ENVIRONMENT

กรมอุทยานฯ “ทำหมันลิง” ที่ศรีสะเกษ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 500 ตัวภายใน 4 ปี

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ที่ 9 จ.อุบลราชธานี รายงานการทำหมันลิง สัตว์ป่าคุ้มครองที่เป็นภัยคุกคามกับชุมชนเมืองจากสภาพปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรลิง และมีการพัฒนาขยายพื้นที่เมืองเข้าไปในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และ พื้นที่ที่เคยเป็นป่ามาก่อนจำนวนมาก ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นมีระบบควบคุมโดยห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบัน ลิงจำพวกนี้กลับอยู่บนสุดของห่วงโซอาหาร ไม่มีผู้ล่า เช่น เสือดาว หรือ งูเหลือม

โดยลิงที่อาศัยในแหล่งชุมชน กลับเพิ่มจำนวนมาก ต้องเข้ามาอาหารในพื้นที่ที่มีคนอยู่ ตลอดจนมีประชาชนบางกลุ่มซึ่งอยู่ในพื้นที่ไปให้อาหารสัตว์ ทำให้สัตว์ป่าเหล่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปไม่ยอมหาอาหารเองและเข้ามาก่อกวนประชาชนในท้องที่ และสัตว์ป่าเหล่านั้นเป็นสัตว์ที่เป็นห่วงโซ่อาหารที่สูงสุดในพื้นที่ทำให้การขยายพันธุ์และแพร่พันธ์เป็นไปอย่างรวดเร็ว

สัตวป่าที่อยู่ในบัญชี สัตว์ป่าคุ้มครอง ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมเมืองในปัจจุบันได้แก่ ตัวเงินตัวทอง ช้าง และลิง ซึ่งทั้ง 3 ชนิด หากผู้ใดมีไว้ครอบครองหรือทำอัตรายแก่สัตว์ป่าย่อมถือว่าผิดกฏหมาย ตาม พรบ.สัตว์ป่าสงวนและคุ้มครองสัตว์ พ.ศ.2535

ปัจจุบันนี้ สัตว์ป่าที่เป็นปัญหาหนักที่สุด คือ ลิง ซึ่งเป็นปัญหาหลักของชุมชนก่อกวน และสร้างปัญหา ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวหลายๆแห่ง ด้วยกัน

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จึงให้ความสำคัญในการจัดการปัญหาสัตว์ป่าที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน จึงได้ให้ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่9 จ.อุบลราชธานี สำรวจพื้นที่ที่มีปัญหาพบในพื้นที่ อ. ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ที่อดีตในปี พ.ศ. 2558 มีประชากรลิงไม่ถึง 100 ตัว แต่ในปัจจุบันปี 2562 มีประชากรลิงถึง 500 ตัว โดยประมาณ

หน่วยงานในท้องที่​ ตลอดจนชาวบ้าน​ในชุมชน เห็นด้วยในการแก้ไขปัญหานี้ จึงเปิดโครงการ​ทำหมันลิงในท้องที่​ อ.​ ราษีไศลจ.ศรีสะเกษ​ โดย สัตว์แพทย์​นันทิตา​ รักษาชาติ​ ,สัตวแพทย์บงกตมาศ​ พิมพ์สิน​,สัตวแพทย์ พชรินทร์​ ราชสิน​ และสัตวแพทย์ทัษษินา​ จารุวัฒนานนท์​ มาดำเนินการทำหมันลิง ตามขั้นตอนตั้งแต่ จัดทีมไปดักจับ โดยมีการนำกรงขนาดใหญ่ไปดักในพื้นที่วัดเมืองแคน อ ราษีไศล จ ศรีษะเกษ แล้วนำลิงไปแยกในกรงเล็ก เพื่อผ่าตัดทำหมัน ฉีดยาสลบ ทำประวัติ​ โดยคล้องหมายเลข​ และถ่ายรูป​ให้ครบทุกด้านรอบตัว แล้ววัดขนาด​ เจาะเลือด​ เก็บตัวอย่างน้ำลาย อุจจาระ เซรั่ม​ เพื่อหาเชื้อไวรัส โรคอุบัติใหม่​ ที่ติดต่อจากลิงสู่คโดยสุ่ม​ 25​ ตัวอย่างต่อฝูง​ และนำส่งตรวจที่​ ม.​ มหิดล

สุดท้ายคือให้ยาก่อนผ่าตัด​ ได้แก่​ cogetin ทาตาลิงเพื่อไม่ทำให้ตาลิงแห้ง​ และฉีดยาลดปวด​ (tolfedine) ลดอักเสบ(shotapen)ถ่ายพยาธิ​(ivermectin)​ ให้แก่ลิง โกนขนบริเวณหน้าท้อง ผ่าตัด​ โดยผ่าตัดเอาท่อนำไข่​ออก หรือท่อนำอสุจิออก​ แล้วทำแผล​ ทำสลักสัญลักษณ์​ โดยสักต้นแขน ขวา ตามที่กำหนดไว้​ 3301 เลข 33 คือศรีสะเกษ​ 01 คือ พื้นที่แรก ​ 62001 โดย 62 คือ ปี​ 001 คือ ตัวที่​ 1​ แล้ว นำไปพักฟื้น​ และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

ซึ่งการทำหมันเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยควบคุมประชากรลิง​ ลดปัญหาภัยคุกคามกับชุมชนเมืองได้อย่างถูกวิธี และสามารถหยุดการแพร่กระจายเชื่อโรคระบาดบางตัวได้ ด้วย

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Send this to a friend