HEALTH

สวรส. เสนอ เพิ่มการใช้ยาสมุนไพร ในร้านยาระบบสิทธิบัตรทอง ลดการนำเข้ายา ตปท.

รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะอนุกรรมการ พัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ด้านสมุนไพร ที่ปรึกษาคณะกรรมการกำกับ ทิศแผนงานวิจัยพัฒนาระบบยา สวรส.ล่าสุดมีข้อเสนอไปยังสปสช. ในการผลักดัน ให้เกิดการใช้ยาสมุนไพรใน “โครงการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ รับยาฟรีที่ร้านยา” ซึ่งมีกว่า 500 แห่งทั่วประเทศได้ ซึ่งเป็นการสนับสนุน การใช้สมุนไพรในระบบหลักประกันฯ ให้มากขึ้น โดยอาจจัดคู่มือการใช้ยาไว้ให้กับเภสัชกร เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการจ่ายยามากขึ้น รวมถึงยังส่งผลดีต่อการพัฒนา ระบบสุขภาพปฐมภูมิด้วย นอกจากนั้นใน 16 กลุ่มอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ ด้วยยาสมุนไพรในบัญชียาหลักฯ ซึ่งก็เป็นยาที่ร้านยาจำหน่ายอยู่แล้ว ปัจจุบันผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย โตขึ้นมากกว่า 100% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ที่ยังไม่มีการระบาดโควิด-19 หากประเทศไทยใช้ยาสมุนไพร ทดแทนการนำเข้ายาเคมี จากต่างประเทศสัก 10% ก็จะช่วยไม่ให้เงินต้องไหล ออกไปนอกประเทศไม่ต่ำกว่า 1-2 หมื่นล้านบาท

รศ.ดร.จิราพร เสนอว่า “หาก สปสช.สามารถผลักดันให้เกิดการใช้ยาสมุนไพรใน “โครงการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ รับยาฟรีที่ร้านยา” ซึ่งมีกว่า 500 แห่งทั่วประเทศได้ ก็จะเป็นการสนับสนุนการใช้สมุนไพรในระบบหลักประกันฯ ให้มากขึ้น โดยอาจจัดคู่มือการใช้ยาไว้ให้กับเภสัชกร เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการจ่ายยามากขึ้น รวมถึงยังส่งผลดีต่อการพัฒนา ระบบสุขภาพปฐมภูมิด้วย นอกจากนั้น ใน 16 กลุ่มอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยยาสมุนไพรในบัญชียาหลักฯ ซึ่งก็เป็นยาที่ร้านยาจำหน่ายอยู่แล้ว อย่างไรก็ดียังมียาที่ควรสนับสนุนให้จ่ายในโครงการเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ ได้แก่ ยาที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน หรือยาอื่นๆ ที่มีส่วนประกอบของสารสกัดสมุนไพร

ทั้งนี้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักฯ ประกอบด้วย 1.หากเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด : ยาหอมทิพโอสถ, ยาหอมเทพจิต, ยาหอมนวโกฐ, ยาหอมอินทรจักร, ยาขิง 2.ปวดข้อ : ครีม/เจลพริก, ยาสารสกัดขมิ้นชัน 3.เจ็บกล้ามเนื้อ : ครีมไพล, ยาพ่นผิวหนังกระดูกไก่ดำ, ยาสารสกัดเถาวัลย์เปรียง, ยาสหัสธารา 4.ไข้ เจ็บคอ : ยาฟ้าทะลายโจร 5.ไอ : ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม, ยาประสะมะแว้ง 6.ปวดท้องประจำเดือน : ยาประสะไพล 7.ท้องผูก : ยาชงชุมเห็ดเทศ 8.ท้องเสีย : ยาฟ้าทะลายโจร, ยาเหลืองปิดสมุทร 9.ปัสสาวะขัด : ยาหญ้าหนวดแมว 10.อาการทางผิวหนัง : ทิงเจอร์พลู, ทิงเจอร์ทองพันชั่ง, โลชั่น/ขี้ผึ้งพญายอ 11.บาดแผล : ยาทาเปลือกมังคุด, ยาทาบัวบก12.ท้องอืด ท้องเฟ้อ : ยาขมิ้นชัน, ยาขิง, ยาธาตุบรรจบ 13.ริดสีดวงทวาร : ยาผสมเพชรสังฆาต 14.เริม งูสวัด แผลร้อนในในปาก : ครีม/เจลพญายอ ส่วนยาสามัญประจำบ้าน คือยาอื่นๆที่มีส่วนประกอบของสารสกัดสมุนไพร ยาธาตุน้ำขาว และ มิกซเจอร์ คาร์มิเนตีฟ

