุในการเรียนการสอน

“ปัญหาสถานะบุคคลของชาวเลหมุ่เกาะสุรินทร์ยังไม่ได้รับการแก้ไขมีชาวบ้านจำนวนมากยังไม่มีบัตรประชาชนทำให้เข้าไม่ถึงสิทธิการรักษาพยาบาลพี่น้องที่ไม่มีบัตรก็ไม่ได้รับการรักษาตามที่ควรบางคนต้องยอมเสียเงิน 2-3 หมื่นบางคนไม่มีเงินจ่ายครั้งหน้าไม่กล้าไปหาหมอต้องยอมทนป่วยอยู่บ้านรวมทั้งการเข้าไปหากินในเขตอุทยานแห่งชาติอย่างอย่างน้อยต้องผ่อนปรนให้ชาวเลเข้าไปหากินได้โดยไม่มีการจับกุม”  นางสาวอรวรรณกล่าว

ครูแสงโสม หาญทะเล ชาวเลเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล กล่าวว่าเกาะหลีเป๊ะได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ไวรัสโควิท-19 เพราะเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกทางจังหวัดจึงมีคำสั่งปิดเกาะปกติแม่บ้านจะไปทำงานรับจ้างตามโรงแรมพ่อบ้านขับเรือรับนักท่องเที่ยวแต่ปัจจุบันกิจการทุกอย่างหยุดหมดจึงทำให้ขาดรายได้ต้องกลับไปทำประมงแบบร้อยเปอร์เซ็นแต่ต้องประสบปัญหาราคาตกต่ำเพราะไม่สามารถขนส่งปลาไปขายที่เกาะลังกาวีประเทศมาเลเซียได้พอขายที่ท่าเรือปากบาราเถ้าแก่ที่รับซื้อให้ราคาต่ำและรับซื้อปริมาณไม่ต่ำลง

ครูแสงโสมกล่าวต่อว่าก่อนมีมติครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลชาวบ้านอยู่ด้วยความกดดันจากคนภายนอกเข้ามาบุกรุกใช้อิทธิพลข่มขู่เพื่อยึดที่ดินของชาวเลในอดีตเกาะเหลีเป๊ะอยู่ไกลปืนเที่ยงชาวบ้านไปร้องเรียนที่ไหนก็ไม่มีหน่วยงานใดให้ความสนใจผู้มีอิทธิพลจึงเข้ามากวาดยึดพื้นที่ของชาวบ้านไปชาวบ้านต้องยอมย้ายบ้านหนีจากเคยปลูกบ้านอยู่อาศัยกันแบบพี่น้องไม่เคยไปแจ้งการครอบครองกับรัฐพอมีออกเอกสารสิทธิจึงมีคนนอกนำเอกสารมาอ้างสิทธิบนที่ดินชุมชนชาวบ้านจะทำอะไรต้องขออนุญาติแม้จะสร้างห้องน้ำยังโดนแจ้งความจับ

“พอมีมติ ครม. สภาพปัญหาข่มขู่ลดน้อยลงเล็กน้อยแต่ยังแก้ปัญหาของชาวบ้านไม่ได้คือที่ดินอยุ่อาศัยและที่ดินจิตวิญาณสุสานทางเดินสาธารณะบนชายหาดชาวบ้านรวบรวมข้อมูลเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องก็เงียบไปเหมือนถูกลอยแพชาวบ้านคาดหวังมากที่สุดต้องการให้มีพ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์” ครูแสงโสมกล่าว

