HEALTH

แพทย์ผิวหนังเตือน หน้าฝนระวังกิ้งกือ ไม่ใช่สัตว์อันตราย ไม่กัด แต่มีพิษ ทำให้ผิวหนังไหม้

นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ช่วงฤดูฝนอาจพบกิ้งกือได้บ่อย ๆ ในบ้าน หรือสวนสาธารณะ จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับกิ้งกือโดยตรง เนื่องจากการสัมผัสถูกตัว อาจจะสัมผัสสารพิษของกิ้งกือที่ปล่อยออกมาจากบริเวณข้างลำตัว สารพิษเหล่านี้มีฤทธิ์ฆ่าสัตว์เล็กประเภทมด หรือแมลง เท่านั้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อผิวหนังของมนุษย์เมื่อสัมผัสโดยตรง

นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวว่า สารพิษของกิ้งกือมีลักษณะเป็นของเหลวใสไม่มีสี ประกอบด้วยสารกลุ่มไฮโดนเจน ไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) ฟีนอล (Phenol) กลุ่มเบนโซควิโนน และไฮโดรควิโนน (Benzoquinones/hydroquinones) ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ผิวหนังมีแผลไหม้ บางรายมีอาการปวด รวมทั้งการระคายเคืองของผิวหนังร่วมด้วย ทั้งนี้หากถูกพิษของกิ้งกือให้ล้างออกด้วยสบู่และน้ำสะอาดทันที สามารถทายาแก้อักเสบ และรักษาตามอาการ โดยทั่วไปจะหายภายใน 1 สัปดาห์ หากมีอาการรุนแรงให้รีบพบแพทย์โดยทันที

Related Posts

Send this to a friend