HEALTH

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แนะ รับมือปัญหาผิวช่วงเปลี่ยนผ่านฤดู เลือกครีมบำรุงช่วยเติมน้ำให้ผิว

ธัญ (THANN) แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพผิว ร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและความงาม อย่าง แพทย์หญิงกนกวรรณ เศรษฐพงศ์วนิช แนะนำวิธีรับมือกับปัญหาผิว ที่มาพร้อมกับอากาศแห้งและเย็นในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดู กับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวคอลเลคชั่น ‘ไรซ์ เอ็กซ์แทร็ก ลิป บาล์ม’ (Rice extract lip balm), ‘อีสเทิร์น ออร์เชิร์ด อินเทนซีฟ ไฮเดรติ้ง แฟเชียล มาส์ก’ (Eastern orchard intensive hydrating facial mask), ‘ไฮเดรติ้ง มัลชั่น’ (Hydrating emulsion) และ ‘เวรี่ วอเตอร์ รีซิสแทนต์ เฟเชี่ยล ซันสกรีน เอสพีเอฟ 50 พีเอ+++’ (Very water resistant facial sunscreen SPF50 PA+++) ร่วมกับเซเลบริตี้สาวที่มาเผยเคล็ดลับการเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิว อาทิ รินทร์รตา อินทามระ, อัชฌา เจริญรัศมีเกียรติ และ ปานหทัย สมรรถศรบุศย์

แพทย์หญิงกนกวรรณ เศรษฐพงศ์วนิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและความงาม แนะนำว่า “สภาพอากาศโดยทั่วไปในช่วงฤดูหนาว นอกจากจะทำให้เรารู้สึกเย็นสบายแล้ว ยังส่งผลให้ผิวของเราเกิดความแห้งกร้าน แสบ คันและลอก เนื่องจากความชื้นสัมพัพธ์ในอากาศลดลง ทำให้ผิวหนังสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่าย ปกติร่างกายของคนเราจะมีการคายความชุ่มชื้น เพื่อหล่อเลี้ยงผิวหนังอยู่ตลอดเวลา ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Transepidermal water loss (TEWL) โดยจะเกิดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศ และสภาพผิวของแต่ละบุคคล หากผิวมีโครงสร้างผิวสมบูรณ์แข็งแรง อัตราการเกิดกระบวนการ TEWL ก็จะน้อยกว่าผิวที่อ่อนแอ ผิวก็จะดูเรียบเนียน เต่งตึง มีสุขภาพดี เราสามารถเพิ่มระดับความชุ่มชื้น และป้องกันการสูญเสียน้ำของผิวได้ด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์ (Moisturizer) โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

  1. ชนิดปิดกั้นไม่ให้น้ำซึมผ่าน (Occlusives) ทำหน้าที่เหมือนฟิล์มเคลือบผิวหนัง ป้องกันไม่ให้ความชื้นที่ผิวหนังระเหยไป มีประสิทธิภาพในการรักษาความชื้นที่ผิวหนังได้ถึง 98% แต่เมื่อโดนน้ำก็จะละลายหรือหลุดออกง่าย ต้องทาซ้ำอยู่บ่อยๆ จนอาจทำให้รู้สึกเหนอะหนะ และสร้างความรำคาญได้ ตัวอย่างเช่น ปิโตรเลียมเจลลี, น้ำมันแร่ (Mineral oil), พาราฟิน (Paraffin) เป็นต้น
  2. ชนิดเคลือบผิวหนัง (Emollients) ลักษณะใกล้เคียงกับชนิดปิดกั้นไม่ให้น้ำซึมผ่าน แต่ต่างกันที่สามารถซึมลงสู่ชั้นผิวหนังได้ ทำหน้าที่ควบคุมระดับความชื้นของผิวให้กลับมาสู่สภาวะปกติ โดยจะเติมร่องผิวชั้นนอกช่วยให้ผิวเรียบเนียนนุ่มตัวอย่างเช่น น้ำมันรำข้าว, โกโก้บัตเตอร์, เซราไมด์ เป็นต้น
  3. ชนิดดูดซับน้ำจากอากาศ (Humectants) ทำหน้าที่เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังชั้นนอก ด้วยการดักจับน้ำหรือความชื้นในอากาศหรือดึงน้ำจากผิวชั้นใน โดยมักจะใช้ร่วมกับส่วนผสมอื่น เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการกักเก็บความชุ่มชื้น ตัวอย่างเช่น สารสกัดจากพืชทะเลทราย (Myrothamnus), ว่านหางจระเข้ เป็นต้น การเลือกใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่เหมาะสมกับผิวแต่ละประเภท จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้ผิวมีสุขภาพดี ควรเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำหอม สารที่อาจก่อให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง และไม่ก่อให้เกิดสิว

สำหรับเคล็ดลับในการดูแลผิวหน้าที่อยากแนะนำเพิ่มเติม คือ

  1. ล้างหน้าด้วยน้ำที่อุณหภูมิปกติ เพราะน้ำที่อุณหภูมิสูงเกินไปจะทำให้ผิวแห้งและลอกมากยิ่งขึ้น
  2. ทาครีมบำรุงผิวหลังอาบน้ำภายใน 3-5 นาที ขณะที่ผิวยังหมาด เพื่อช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น
  3. ฟื้นบำรุงผิวหน้าให้กระจ่างใส ด้วยการมาส์กหน้าประเภทบำรุง อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
  4. อย่าลืมครีมกันเเดดเป็นประจำ เพราะช่วงฤดูหนาวที่อากาศแห้ง ผิวจะสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายกว่าปกติ หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการดูแล จะนำไปสู่ปัญหาริ้วรอย และความหมองคล้ำ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อทำให้ผิวไม่แห้ง ดูเต่งตึง และอิ่มน้ำ
  6. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมและฟื้นฟูส่วนที่สึกหรอได้ดี


สำหรับคนที่มีแผนจะเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ เพื่อไปสัมผัสกับอากาศหนาวเย็น ควรระวังเรื่องการเกิดภาวะอุณหภูมิของร่างกายต่ำ เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ (Systemic hypothermia) ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ซึมและอาจหมดสติได้ในบางราย นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกระทบโดยตรง ต่อความผิดปกติของผิวหนังบางส่วน เนื่องจากการหดตัวของหลอดเลือด (Chilblaine หรือ Pernio) หรือภาวะเนื้อเยื่อแข็งตัวเป็นเกล็ดน้ำแข็งจากสภาพอากาศหนาวเย็นมากๆ (Frostnip หรือ Frostbite) มักพบบริเวณปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ปลายจมูก ติ่งหู โดยผิวหนังบริเวณนั้นจะเกิดอาการซีด ชา บวมแดง ปวดแสบปวดร้อน เกิดตุ่มพอง หรือเกิดอาการผิวหนังตายได้ ส่วนวิธีการป้องกัน คือ การสวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม โดยตรวจสอบสภาพอากาศและอุณหภูมิก่อนการเดินทาง และพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศเย็นจัดจนเกินไป”

Related Posts

Send this to a friend