นายนิรันดร์ หยังปาน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านชุมชนหาดราไวย์ จ.ภูเก็ต กล่าวว่าสถานการณ์ปัญหาของชาวบ้านที่เข้าไปจับปลาหากินในเขตอุทยานยังคงถูกจับกุมล่าสุดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมก็ถูกจับกุมไป 6 รายพื้นที่ทางจิตวิญาณของชุมชนคือบาไลย์ที่ชาวเลต้องไปประกอบพิธีกรรมเป็นประจำ และพื้นที่สาธารณะที่ใช้จอดเรือซ่อมเรือซ่อมเครื่องมือประมงยังมีเอกชนอ้างสิทธิเป็นพื้นที่ของตนเองห้ามไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปทำกินได้ที่ผ่านมามีข้อพิพาทและฟ้องร้องกันมาโดยตลอดหลังมีมติครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลเมื่อ 10 ปีก่อนปัญหาบัตรประชาชนก็คลี่คลายบ้างแต่เรื่องเขตวัฒนธรรมพิเศษยังไม่จบ

นายนิรันดร์กล่าวอีกว่าตอนนี้ยังต้องเจอกระทบสถานการณ์ไว่รัสโควิท-19 ทำให้ออกทะเลหาปลาได้แต่ขายไม่ได้เพราะภูเก็ตถูกปิดเมืองไม่มีนักท่องเที่ยวและไม่มีคนเข้ามาซื้อปลาซึ่งชาวบ้านใช้แนวคิดและความร่วมมือเครือข่ายชาวบ้านทำโครงการปลาแลกข้าวกับพี่น้องชาติพันธุ์กะเหรี่ยงและทางอีสานทำให้สังคมไทยเข้าใจวิถีชีวิตชาวเลมากขึ้น

นายธีระ สลักเพชร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นผู้ผลักดันมติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลกล่าวว่าในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะมีการระดมสมองแก้ปัญหานี้เพราะมองว่าชาวเลเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เปราะบางที่สุดก่อนได้รับกระทบจากการท่องเที่ยวพอเกิดสึนามิยิ่งกระทบหนักสิ่งที่ชาวบ้านสะท้อนมาคือปัญหาเรื่องที่ดินพื้นที่จิตวิญญาณมองว่าการแก้ปัญหาไม่ใช่เรื่องยากหากพิสูจน์ได้ว่าชาวเลอยู่มาก่อนก็ต้องกันเขตออกมาเป็นโฉนดชุมชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือประกาศเขตวัฒนนธรรมพิเศษขึ้นมาแต่การขับเคลื่อนการแก้ปัญหาต่อมาไม่เป็นไปอย่างนั้นจนรัฐบาลตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความมั่นคงในที่อยู่อาศัยพื้นที่ทำกินและพื้นที่ทางจิตวิญญาณของชุมชนชาวเลที่มีพล..สุรินทร์พิกุลทองเป็นประธานลงไปแก้ปัญหาในพื้นที่ส่งข้อมูลให้รัฐบาลมีระเบียบสำนักนายกออกมาแต่กลับไม่มีการแก้ปัญหาต่อเนื่องทำให้ปัญหาไปเป็นภาระของศาลจึงเสียดาย 10 ปีที่ผ่านมาของมติ ครม.นี้ที่มีความคืบหน้าในการแก้ปัญหาน้อยมากแต่อย่างน้อยทำให้สังคมเริ่มเข้าใจและยอมรับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลมากขึ้น

นายธีระกล่าวต่อว่าเชื่อว่าสังคมจะเป็นส่วนช่วยโอบอุ้มและผลักดันมติครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลเป็นกฏหมายคือพ...ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์แต่สิ่งที่ควรรีบทำมากที่สุดคือการพิสูจน์สิทธิ์ที่ดินแล้วกันเขตให้ชัดเจนถ้าไม่ทำแล้วรอพรบ.ฉบับนี้ที่จะสามารถออกได้ในปี 2565 จะไม่ทันเพราะศาลจะมีการตัดสินคดีของชาวบ้านเสร็จก่อนแล้วจะทำให้การประกาศเขตวัฒนธรรมพิเศษหรือการคุ้มครองวิถีชีวิตชาวเลทำได้ยากเพราะไม่สามารถไปเปลี่ยนคำตัดสินของศาลได้

