ENTERTAINMENT

GDH จัดงานกาลาภาพยนตร์ เพื่อน(ไม่)สนิท พร้อมมอบรางวัลเเข่งขันทำภาพยนตร์สั้น

วันนี้ (26 ต.ค. 66) ที่ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ GDH ร่วมกับ HOUSETON และพันธมิตร จัดงานกาล่าฉายภาพยนตร์เรื่อง เพื่อน(ไม่)สนิท จากผลงานของ 2 โปรดิวเซอร์ ‘วัน-วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์’ และ ‘บาส -นัฐวุฒิ พูนพิริยะ’ พร้อมผู้กำกับน้องใหม่ไฟแรง อัตต้า-อัตตา เหมวดี พร้อมนักเเสดงรุ่นใหม่อย่าง โทนี่ อันโทนี่ บุยเซอเรท์, จั้มพ์ พิสิฐพล เอกพงศ์พิสิฐ, ใบปอ ธิติยา จิระพรศิลป์, ฟลุ๊ค ธนกร ติยานนท์ และ ฟ้อนด์ ณัฐทิชา จันทรวารีเลขา พร้อมศิลปินที่มาร่วมงานอย่างคับคั่ง

ภายในงานยังมีการมอบรางวัลจากกิจกรรมประกวดทําภาพยนต์สั้นประกอบมิวสิควิดีโอเพลงเพื่อนไม่สนิทเเก่เยาวชนในระดับชั้นมัธยมศึกษา เเละมหาวิทยาลัยที่ส่งประกวดมากกว่า 1 พันคลิปจากทั้งในประเทศ เเละต่างประเทศ

ตัวเเทนทีม 18 Films จากโรงเรียนชลกันยานุกูลซึ่งเป็นทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศในระดับมัธยมศึกษาได้เปิดเผยกับ The Reporters ว่า “กลุ่มของพวกหนูเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2 คน เริ่มทําภาพยนตร์สั้นมาได้ 3 ปีเเล้ว วินาทีที่ได้รับรับรางวัลนี้รู้สึกตื้นตันดีใจ และมีความสุขกันทั้งทีม เพราะเป็นความฝันตั้งเเต่ยังเด็กที่เริ่มทําภาพยนตร์ว่าจะเป็นผู้กํากับของ GDH ให้ได้ เเล้วการที่ได้รับรางวัลจากการประกวดของ GDH เเบบนี้ทําให้พวกหนูรู้สึกเข้าใกล้ความฝันมากขึ้น หากวันนึงได้เป็นผู้กำกับของ GDH จะทําภาพยนตร์ที่ไม่มีใครเคยทําในวงการภาพยนตร์ไทยเพราะหนูเป็นคนที่ชอบจินตนาการ เเละวาดมันลงในภาพยนตร์ “

เมื่อพูดถึงซอฟต์พาวเวอร์ที่ตอนนี้สังคมเริ่มให้ความสนใจอย่างภาพยนตร์ไทย ตัวเเทนทีม 18 Films ก็ได้เล่าผ่านมุมมองของเยาวชนที่รักในการทําภาพยนตร์ว่า “หนูคิดว่าคนไทยเป็นคนเก่งมากๆ จากการที่คลุกคลีกับการทําภาพยนตร์ทั้งล่ารางวัลตามรายการต่าง ๆ หรือเป็นการเข้าค่ายฝึกอบรมภาพยนตร์ทําให้ได้พบเห็นคนมีความสามารถมากมายทั้งที่ตอนนี้ทําภาพยนตร์ที่ประเทศไทย เเละต่างประเทศทําให้หนูเชื่อว่าคนไทยมีความสามารถในการทําภาพยนตร์สูงมาก เเต่ประเทศไทยก็ยังขาดเเรงสนับสนุนจากภาครัฐ ทําให้คนที่มีความสามารถหลายคนไม่สามารถเเสดงความสามารถออกมาได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหนูคิดว่าหากมีการสนับสนุนที่จริงจังในวงการภาพยนตร์หนูคิดว่าวงการภาพยนตร์ประเทศไทยจะไปได้ไกลกว่านี้ในวงการภาพยนต์โลก”

