ENVIRONMENT

มท.1 ร่อนหนังสือ ผู้ว่าฯ-ผ.อ.จว. รับมือไฟป่า หมอกควัน ฝุ่น PM2.5

วันนี้ (11 พ.ย. 64) พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ส่งหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้อำนวยการจังหวัด ทุกจังหวัด เรื่อง การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกกวัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ปี 2564-2565 ระบุข้อความว่า

ด้วยในช่วงปลายฤดูหนาวของทุกปีประเทศไทยจะเกิดสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) มีค่าเกินมาตรฐานในหลายพื้นที่ โดยสถานการณ์ดังกล่าวสาเหตุหลักเกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งโดยธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์ อาทิ การคมนาคมและขนส่งการเผาในที่โล่ง การเกิดไฟป่า ภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และหมอกควันข้ามแดน เป็นต้น ประกอบกับสภาพทางอุตุนิยมวิทยา รวมทั้งสภาพภูมิประเทศในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงที่ลมสงบ ส่งผลให้ระดับเพดานการลอยตัวและการกระจายตัวของฝุ่นละอองอยู่ในระดับต่ำ การไหลเวียนและถ่ายเทของอากาศไม่ดี จึงทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละอองในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นบางช่วงเวลาในหลายพื้นที่

เพื่อให้การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) ปี 2564-2565 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง จึงให้กองอ่านวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดดำเนินการดังนี้

1. จัดตั้งคณะทํางานติดตามสถานการณ์ภายใต้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการเกิดปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทิศทางลมการเกิดจุดความร้อน (Hotspot) โดยให้ความสําคัญกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิภาพถ่ายดาวเทียมการใช้ระบบแอปพลิเคชันต่าง ๆ ในการสนับสนุนการอำนวยการสั่งการการแจ้งเตือนประชาชนให้ผู้อำนวยการในแต่ละระดับได้

2. ทบทวนและจัดจําแผนเผชิญเหตุโดยให้ความสำคัญกับการปรับปรุงข้อมูลพื้นที่เสี่ยงทั้งพื้นที่ป่าพื้นที่การเกษตรพื้นที่ริมทางและพื้นที่ชุมชนข้อมูลกลุ่มเปราะบางการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบแนวทางปฏิบัติในแต่ละระดับตามการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) การมอบหมายภารกิจให้หน่วยงานในแต่ละพื้นทีถึงระดับอำเภอตำบลและหมู่บ้านอย่างชัดเจนการปรับปรุงข้อมูลทรัพยากรเครื่องจักรกลสาธารณภัยของหน่วยงานและให้ซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุแบบบูรณาการอย่างต่อเนื่อง

3. ดำเนินการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) โดยกำชับหน่วยงานที่มีอานาจหน้าที่ตามกฎหมายดำเนินการบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัดเพื่อป้องกันและลดการเกิดมลพิษจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ได้แก่ ยานพาหนะการก่อสร้างภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนโดยให้นำผลการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมาปรับใช้ในการขยายผลการดำเนินการพร้อมทั้งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนมีความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามมาตรการของภาครัฐ

4. ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตลอดจนอาสาสมัครที่เข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐโดยจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ส่วนบุคคลที่มีความเหมาะสมตามบทบาทภารกิจที่ได้รับมอบหมายตลอดจนการดูแลด้านสวัสดิการและค่าใช้จ่ายตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่กำหนดรวมทั้งพิจารณาแหล่งงบประมาณหรือแสวงหาความร่วมมือจากภาคเอกชนสำหรับกรณีการประกันภัยให้ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงอันตราย

5. เมื่อสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) ในพื้นที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้นให้ดำเนินการตามแนวทางดังนี้

5.1 ให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัดอำเภอใช้กลไกตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เป็นหลักร่วมกับกฎหมายและแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการอำนวยการสั่งการและบูรณาการกำลังพลทรัพยากรเครื่องจักรกลสาธารณภัยให้เป็นไปตามระบบบัญชาการเหตุการณ์

5.2 ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์รุนแรงให้บูรณาการหน่วยงานฝ่ายทหารฝ่ายพลเรือนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนหน่วยอาสาสมัครประชาชนจิตอาสาที่มีทักษะความชำนาญประกอบกำลังเป็นชุดปฏิบัติการพร้อมอุปกรณ์เครื่องจักรกลสาธารณภัยที่เหมาะสมเข้าแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่มีการเผาหรือก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) โดยทันทีสำหรับกรณีการเกิดไฟป่าในพื้นที่ที่กำลังภาคพื้นดินเข้าถึงยากและมีความจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่มีอากาศยานเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุโดยเร็ว

5.3 การดูแลสุขภาพประชาชนให้มอบหมายหน่วยงานด้านสาธารณสุขจัดเจ้าหน้าที่เข้าดูแลประชากรกลุ่มเสี่ยงกลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจเพื่อให้ข้อมูลด้านสุขภาพแนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างใกล้ชิดพร้อมทั้งมอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดพื้นที่และระบบบริการประชาชนในพื้นที่ปลอดภัย (Safety Zone) หรือห้องปลอดฝุ่นในพื้นที่รับผิดชอบให้มีความเหมาะสมตามแนวทางและมาตรการป้องกันควบคุมโรคของกระทรวงสาธารณสุข

5.4 สร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจถึงสถานการณ์และเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการดาเนินกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) ข้อกฎหมายและมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ

6. รายงานสถานการณ์และผลการดำเนินการของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดให้กระทรวงมหาดไทยทราบผ่านกองจํานวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางอย่างต่อเนื่อง

Related Posts

Send this to a friend