“รายการยาที่บรรจุลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ-บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร เป็นยาที่ผ่านการกลั่นกรองอย่างเข้มงวด โดยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนปัจจุบัน และเภสัชกรรม ทำหน้าที่ประเมินอย่างรอบด้าน เพื่อให้ได้รายการยาที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ตลอดจนความปลอดภัย จากนั้นเมื่อได้ข้อสรุป ทางคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักฯ ที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ต้องพิจารณาเห็นชอบ และประกาศใช้ต่อไป ประชาชน และบุคลากรสุขภาพจึงเชื่อมั่น และมั่นใจได้อย่างแน่นอน

รศ.ดร.ชาลี ทองเรือง ประธานวิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพร ภายใต้สภาเภสัชกรรม,อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และเครือข่ายวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) อธิบายว่า “ปัจจัยสำคัญที่กำหนดว่าระบบบริการ จะมีการใช้ยาสมุนไพรมากน้อยเพียงใดคือ บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งส่วนหนึ่งไม่ค่อยมีความมั่นใจในคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของยาสมุนไพร ตรงนี้จึงทำให้กลายเป็นคอขวด กล่าวคือแม้จะมีช่องทางและสิทธิ ที่เอื้อต่อการสั่งจ่ายยาสมุนไพร แต่บุคลากรไม่เลือกที่จะสั่งจ่าย ดังนั้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่น สิ่งที่ควรดำเนินการคือการนำหลักฐานการศึกษาวิจัยยาสมุนไพร ในบัญชียาหลักฯ มาสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสร้างความมั่นใจ ในประสิทธิภาพให้กับผู้ให้บริการทางการแพทย์ ในการเลือกใช้ยาสมุนไพร คู่ขนานไปกับการสร้างเงื่อนไข และนโยบายที่ชัดเจนในการจูงใจให้แพทย์ และเภสัชกรสั่งจ่ายยาสมุนไพรมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการยืนยันถึงประสิทธิภาพไปด้วยในตัว โดยทางวิทยาลัยฯ กำลังจะมีโครงการฝึกอบรมให้ความรู้ การใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติให้กับแพทย์ ตลอดจนเภสัชกรทั้งในสถานพยาบาลและร้านยา รวมทั้งการจัดทำข้อมูลยาสมุนไพร ให้บุคลากรการแพทย์และประชาชน สามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น

“จะเห็นได้ว่าหากมีการผลักดันให้เกิดการเบิกจ่าย ยาสมุนไพรในระบบบัตรทองมากขึ้น ประชาชนก็จะเข้าถึงยาได้ง่ายขึ้น นำไปสู่สัดส่วนการใช้ยาสมุนไพร ของประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้นด้วย โดยปัจจุบันยาสมุนไพรที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักฯ มีทั้งหมด 94 รายการ ส่วนใหญ่เป็นยารักษาโรคทั่วไป เช่น ปวดหัว ลดไข้ ฯลฯ ซึ่งสามารถตอบสนองอาการของผู้ป่วยเกือบ 80% ที่เข้ามารับบริการ นั่นหมายความว่า สามารถทดแทนยาปัจจุบัน และลดปริมาณการนำเข้ายาได้จริง”

ดร.ภญ.นพคุณ ธรรมธัชอารี ผู้จัดการงานวิจัย สวรส. กล่าวว่า “ระบบบัตรทองเป็นระบบที่มีความก้าวหน้า และมีนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยสนับสนุน ระบบบริการเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือโครงการ “รับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน” ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าช่วยอำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้รับบริการ และลดความแออัดในสถานพยาบาลได้จริง ดังนั้นหากหน่วยบริการสั่งยาสมุนไพร ในบัญชียาหลักฯ ให้แก่ผู้ใช้สิทธิบัตรทองมากขึ้น ในอนาคตอันใกล้เราก็จะได้เห็นภาพ ของผู้ใช้สิทธิบัตรทองไปรับยาสมุนไพรฟรีที่ร้านยาในชุมชนได้”

“การรับยาที่ร้านยาถือเป็นการ จัดการให้เกิดระบบที่มีการใช้ทั้งทรัพยากรและบุคลากร ในระบบสุขภาพอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ เพราะเภสัชกรไม่ใช่เป็นแค่เพียงคนขายยาเท่านั้น แต่เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านยา ที่สามารถให้คำแนะนำ เพื่อให้เกิดการรักษาและดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง สอดคล้องกับงานวิจัยของ สวรส.ที่มีข้อเสนอว่า ร้านยาชุมชนควรขยายบริการ โดยทำหน้าที่เป็นหน่วยคัดกรองและให้คำปรึกษา โดยบริการที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ คือ การคัดกรองโรคเบื้องต้น เช่น ปวดหัว ตัวร้อน โรคผิวหนัง NCDs ฯลฯ ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถใช้ยาสมุนไพรในการรักษาได้ ภายใต้การดูแลและติดตามอาการจากเภสัชกรที่ร้านยา”

Related Posts

Send this to a friend