DEEPSOUTH

คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขไทย-BRN เตรียมหาข้อสรุปแผน JCPP ให้ได้ภายใน 2 ปี

เปิดภาพการหารือเต็มคณะครั้งแรก คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขไทย-BRN เตรียมหาข้อสรุปแผน JCPP ที่วางเป้าหมายหยุดยิง-หารือสาธารณะ ให้ได้ภายใน 2 ปี

วันนี้ (6 ก.พ. 67) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ศาสตราจารย์ พลเอก ตันซรี ดาโต๊ะ สรี ซุลกิฟลี ไซนัล อะบีดิน ผู้อำนวยความสะดวกในกระบวนการพูดคุยสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้นัดหมาย 2 ฝ่าย ประกอบด้วย คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ชุดใหม่ของไทย นำโดย นายฉัตรชัย บางชวด และ คณะพูดคุยเพื่อสันติภาพ ขบวนการบีอาร์เอ็น (BRN) นำโดย อุสตาสอานัส อับดุลเราะห์มาน โดยการประชุมมีขึ้นเป็นเวลา 2 วันระหว่างวันที่ 6-7 ก.พ.2567

สำหรับการประชุมในช่วงเช้ามีการถ่ายภาพรวมกันระหว่าง ผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย คณะพูดคุยฝ่ายไทยและฝ่ายบีอาร์เอ็น และภาพหมู่เต็มคณะ โดยฝ่ายบีอาร์เอ็น สวมชุดมลายูเข้าร่วมประชุมด้วย

ประเด็นสำคัญในการหารือวันนี้มีการจับตาไปที่ความคืบหน้าในการหาข้อสรุปแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม หรือ JCPP (Joint Comprehensive plan towards peace) ซึ่งจะให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็น ได้แก่ การลดความรุนแรง การปรึกษาหารือสาธารณะ และการแสวงหาทางออกทางการเมือง และเป็นผลสืบเนื่องจากการพูดคุย ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 21-22 ก.พ.2566 กับคณะพูดคุยฯที่มี พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ เป็นหัวหน้าฯ

โดยการหารือเต็มคณะครั้งนี้ เป็นการหารือครั้งที่ 7 ของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข ตั้งแต่ชุดของ พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ เมื่อปี 2020 และเป็นครั้งแรกของคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขชุดใหม่ ในรัฐบาลใหม่ของไทยที่นำโดย นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ส่วนคณะพูดคุยของบีอาร์เอ็น ยังเป็นชุดเดิม ที่นำโดย อุสตาส อานัส อับดุลเราะห์มาน

ขณะที่ผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย ศ.พลเอก ตันซรี ดาโต๊ะ สรี ซุลกิฟลี ไซนัล อะบีดิน แจ้งสื่อมวลชนมาเลเซียและไทยว่าจะมีการแถลงข่าวเวลา 15.00 น.วันที่ 7 ก.พ.67 ตามเวลาท้องถิ่นมาเลเซีย

โดยแผน JCPP ที่เคยตกลงร่วมกันได้วางกรอบแผนงานเพื่อสร้างสันติสุข หรือ Roadmap ไว้เป็นเวลา 2 ปี ในปี 2566-2567 จะให้บรรลุข้อตกลง

1.การลดความรุนแรง reduction of Violence /Cessatiom of Hostilities
2.การปรึกษาหารือสาธารณะ Public Consultation

ซึ่งจะมีการนำแผนปฏิบัติการร่วมไปปฏิบัติการลดความรุนแรง การลดการเผชิญหน้า และการจัดการปรึกษาหารือสาธารณะ ที่จะมีการกำหนดรูปแบบการบริหารพื้นที่ การยอมรับอัตลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชนชาวปาตานี สิทธิมนุษยชน กระบวนการยุติธรรม และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเรื่องเศรษฐกิจและการพัฒนา การศึกษา และอื่น

Related Posts

Send this to a friend