HEALTH

องค์การอนามัยโลก กระตุ้นตระหนักแนวคิดการเดินทางปลอดภัย สร้างถนนเพื่อคนแทนรถยนต์

องค์การอนามัยโลก เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับ ความปลอดภัยทางถนน ที่ถือเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งส่งเสริมความเสมอภาค การเดินทางที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน เนื่องในโอกาสสัปดาห์ความปลอดภัย ทางถนนแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 15-21 พฤษภาคม พ.ศ.2566 โดยเฉพาะประเด็น การคิดใหม่เรื่องการเดินทาง ทั้งนี้หากเรายังคงใช้วิถีแบบที่เคยเป็น นั่นหมายความว่าจะต้องสร้างถนนเพิ่มขึ้นอีก เพื่อรองรับรถยนต์ส่วนตัว ทั้งนี้มีหลักฐานสนับสนุนอย่างชัดเจนว่า การสร้างถนนหมายความว่า จะมีช่องทางจราจรเพิ่มขึ้น และจำนวนรถยนต์เพิ่มขึ้นประสบการณ์ จากหลายเมืองทั่วโลก

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการขยายตัวของเมือง ในลักษณะนี้ไม่มีความยั่งยืน เพราะนำไปสู่การเสียชีวิต การบาดเจ็บ ความทุพพลภาพ และสร้างปัญหาการจราจรติดขัด การเดินทางที่ใช้เวลานาน และก่อให้เกิดความเครียด ตลอดจนนำไปสู่โรคหัวใจ โรคปอดและคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่ และจากข้อมูลล่าสุด พบว่าในแต่ละปีนั้นมีผู้เสียชีวิต จากอุบัติเหตุทางถนน จำนวน 1.3 ล้านราย และผู้บาดเจ็บมากถึง 50 ล้านรายต่อปี ในกลุ่มประชากรอายุ 5-29 ปี

สำหรับวิสัยทัศน์ใหม่ของการเดินทาง จึงเป็นเรื่องของการออกแบบถนนใหม่ ไม่ใช่เพื่อรถยนต์แต่เพื่อทุกคน รัฐบาลจะประสบผลสำเร็จในเรื่องนี้ได้ โดยการลงทุนในรูปแบบการเดินทางอื่นๆ เช่น การเดิน การใช้จักรยาน และการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การเดินทางหลากหลายรูปแบบที่กล่าวมา สามารถทำได้ หากถนนมีความปลอดภัย ทุกวันนี้การเดินทางทำให้เราต้องแลก ด้วยการสูญเสียชีวิตราว 1.3 ล้านราย และผู้บาดเจ็บมากถึง 50 ล้านรายต่อปี อุบัติเหตุทางถนนถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากที่สุด สำหรับกลุ่มประชากรอายุ 5-29 ปี

ทั้งนี้ก่อนที่จะคิดว่าเราจะเดินทางกันอย่างไร เราต้องคำนึงถึงหัวใจสำคัญ เรื่องความปลอดภัยของระบบการเดินทาง ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องลงมือดำเนินการ เพื่อให้ยานพาหนะและถนนปลอดภัย ปรับพฤติกรรมของผู้ใช้ถนน และสร้างความมั่นใจว่า ผู้ประสบอุบัติเหตุสามารถเข้าถึงบริการฉุกเฉิน/กู้ชีพที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับแผนโลกว่าด้วยทศวรรษ แห่งความปลอดภัยทางถนน 2021-2030 (พ.ศ. 2564–2573) ที่เรียกร้องให้ทุกฝ่ายดำเนินการในประเด็นเหล่านี้ นอกจากนี้แผนโลกยังเน้นว่า การเปลี่ยนมาใช้ถนนที่มีคนเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะการวางแผน ออกแบบ ก่อสร้างและใช้งานเพื่อลดความเสี่ยง จะสามารถช่วยรักษาชีวิตของคนจำนวนมากได้

สำหรับถนนที่มีความปลอดภัย ต้องคำนึงถึงผู้มีความเสี่ยงสูงสุดเป็นสำคัญ อาทิ เด็กและเยาวชน ผู้พิการ คนเดินถนน ผู้ใช้จักรยาน และผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ในสถานการณ์ที่ดีที่สุด การเดินทางช่วยผลักดัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในเชิงบวกในหลายๆด้าน การทำให้เกิดการเดินถนนและการใช้จักรยานมากขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทำให้คนได้รับประโยชน์จากการมีกิจกรรมทางกาย และได้หายใจอากาศบริสุทธิ์ การเดินถนนและการใช้จักรยานที่ปลอดภัย ยังคงช่วยส่งเสริมสังคมที่เสมอภาค เมื่อคนที่มาจากสถานะทางเศรษฐกิจ และสังคมที่ต่างกันสามารถเข้าถึงการทำงาน การศึกษา บริการสุขภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างเสมอภาค มีการคาดการณ์ว่าราว 70% ของประชากรโลก จะอาศัยอยู่ในเขตเมืองภายในปี พ.ศ.2573 ซึ่งหมายความว่าจะมีความต้องการ ใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ของประชากรจำนวนมากซึ่งขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

“หากทำให้ระบบขนส่งสาธารณะปลอดภัย รถประจำทางรถทางรางและรถไฟ ซึ่งสามารถขนส่งคนจำนวนมากกว่า เมื่อเทียบกับรถยนต์ส่วนตัว จะช่วยส่งเสริมความปลอดภัย การเข้าถึงความเสมอภาคและความมั่งคั่ง เราควรจะถือโอกาสนี้ที่จะคิดใหม่ และทำใหม่ในเรื่องการเดินทาง เพื่อสุขภาวะที่ดีของทุกคนและโลกใบนี้ และเพื่อคนรุ่นต่อไปในอนาคต”

Related Posts

Send this to a friend