BANGKOK

กรุงเทพมหานคร วันนี้ ค่าฝุ่นไม่เกินค่ามาตรฐาน

เตือน 24 เม.ย-1 พ.ค.ภาคเหนือ มีพายุฤดูร้อน-ลูกเห็บตกบางแห่ง

วันนี้ ( 24 เม.ย. 66) ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร กรมควบคุมมลพิษ สรุปผลการตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 วันที่ 24 เมษายน 2566 เวลา 05.00-07.00 น. (3 ชั่วโมงล่าสุด) โดยตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 ได้ 21-40 มคก./ลบ.ม. โดยค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานครอยู่ที่ 30.7 มคก./ลบ.ม.ทั้งนี้ค่าฝุ่น PM2.5 มีแนวโน้มลดลง และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานีที่มีการตรวจวัด ต่อมาในเวลา 07.00 น.สามารถตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 21-38 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าไม่เกินมาตรฐานทุกพื้นที่ ที่มีการตรวจวัด (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.)

ส่วนช่วงวันที่ 24 เม.ย.-1 พ.ค.2566 คาดการณ์ฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับปานกลาง ถึงเริ่มมีผลต่อสุขภาพ ด้านกรมอุตุนิยมวิทยา เตือนลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ที่พัดนำความชื้น จากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูง ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น มีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป ประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน ขณะที่ข้อมูลจาก GISTDA ตรวจพบจุดความร้อนผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA โดยช่วงวันที่ 23-24 เมษายน 66 พบค่าความร้อนสูงผิดปกติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อย่าง เขตหนองจองและเขตลาดกระบัง แนะตรวจสอบคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน

ด้าน กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดการณ์ว่าแนวโน้มสภาพอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 ในช่วงวันที่ 24 เม.ย.-1 พ.ค.2566 พบการระบายอากาศดี แต่พบชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นค่อนข้างปิดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ฝุ่นละออง PM2.5 ระบายได้อย่างจำกัดในแนวดิ่ง ส่งผลให้คุณภาพอากาศ อยู่ในระดับปานกลาง-เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้น จากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยจะเริ่มมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และด้านตะวันออกของภาคตะวันออกก่อน ส่วนภาคอื่นๆจะได้รับผลกระทบในระยะถัดไป ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 24 -30 เมษายน 2566 สถานการณ์ค่าฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ยังคงมีแนวโน้มที่ดีถึงปานกลาง โดยวันที่ 24 เมษายน 2566 ในบางพื้นที่อาจมีระดับฝุ่นละอองที่สูง แต่หลังวันที่ 25 เมษายน 2566 เป็นต้นไป สถานการณ์จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่

ขณะที่ GISTDA หรือ สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ได้ตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบ คือค่าความร้อนสูงผิดปกติ จากค่าความร้อนบนผิวโลก บริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร ดังนี้

1.ในวันที่ 23 เมษายน 2566 จำนวน 2 จุด เวลา 13.54 น.แขวงคู้ฝั่งเหนือ เขตหนองจอก
(เพลิงไหม้สงบเรียบร้อยแล้ว)

2.ในวันที่ 24 เมษายน 2566 จำนวน 1 จุด เวลา 02.28 น.แขวงทับยาว เขตลาดกระบัง
(อยู่ระหว่างประสานตรวจสอบจุดความร้อน)

ทั้งนี้ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูล คุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง
1.แอปพลิเคชัน AirBKK 2. www.airbkk.com 3.www.pr-bangkok.com 4.FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร 5.FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม 6.FB: กรุงเทพมหานคร 7.LINE ALERT 8.LINE OA @airbangkok และหากพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue

Related Posts

Send this to a friend