ดร.นฤมล อรุโณทัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าปัญหาของชาวเลต้องแก้ที่มายาคติของสังคมและการบริหารนโยบายรัฐเป็นสิ่งแรกเรื่องเจตจำนงค์ทางการเมืองสำคัญมากว่ารัฐบาลจะจริงจังกับการแก้ปัญหาหรือไม่ซึ่งปัญหาชาวเลไม่เป็นเพียงปัญหาเฉพาะชาวเลต้องมองไปถึงกลุ่มกะเหรี่ยงและชาติพันธุ์อื่นด้วยส่วนภาควิชาการจะทำอย่างไรให้สังคมใหญ่เข้าใจ 1.ระบบวิธีคิดยังอยู่แบบเดิมเมื่อเปลี่ยนหัวหน้าอุทยานฯ งานต้องเริ่มใหม่ด้วยเปลี่ยนนายอำเภอก็ต้องเริ่มต้นจากศูนย์อีกแล้วระบบราชการต้องมีการส่งผ่านงานกันและมีความยึดมั่นว่าจะทำให้คุณภาพชีวิตชาวบ้านดีขึ้นซึ่งเป็นปัญหาที่ฝังอยู่ในระบบวัฒนธรรมราชการและต้องมีการบริหารมติครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลที่ดีกว่านี้

ดร.นฤมลกล่าวอีกว่า 4 ข้อหลักที่จะทำให้ชาวเลมีการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี คือ

1.การยอมรับของสังคมซึ่งเริ่มมีการยอมรับ

2.การรับรองสิทธิให้อยู่ได้ในพื้นที่

3.คุ้มครองคดีไม่ใช่การบังคับใช้กฏหมายอย่างเดียว

4.ส่งเสริมวัฒนธรรมภาษาส่งเสริมให้ถึงรากเหง้าปรัชญาการใช้ชีวิตให้เข้าไปสู่ระบบการศึกษาพื้นฐาน

นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า 10 ปีที่ผ่านมาของมติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลทำให้ตัวตนชาวเลได้เป็นที่รู้จักและยอมรับของสังคมมีการวันรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลทุกปีทำให้ชาวเลได้สะท้อนสถานกาณณ์ปัญหาและข้อเสนอแนะการมีนักวิชาการหรือองค์กรประชาสังคมเข้ามาช่วยทำให้จากเดิมที่ชาวเลไม่มีตัวตนเพราะอยู่ห่างไหลตามเกาะต่างๆ จนเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ

นางเตือนใจกล่าวต่อว่าจากการลงพื้นที่หมู่เกาะสุรินทร์ตั้งแต่ก่อนสึนามิชาวเลใช้เรือกาบางธรรมชาติยังสมบูรณ์แต่ยังไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควรตอนนี้มีครูที่เป็นชาวเลลงไปสอนแต่ยังขาดตัวแทนชุมชนที่เข้มแข็งเพราะไม่มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหรือตัวแทนสมาชิกอบต. จึงไม่มีการพัฒนาหรือการใช้งบประมาณลงมาในพื้นที่จึงเป็นเป้าหมายที่จะผลักดันให้มีตัวแทนของชาวบ้านขึ้นมาเหมือนที่เกาะหลีกเป๊ะที่มีชาวบ้านลุกขึ้นมาเป็นตัวแทนได้

