EVENT

รพ.ศิริราช ชวนร่วมกิจกรรม เดิน-วิ่ง-ปั่น ป้องกันโรคอัมพาต

ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ
แผ่นดินไทยไร้สโตรค หวังให้ความรู้ป้องกันโรคสโตรคที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับคนไทยและผู้สูงอายุ

“โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคสโตรค เป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา พบผู้ป่วยมากถึง 70-80 % ซึ่งไทยก็อยู่ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ ในไทยพบว่าเป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุ 45 ปี ขึ้นไป จำนวน 1,880 คน ต่อ 100,000 คน หรือ 2 % แต่เป็นข้อมูลศึกษาเกิน 10 ปีมาแล้ว ในยุคที่เข้าสู่ประชากรสูงวัย น่าจะมากกว่านี้ ประมาณ 2 %

รศ. นพ.ยงชัย นิละนนท์ ประธานศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราชประธานศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช กล่าวถึง สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคสโตรค ที่พบมากกับคนอายุ 45 ปีขึ้นไปและกำลังเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้สูงวัย และพบว่า โรคสโตรค โรคหัวใจ และโรคสมองเสื่อม กำลังเป็นภัยคุกคามสำหรับคนไข้สูงวัย โดย 70 % ของโรคสโตรค เป็นแล้วต้องพิการ อีก 5 % เป็นแล้วตาย และ 25 % แม้จะเดินกลับบ้านได้ แต่อาจมีความพิการอยู่บ้าง เช่นพูดไม่ชัด ทำให้โรงพยาบาลศิริราช ได้รณรงค์ให้ความรู้กับประชาชน ผ่านโครงการ แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดินวิ่งปั่น ป้องกันโรคอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ เนื่องจากโรคสโตรค สามารถป้องกันได้ถึง 90 %

“สโตรคเป็นโรคที่เกิดอาการ พูดไม่ได้ ปากเบี้ยว เห็นภาพซ้อน เดินเป๋ ตามถนน และชนิดไม่แสดงอาการ silence stroke พบบ่อยกว่ามีอาการ ถึง 5 เท่า ประมาณ 10 % ที่ไม่มีอาการอย่างชัดเจน แต่ส่งผล ทำให้ความจำเสื่อม สโตรค จึงเป็นภัยคุกคาม ที่มีแนวโน้มให้คนไข้สูงอายุ เจอภัยคุกคาม 3 ข้อ ทั้งโสตรค โรคหัวใจ และโรคสมองเสื่อม ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพสมองของประชากรสูงวัย และเป็นภัยคุกคามที่เข้ามาในคนไทย”

รศ. นพ.ยงชัย นิละนนท์ ประธานศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช เปิดเผยด้วยว่า โรคสโตรค แม้อันตรายเสี่ยงต่อการพิการและเสียชีวิต แต่ป้องกันได้ร้อยละ 90 ทำให้ รพ.ศิริราช ริเริ่มโครงการ แสงนำใจ ไทยทั้งชาติ เดินวิ่งปั่น ป้องกันโรคอัมพาต มาเป็นครั้งที่ 8 แล้ว

“โรคสโตรคป้องกัน ได้ 90 % ขอเพียงทำตามหลัก 10 ประการ จาก 4 โรค 6 พฤติกรรม ทำให้เป็นอุปนิสัย ป้องกันได้แน่นอนครับ และเป็นสิ่งที่ รพ.ศิริราช พยายามให้ความรู้ เชื่อว่ากิจกรรมนี้จะเป็นส่วนสำคัญให้คนมาร่วมป้องกันโรคสโตรค”

4 โรค 6 พฤติกรรม ที่ รศ. นพ.ยงชัย นิละนนท์ เน้นย้ำ คือ โรคความดันโลหิตสูง หากรักษาให้ดีจะทำให้สโตรค หายไป 48 % เกือบครึ่งหนึ่งจะหายไป จึงต้องมีเครื่องวัดความดันไว้คอยวัดสม่ำเสมอ รวมถึงการป้องกันไม่ให้มีไขมันสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ และโรคเบาหวาน ส่วน 6 พฤติกรรม ต้องไม่ให้ อ้วน ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะลดโรคสโตรค ได้ถึง 36 % ต้องกินผักและผลไม้เยอะๆ รวมถึงงดเหล้า งดบุหรี่ และอย่าเครียด

โดยปีนี้ร่วมมือกับ 3 กระทรวง คือ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช มูลนิธิไทยคม มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ใน 77 จังหวัด

สำหรับการจัดกิจกรรมใหญ่ จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม 2565 พร้อมกันทั่วประเทศไทย สำหรับกรุงเทพมหานคร จัดขึ้น ณ ท้องสนามหลวง ตั้งแต่เวลา 03.00 – 07.00 น. โดยมีทั้งหมด 4 กิจกรรม คือ
1) เดิน ระยะทาง 5 กิโลเมตร ราคา 300 บาทต่อท่าน
2) วิ่งมินิมาราธอน ระยะทาง 10 กิโลเมตร ราคา 300 บาทต่อท่าน
3) ปั่นจักรยายน ระยะทาง 21 กิโลเมตร ราคา 300 บาทต่อท่าน
4) วิ่งฮาล์ฟมาราธอน ระยะทาง 21 กิโลเมตร ราคา 550 บาทต่อท่าน พร้อมทั้งได้รับเสื้อ Finisher
พร้อมการชิงรางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคล จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับผู้ชนะ Over all แบ่งเป็น ชาย หญิง อันดับ 1, 2 และ 3 จำนวน 6 รางวัล
รายได้จะนำเข้ามูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชและกองทุนโรคหลอดเลือดสมองระดับเขตสุขภาพหรือระดับจังหวัด

ผู้สนใจสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 สามารถดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://www.facebook.com/walkrunbikefighting
https://www.facebook.com/sirirajstrokecenter
https://www.sirirajstrokecenter.org/
Website: race.thai.run (http://race.thai.run/wrb8Bangkok)

แสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันโรคอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ ยังมีเป้าหมายเพื่อให้ แผ่นดินไทยไร้สโตรค ถือเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องของการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยทุกเพศ ทุกวัยสามารถร่วมกิจกรรมนี้ได้

สามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ที่
Facebook : Walk Run Bike Fighting Stroke เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช โทร. 0 2414 1010
สำหรับผู้มีจิตศรัทธาสามารถบริจาคสมทบกองทุนแสงนำใจไทยทั้งชาติ เดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 8 เฉลิมพระเกียรติ (D 4172)
ที่ ศิริราชมูลนิธิ (ไม่เว้นวันหยุด) โทร. 0 2419 7658-60
นอกจากจะได้มีสุขภาพที่แข็งแรงห่างไกลจากโรคหลอดเลือดสมอง ยังได้ร่วมทำบุญอีกด้วย

Related Posts

Send this to a friend