HEALTH

เตือน 3 สาเหตุเสี่ยงเจ็บป่วยจากการทำงาน

แนะผู้ใช้แรงงานหมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงก่อโรค และอาการบาดเจ็บ ด้วยหลัก 3 ประการ

วันนี้ (15 พ.ค. 66) นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เผย โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ มีความห่วงใยผู้ใช้แรงงาน ด้านความปลอดภัยในการทำงาน คือ การมีสภาพการณ์ที่ปลอดภัยพนักงาน ที่ทำงานปราศจากอุบัติเหตุต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย สาเหตุจากการสัมผัสกับสภาพแวดล้อม ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม หรือทำงานหนักเกินความสามารถของร่างกาย หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงานเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิดมาก่อน และเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บต่อร่างกาย พร้อมกันนี้ได้แนะแนวทาง สำหรับการป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธี

นายแพทย์มานัส กล่าวว่า “กรมการแพทย์ มีความห่วงใยผู้ใช้แรงงาน แนะวิธีดูแลสุขภาพตนเองและระวังโรคซึ่งเกิดจากการสัมผัส สิ่งคุกคามในที่ทำงาน เช่น โรคปอดอักเสบในคนที่แข็งแรงดี โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เมื่อไปพบแพทย์และไม่นึกถึงว่า อาจเป็นโรคจากการทำงานจะทำให้การวินิจฉัยพลาดไป รักษาโรคแต่ไม่ได้รักษาที่สาเหตุ ทำให้มีโอกาสกลับมาเป็นอีกได้ โรคจากการทำงานสามารถป้องกันได้ ผู้ใช้แรงงานจะต้องมีการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง งดเหล้า บุหรี่ ลดความเครียด ป้องกันตนเองจากสารเคมี และเสียงดัง ยกของอย่างถูกวิธี และไม่ทำงานหนักจนเกินไป เป็นการลดความเสี่ยง ที่จะเกิดโรคจากการใช้อุปกรณ์ทำงาน”

ด้านนายแพทย์เกรียงไกร นามไธสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวว่า “โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยงานอาชีวเวชศาสตร์ ได้สรุปการเกิดอุบัติเหตุจาก การทำงานที่มีความเสี่ยงต่อผู้ใช้แรงงาน ดังนี้ สาเหตุที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ 1.สภาพการณ์ เครื่องจักร อุปกรณ์ ไม่ปลอดภัย เช่น เครื่องจักรมีการชำรุด มีพื้นที่หรือบริเวณทำงานที่เป็นอันตราย 2.วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย เช่น ไม่มีการกำหนดขั้นตอนการทำงาน 3.ตัวบุคคลประมาท พนักงานทำงานด้วยความประมาท ไม่ทำตามกฎระเบียบเป็นต้น อุบัติเหตุที่เกิดจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย เป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ คิดเป็น 85% ของการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ได้แก่ การทำงานข้ามขั้นตอน,ความประมาท,การมีนิสัยชอบเสี่ยง หรือเจตนาหลีกเลี่ยงเพื่อความสะดวกสบาย,ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ความปลอดภัยในการทำงาน,ปฏิบัติงานโดยไม่ส่วมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE,ใช้เครื่องมือไม่เหมาะสมหรือผิดประเภท, ดัดแปลงสภาพเครื่องมือ เครื่องจักร,การทำงานโดยสภาพร่างกาย หรือจิตใจไม่พร้อมปฏิบัติงาน,ทำงานด้วยความเร่งรีบ”

สำหรับการป้องกันอุบัติเหตุ ตามหลักการของ safety มีด้วยกัน 3 วิธีคือ

1.การป้องกันหรือแก้ไขที่แหล่งกำเนิดอันตราย (Source) เป็นแก้ไขแก้ที่ดีที่สุด ตามหลักวิศวกรรม Engineering เพราะได้ทำการจัดการที่ต้นเหตุของปัญหา ด้วยการออกแบบให้เครื่องจักร หรือสถานที่เกิดความปลอดภัยมากขึ้น แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้มักใช้งบประมาณ และต้นทุนมาก เสียเวลาและค่าใช้จ่ายสูง

2.การป้องกันที่ทางผ่าน (Path) เป็นการตัดแยกให้แหล่งอันตราย กับคนทำงานแยกออกจากกัน เช่น การเอาเครื่องกำบังมาครอบเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้มือของพนักงาน สามารถเข้าไปอยู่ในบริเวณจุดหนีบได้ เป็นต้น

3.การแก้ไขที่ตัวบุคคล (Persons) เป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้โดยง่ายและประหยัด ทำให้ส่วนใหญ่ จะจบด้วยการที่ให้พนักงาน ทำงานอย่างระมัดระวัง หรือ สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipments) แต่การแก้ไขด้วยวิธีนี้ข้อเสีย คือมีความปลอดภัยน้อยที่สุด

Related Posts

Send this to a friend