ตัวเเทนทีม 18 Films ยังพูดถึงปัญหาของการขาดเเรงสนับสนุนจากภาครัฐที่อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการว่า “การที่รัฐไม่มีทุนให้คนทําภาพยนตร์มากเพียงพอทําให้ต้องพึ่งพาเอกชนเป็นหลัก เเละเมื่อต้องพึ่งพานายทุนก็ต้องทําภาพยนตร์ที่ขายได้ เเละติดตลาดง่าย ทําให้พื้นที่ของภาพยนตร์ล่ารางวัล เเละภาพยนตร์อิสระที่มีเอกลักษณ์ไม่ได้มีอยู่ในวงการภาพยนตร์ไทยมากเท่าไหร่ทําให้ภาพยนตร์ไทยหยุดนิ่งอยู่กับที่“

นอกจากนี้ตัวเเทนทีม 18 Films กล่าวถึงการสนับสนุนของภาครัฐ ต่อวงการภาพยนตร์ไทยว่า “หนูอยากให้เราลงทุนกับพื้นที่ตรงนี้ให้เยอะขึ้น อย่างงานประกวด GDH วันนี้เเสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีเด็กไทยที่เก่ง เเละสนใจด้านการทําภาพยนตร์เยอะมาก เเต่ว่าไม่มีอุปกรณ์ที่ดี เเละโอกาสในการพัฒนาความรู้ ถ้าหากว่าภาครัฐสนับสนุนตรงนี้ในด้านงบประมาณ หลักสูตร หรือว่าโรงเรียน open school ที่เกี่ยวกับการทําภาพยนตร์ จะช่วยได้เยอะมาก“

ตัวเเทนทีม 18 Films ยังขยายความถึงโรงเรียน open school ที่เกี่ยวกับการทําภาพยนตร์ว่า “ด้วยข้อจํากัดของอุปกรณ์ทําให้เราทําหนังได้ดีในระดับนึง เเต่อย่างโรงเรียนภาพยนตร์ที่ต่างประเทศเช่น เมืองลอสเเองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เค้ามีสอนหลักสูตรต่างๆที่สอนด้านภาพยนตร์อย่างจริงจัง หนูคิดว่าถ้าประเทศไทยสามารถทําได้ มันจะมากกว่าการที่เด็กมัธยมขอยืมกล้องของโรงเรียนมาถ่ายภาพยนตร์“

เมื่อพูดถึงเหตุผลที่ควรมีโรงเรียนภาพยนตร์มากขึ้นถึงเเม้ในมหาลัยจะมีสอนการทําภาพยนตร์ตัวเเทนทีม 18 Films อธิบายว่า “เพราะว่าเด็กไทยไม่รู้ตัวว่าชอบทําอะไร จนบางทีเลยไปถึงวัยผู้ใหญ่หรือบางคนก็ไม่รู้ตัวไปตลอดชีวิต สิ่งที่จะทําให้เราไปถึงจุดที่เรียนในมหาวิทยาลัยที่สอนทําภาพยนตร์ เเละทําภาพยนตร์ได้มันช้าเกินไป เด็กต้องเรียนวิชาเกินความจําเป็นเพื่อไปใช้ในการสอบซึ่งสุดท้ายก็ไม่ได้ใช้ในการทําภาพยนตร์ การที่เราจะพัฒนาคุณภาพของภาพยนตร์นั้นตัองใช้ประสบการณ์ซึ่งการมีประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งดี”

“การเรียน 4 ปีในมหาวิทยาลัยอาจจะเพียงพอก็จริงเเต่ก็ได้ประสบการณ์ในฐานะเด็กมหาลัย เเต่ประสบการณ์ในฐานะเด็กวัยมัธยมก็เป็นอีกรูปเเบบหนึ่งที่เราได้เรียนรู้ความสามารถ เเละมีความคิดที่ต่างออกไป ถ้าเกิดเราได้รับการสนับสนุนที่ดีตั่งเเต่ช่วงวัยมัธยมเราจะทําให้วงการภาพยนตร์ไทยไปได้ไกลกว่านี้”

Related Posts

Send this to a friend