ENVIRONMENT

WALHI ส่งเสริมการปลูกกาแฟออร์แกนิคในอินโดนีเซีย ด้วยนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์

WALHI องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของอินโดนีเซีย ประกอบด้วยสมาชิก 487 องค์กร จากองค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติ เผยกรณีศึกษาโรงเรียนสอนปลูกกาแฟภาคสนาม (Coffee Field School) กับการทำเกษตรอินทรีย์ ที่ช่วยพลิกฟื้นวิถีชีวิตเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ อย่างยั่งยืนในการปรับปรุงคุณภาพดิน และดูแลสิ่งแวดล้อม ช่วยลดรายจ่ายจากการงดใช้ปุ๋ยเคมี เพิ่มรายได้จากการจำหน่าย กาแฟออร์แกนิคที่ผู้บริโภคต้องการ

เนื่องจากรสชาติของกาแฟในอาเซียน ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ตลาดกาแฟพร้อมดื่ม จะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ความหลงไหลในกาแฟสด ก็ยังคงเป็นวัฒนธรรม ที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ผ่านมาตลาดกาแฟของไทยและในตลาดโลก ยังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

แวงกี เพอวันโต้ (Wengki Purwanto) กรรมการบริหารของ WALHI สุมาตราตระวันตก กล่าวว่า WALHI ได้เปิดโรงเรียนสอนปลูกกาแฟภาคสนาม (Coffee Field School) ซึ่งศูนย์การเรียนรู้ด้านอาหารอย่างยั่งยืนในเมืองลูเบ็กกาเดง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2022 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการปรับปรุงสภาพของดินและพื้นที่เพาะปลูก ผ่านการแก้ไขปัญหา ด้วยนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ เช่น การเพาะเมล็ดพันธุ์กาแฟ การทำปุ๋ยอินทรีย์ การควบคุมแมลงศัตรูพืช และสร้างเสถียรภาพให้กับตลาด โดยโรงเรียนสอนปลูกกาแฟนี้ ได้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในเมืองโซลก และเพิ่มองค์ความรู้ในการปรับปรุงสภาพดิน และพื้นที่เพาะปลูกให้เกษตรกร ตามแนวทางของเกษตรอินทรีย์

โครงการโรงเรียนสอนปลูกกาแฟของ WALHI ให้ความสำคัญกับ การทำเกษตรอินทรีย์ มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ที่มีต้นทุนต่ำกว่าปุ๋ยเคมี แต่ให้คุณค่าที่ดีกว่าในสองประการ คือ ทำให้สุขภาพ และชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้น ควบคู่กับการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ เพราะปุ๋ยอินทรีย์สามารถอุ้มน้ำได้ดีกว่าถึง 5 เท่า จึงช่วยฟื้นฟูพื้นที่เพาะปลูกที่แห้งแล้ง ปรับปรุงความสมบูรณ์ของดิน ช่วยการดูดซึมสารอาหาร เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และรับประกันความยั่งยืนทางการเกษตร ซึ่งตรงกันข้ามกับปุ๋ยเคมี ที่ทำให้ดินเสื่อมโทรม

สำหรับภูมิภาคอาเซียนนั้น กาแฟเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจท้องถิ่น ไม่ใช่แค่อาชีพ แต่เป็นวิถีชีวิตของเกษตรกร กลิ่นหอมของการคั่วเมล็ดกาแฟ เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงมรดกทางวัฒนธรรม ที่อุดมสมบูรณ์ของเกษตรกร ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา กาแฟออร์แกนิค ผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ เป็นหนึ่งในแนวทางยกระดับภาพลักษณ์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกร ผู้ปลูกกาแฟในอาเซียน รวมถึงประเทศไทย เนื่องจากกาแฟออร์แกนิค สามารถจำหน่ายในราคาที่สูงกว่า กาแฟทั่วไปหลายเท่าตัว ส่งผลให้กาแฟออร์แกนิค เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรดีขึ้น

“WALHI มุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ปลูกกาแฟควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม ผ่านแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืน ควบคู่กับการจ่ายค่าตอบแทน ที่เป็นธรรมกับผู้เพาะปลูก เพื่อให้แน่ใจว่ากาแฟทุกแก้วจะบอกเล่าเรื่องราว คุณค่า วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเสมอภาค แหล่งกำเนิด และสิ่งแวดล้อมได้อย่างครบถ้วน” แวงกี กล่าว

คาซิโม หนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจำนวนมาก ที่เมืองนากิริ ลูเบ็ก กาเดง (Nagari Lubuk Gadang) ในเกาะสุมาตราตะวันตก กล่าวว่า การปลูกกาแฟแบบเกษตรอินทรีย์ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ส่งผลให้คุณภาพกาแฟ ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้น และยังช่วยในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แม้จะยังไม่ได้รับรางวัลระดับ prestigious label ใดๆ แต่มั่นใจว่าทุกสิ่งจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เพราะปัจจุบัน Kopi Rakyat ได้รับการประเมินคุณภาพ ในระดับ 80 คะแนน และได้รับการยกย่องให้เป็นกาแฟออร์แกนิค ระดับพรีเมี่ยมของโซลกอย่างภาคภูมิใจ

ทั้งนี้ คาซิโม เป็นหนึ่งในเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจำนวนมาก ที่เมืองนากิริ ลูเบ็ก กาเดง (Nagari Lubuk Gadang) ในเกาะสุมาตราตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกกาแฟโซลก (Solok) ที่ขึ้นชื่อของอินโดนีเซีย ที่ผ่านมาพวกเขาทำการเกษตรแบบพึ่งพาสารเคมี และยาฆ่าแมลง จึงมีภาระรายจ่ายและต้นทุนการเกษตรที่สูง ประกอบกับในช่วงการแพร่ระบาด ของโควิด-19 ราคาเมล็ดกาแฟตกต่ำเหลือเพียง 9.09 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรต้องประสบปัญหา ค่าครองชีพอย่างรุนแรง

คาซิโมและเกษตรกร 24 คนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ “Kopi Rakyat” หรือ กาแฟประชาชน โดยร่วมกับองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ของอินโดนีเซียที่ชื่อ WALHI (Wahana Lingkungan Hidup Indonesia) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟให้ดีขึ้น

“การทำเกษตรอินทรีย์ เพาะปลูกกาแฟแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่เพียงแต่ทำให้เรามีผลิตภัณฑ์ที่ดี แต่ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาผืนดิน รักษาสิ่งแวดล้อม และต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลง ของสภาพภูมิอากาศ เรามุ่งมั่นที่จะรักษาการเติบโต และดึงดูดการเงินทุน ภายใต้แนวคิด จากฟาร์มสู่ตลาดเรามุ่งมั่นแสวงหาการลงทุนในด้านอุปกรณ์ เพื่อยกระดับคุณภาพของกาแฟให้ดีขึ้น เพื่อให้กาแฟของเราได้รับการยอมรับ เป็นที่รู้จักทั้งในระดับประเทศและระดับโลก” คาซิโม กล่าว

ทั้งนี้ WALHI ไม่เพียงแต่ให้ความรู้เกี่ยวกับ วิธีการทำเกษตรอินทรีย์แก่เกษตรกรเท่านั้น แต่ยังให้ความรู้เกี่ยวกับความซับซ้อน ของการเพาะปลูกและการแปรรูปกาแฟ ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจ การตลาด การค้า และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กาแฟ ทำให้ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น

Related Posts

Send this to a friend