นางเตือนใจกล่าวอีกว่าส่วนปัญหาด้านสัญชาติมีการลงพื้นที่ 3 ครั้งแต่ยังไม่มีผลอะไรเกิดขึ้นทั้งที่มีหมอตำแยสามารถเป็นพยานยืนยันการเกิดของชาวบ้านได้ชาวบ้านจึงควรได้รับการรับรองสัญชาติได้ทั้งตาม ม.23 และ ม.7 ทวิกระทรวงมหาดไทยควรเร่งดำเนินการให้สัญชาติแก่ชาวบ้านที่ยังตกหล่นให้เสร็จภายในปีนี้นอกจากนี้เห็นชาวเลประกาศเขตวัฒนธรรมพิเศษนำร่องเหมือนที่พี่น้องกะเหรี่ยงภาคเหนือได้ทำนอกจากนี้เครือข่ายชาวเลควรมีการเก็บข้อมูลจัดทำรายงานสถานการณ์ทุก 4 ปีคู่ขนานกับรายงานด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลที่จะต้องรายงานต่อองค์การสหประชาชาติจากการไปลงนามเป็นภาคีเกี่ยวกับชาติพันธุ์ไว้

นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร กล่าวว่า 10 ปีที่แล้วที่มีการผลักดัน มติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญของก้าวสำคัญที่จะพ้นมายาคติที่เคยมองว่าวัฒนธรรมเป็นเรื่องร้องเล่นเต้นรำจัดแสดงหรือขายได้แต่วัฒนธรรมของชาวเลถูกหล่อเลี้ยงด้วยจิตวิญาญธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่พอไปตัดรอนสิทธิออกจากธรรมชาติทำให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งบันเทิงสร้างรายได้จึงเป็นการลดทอนศักดิ์ศรีในการหนดขชะตาชีวิตของชาเลควรนำทุนวัฒนธรรมที่ใช้ขับเคลื่อนให้สังคมได้รู้จักความแตกต่างวิถีที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติรักษาธรรมชาติ

นายแพทย์โกมาตร กล่าวต่อว่าการผลักดัน ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลที่ดีที่สุดต้องผลักดันเป็นกฏหมายแต่ที่ผ่านมามีแต่การผลักดันเป็นประเด็นเฉพาะเช่นตั้งกองทุนสุขภาพแต่ไม่มีกฏหมายที่เป็นร่วมใหญ่ในการขับเคลื่อนจึงตั้งเป้าจะให้ พ...ส่งเสริม และคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ออกเป็นกฏหมายได้ในปี 2563 โดยศูนย์มานุษยวิทยาฯจะเป็นตัวเชื่อมทุกภาคส่วนในการผลักดันให้สำเร็จแต่ยังมีอุปสรรคอีกหลายข้อโดยเฉพาะการให้นิยามกลุ่มชาติพันธุ์ต้องชัดเจนไม่เช่นนั้นกลุ่มคนที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจจะเข้ามาใช้สิทธิและยังต้องหาทางออกกับข้อกฏหมายอุทยานและกฏหมายที่ดินที่บัญญัติไว้ก่อนหน้า

นายแพทย์โกมาตรกล่าวต่อว่าชาวเลเป็นกลุ่มเปราะบางที่สุดถูกต้อนจนมุมไม่มีหาทางต่อสู้มากนักคดีความก็เยอะกว่าจะสิ้นสุดชาวเลก็หมดแรงไม่ต้องทำมาหากินเป็นตัวอย่างปัญหาเชิงโครงสร้างที่กดทับคนไร้อำนาจที่แท้จริงจึงต้องเร่งแก้ปัญหา คือ

1. เรื่องที่ดินกว่าจะมีกฏหมายออกมารองรับชาวบ้านอาจโดยฟ้องจนสูญเสียที่ดินหมดกฏหมายออกมาก็ไม่มีประโยชน์

2.สถานะบุคคลต้องทวงสิทธิความเป็นพลเมืองไทยเพราะเรื่องยากในการคุ้มครองปกป้องการคุกคามจากทุนหรือความไม่เป็นนธรรมต่างๆในกลุ่มเปราะบาง

3.สร้างรากฐานเพื่อพัฒนา พ.ร.บ.ฉบับนี้ต่อไปเช่นการทดลองทำตัวอย่างให้เห็นว่าชาวเลสามารถจัดการทรัพยากรที่ดินหรือรักษาภูมิปัญญาไว้ได้พยายามกู้สถานะให้กลุ่มชาติพันธุ์มีที่ยืนในสังคมเท่าเทียม

