HEALTH

อนุทิน รับมอบสารสกัดน้ำมันกัญชาล็อตแรก จากองค์การเภสัชกรรม 4,500 ขวด

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบน้ำมันกัญชาเพื่อการแพทย์ล็อตแรกจากองค์การเภสัชกรรม แบบหยดใต้ล้ิน ชนิด THC สูง ขนาด 5 มล. จานวน 4,500 ขวด ซึ่งจะทยอยส่งให้กับ โรงพยาบาลศูนย์ทุกเขตสุขภาพ เขตสุขภาพละ 1 แห่ง รวม 12 แห่ง และผู้ป่วยในโครงการวิจัย 2 ประเภท ได้แก่ การศึกษาวิจัย และการรักษากรณีจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย และจะได้รับเพิ่มอีก 2,000 ขวดเป็นชนิด CBD สูง ขนาด 10 มล. จำนวน 500 ขวด และชนิด THC : CBD (1:1) ขนาด 5 มล. จำนวน 1,500 ขวด รวมเป็นท้ังส้ิน 6,500 ขวดภายในเดือนสิงหาคมน้ี

นายอนุทินกล่าวว่า สำหรับการดำเนินการเร่งด่วนเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงสารสกัดน้ำมันกัญชา 1 ล้านขวด ภายใน 5-6 เดือนน้ี องค์การเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กรมการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก จะทยอยผลิตสารสกัดกัญชาสำหรับใช้บรรเทาและรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์แผนไทย ออกมาอย่างต่อเนื่อง 200,000 ขวดต่อเดือน ต้ังแต่เดือนกันยายนน้ีเป็นต้นไป โดยสารสกัดน้ำมันกัญชามาตรฐาน ทางการแพทย์ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์และเภสัชกรที่ผ่านการอบรมและสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น

นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า อย.ได้ร่วมกับ สถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) เปิดตัว Smartbar Application ซึ่งเริ่มแล้วตั้งแต่วันนี้เพื่อให้บริการประชาชน ในการตรวจสอบข้อมูลทั่วไปของผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ที่ถูกกฎหมายที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ผ่าน Smart Phone ด้วยระบบ Android ส่วนระบบ IOS จะใช้ได้ต้ังแต่ 15 สิงหาคม 2562 โดยสแกนบาร์โค้ด 2 มิติ (GS1DataMatrix) บนผลิตภัณฑ์กัญชาด้วยตนเองได้ทุกที่ทุกเวลาเพื่อตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ กับ อย. ได้แก่ ชื่อผลิตภัณฑ์ ความแรง รูปแบบผลิตภัณฑ์ ขนาดบรรจุ ข้อมูลผู้ผลิต เป็นต้น ซึ่งเลขบาร์โค้ดจะพร้อมรองรับการติดตามและสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ได้ในระดับรายชิ้นแบบ realtime ในอนาคตจะสามารถติดตามตรวจสอบความเคลื่อนไหวการนาไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว

นอกจากนี้ อย.ยังมีระบบเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ผลิตภัณฑกัญชาครอบคลุมผลิตภัณฑ์กัญชาทั้งกรณีการแพทย์แผนปัจจุบัน และตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ กรณีการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ พื้นบ้าน รวมทั้ง กัญชาที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย (กัญชาใต้ดิน) ประชาชนที่ประสบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ จากการใช้กัญชาสามารถรายงานผ่านระบบ online ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์ สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา http://thaihpvc.fda.moph.go.th/ หรือ http://www.fda.moph.go.th

ด้านนายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำแผนพัฒนาระบบบริการสขุภาพสาขาการใช้กัญชาทางการแพทย์เตรียมระบบบริการทั้งการแพทย์แผนปัจจุบันและ การแพทย์แผนไทย โดยจัดต้ังคลินิกผสมผสานแพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์แผนไทย เริ่มดำเนินการในโรงพยาบาล 19 แห่ง ให้บริการโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการอบรมและขึ้น ทะเบียนแล้ว สามารถสั่งจ่ายสารสกัดน้ำมันกัญชาทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ดูแลให้คาปรึกษาหลังการใช้ ติดตามผลลัพธ์ ผลกระทบข้างเคียงทั้งทางกาย จิต และการใช้สารเสพติดผิดวิธี จัดหาสารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพ ให้เพียงพอ ตรวจพิสูจน์ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ เพื่อควบคุมคุณภาพและทราบปริมาณสาร ให้ ความรู้ อสม. บุคลากรสาธารณสขุ เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้อง สร้างความเข้าใจแก่ประชาชน

นายแพทย์สุขุมกล่าวต่อว่า สาหรับน้ำมันกัญชาชนิด THC สูงที่ได้รับจำนวน 3,900 ขวดจะกระจายไปให้โรงพยาบาลศูนย์ 12 แห่ง เขตสุขภาพละ 1 แห่ง ได้แก่ รพ.ลำปาง รพ.พุทธชินราช จ.พิษณุโลก รพ.สวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์ รพ.สระบุรี รพ.ราชบุรี รพ.ระยอง รพ.ขอนแก่น รพ.อุดรธานี รพ.บุรีรัมย์ รพ.สรรพสิทธิ ประสงค์ จ.อุบลราชธานี รพ.สุราษฎร์ธานี รพ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

และในเดือนกันยายน จะได้เริ่มกระจายน้ำมันกัญชาสูตรตำรับแพทย์แผนไทย ผ่านสถานพยาบาลที่ให้บริการด้านการแพทย์แผนไทย 7 แห่งครอบคลุมทุกภาค ได้แก่ ภาคเหนือ รพ.เด่นชัย จ.แพร่ และ รพ.หนองฉาง จ.อุทยั ธานี ภาคกลางที่ รพ.ดอนตูม จ.นครปฐม และรพ. เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รพ.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จ.สกลนคร และ รพ.คูเมืองจ.บุรีรัมย์ภาคใต้ที่ รพ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี

ด้านนายแพทย์โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า องค์การฯ ได้ปลูกและผลิต สารสกัดกัญชา เป็นเกรดมาตรฐานทางการแพทย์ หรือ Medical Grade สำหรับการสกัดในล็อต 2 จากการปลูกในรอบท่ี 1 น้ันคาดว่าจะได้สารสกัดน้ำมันกัญชาเพิ่มอีกประมาณ 3,500 ขวดในเดือนกันยายนนี้รวมเป็นประมาณ 10,000 ขวด

ส่วนการดำเนินการในระยะเร่งด่วนตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข องค์การเภสัชกรรมจะปลูกในรอบที่ 2 ซึ่งจะได้สารสกัดน้ำมันกัญชาประมาณ 10,000 ขวดทุก 5 เดือน จากน้ันจะได้อีกเดือนละ 30,000 ขวดจากแหล่งวัตถุดิบกัญชาขององค์การเภสัชกรรมเอง และมหาวิทยาลัยเครือข่าย

สาหรับโครงการระยะที่ 2 เป็นการปลูกทั้งแบบ Indoor และ Greenhouse ซึ่งจะสามารถเพิ่มผลผลิตเป็น 150,000 – 200,000 ขวด คาดว่าจะสามารถปลูกได้ในต้นปี 2563 อีกท้ังจะ ดำเนินการปรับปรุงสายพันธุ์ไทยให้ได้สารสาคัญท้ังชนิดและปริมาณที่เหมาะสม และปลูกในสภาพอากาศของ ประเทศไทยได้

ส่วนโครงการระยะที่ 3 เป็นการขยายพื้นที่การปลูกสู่ระดับอุตสาหกรรม

Related Posts

Send this to a friend