นางปรีดา คงแป้น ผู้แทนมูลนิธิชุมชนไท กล่าวว่า 10 ปีที่ผ่านมามีสิ่งที่หน้าสนใจ 2 ด้าน

1.ด้านดีนับตั้งแต่หลังเหตุการณ์สึนามิเป็นต้นมาเห็นพัฒนาการในทุกรัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาระดับชาติมีงานรวมญาติชาติพันธุ์ชาวเลทุกปีมีการนำเสนอปัญหาต่อเนื่อง

2.ข้อพิพาทที่ดินชุมชนหาดราไวย์เป็นคดีประวัติศาตร์ที่มีการพิสูจน์สิทธิ์ด้วยดีเอ็นเอ

3.รายงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูประเทศและสภาปฏิรูปแห่งชาติมีการเสนอให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมด

4.รัฐธรรมนูญม.470 และในยุทศาสตร์ชาติได้ระบุเรื่องสิทธิศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้ดังนั้นก้าวต่อไปคือการผลักดันด้านการออกกฏหมาย

ประเด็นสำคัญคือเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างนโยายที่กดทับคือการท่องเที่ยวและประกาศเขตอนุรักษ์ 10 ปีเป็นหัวเลี้ยวที่ปัญหาเชิงโครงสร้างยังไม่ได้แก้ไขชุมชนมีคดีชาวบ้านถูกฟ้อง 35 คดีชาวบ้านได้รับผลกระทบ 3 พันกว่าคนชุมชนชาวเลที่ไม่มีความมั่นคง 37 ชุมชนเพราะอยู่ในที่ดินรัฐชาวเลพิพาทเขตอนุรักษ์ทางทะเลถูกดำเนินคดีมากกว่า 30 รายซึ่งมติครม.นี้พอจะเป็นหลักค้ำยันได้แต่แก้ปัญหาไม่ได้ แต่พี่น้องไม่ได้หยุดนิ่งกับที่เชื่อมโยงกับพี่น้องทั่วประเทศกฏหมายจึงไม่ควรอยู่ในกระดาษอย่างเดียวพี่น้องต้องได้รับความเข้าใจด้วย 10 ปีนี้จึงมีแนวโน้มที่ดีแต่ปัญหาที่ตามมาก็ใหญ่เกินกว่าจังหวัดจัดการแต่ไม่ใหญ่พอที่รัฐบาลจะสนใจพอชาวบ้านไม่ทวงถามก็จะหยุดเงียบไป  นางปรีดากล่าว

นายจำนงค์ จิตนิรัตน์ ที่ปรึกษาเครือข่ายชาวเลอันดามัน กล่าวว่า มติ ครม.ฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลเหมือนใบเบิกทางแต่ไม่มีการทำให้เข้มข้นเดินเชื่องช้าขณะที่ปัญหาที่รุกหน้าไปรวดเร็วเช่นกรณีที่ดินหลีเป๊ะถูกรุกไปเรื่อยๆเกาะหลีเป๊ะเป็นตัวดึงดูดนับพันล้านต่อปีแต่วิถีชีวิตชาวเลกลับตกต่ำทุกพื้นที่ควรร่วมมือกับทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดผลดีกับชาวเลที่ผ่านมาการท่องเที่ยวหรูหรามากแต่ชีวิตเล็กๆกลับถูกทอดทิ้งรวมถึงความขัดแย้งที่ดินรุนแรงจนเกิดเหตุทุบตีฟ้องร้องชาวเลชุมชนราไวย์จึงอยากเสนอให้แต่ละชุมชนทดลองทำนวัตกรกรรมกำหนดพื้นที่หากินพื้นที่จิตวิญาณนำร่องเป็นตัวอย่างเพื่อผลักดันมติครม.นี้ให้เกิดพ...ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์

Related Posts

Send this to a friend