DEEPSOUTH

อัญชนา นักประชาสังคมชายแดนใต้ เปิดใจ ลาออกจากคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ คดีอับดุลเลาะ

น.ส.อัญชนา หีมมิหน๊ะ กลุ่มด้วยใจ เปิดใจกับ The Reporters ถึงเหตุผลในการ ลาออกจากการเป็นกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 27 ส.ค.2562 หลังจากคณะกรรมการแถลงผลตรวจสอบข้อเท็จจริงการเสียชีวิตของ นายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ ผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคง ซึ่งหมดสติในระหว่างควบคุมตัวในค่ายอิงคยุทธบริหาร เมื่อวันที่ 21 ก.ค.และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2562

น.ส.อัญชนา เปิดเผยว่า หลังจากได้รับการแต่งตั้งจากแม่ทัพภาคที่ 4 ให้เป็นคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อเดือนมีนาคม 2562 ตั้งใจมาทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นงานภาคประชาสังคมที่ทำอยู่ โดยเฉพาะปัญหาการถูกซ้อมทรมาน ที่ทำเรื่องนี้มาตลอด

“การลาออกทำให้เราทำงานได้มากกว่าเป็นกรรมการ เชื่อว่า เราสามารถป้องกันมันได้ ป้องกันการทรมาน ทำได้ดีกว่านี้” อัญชนา กล่าว

แต่จากกรณีของ นายอับดุลเลาะ รู้สึกเสียใจที่ไม่สามารถทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนได้ตามที่มีเจตนารมณ์เดิม จึงขอลาออก และขอเป็นกำลังใจให้คณะกรรมการทำงานต่อไปเพราะมีความจำเป็นต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชน

ในส่วนกรณีอับดุลเลาะ มีการค้นหาความจริง การตรวจสอบว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขา ในช่วงถูกส่ง โรงพยาบาล ปัญหา เกิดอะไรขึ้น อยากให้ตรวจสอบให้ความสำคัญ มากกว่าข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ การทรมาน บางกรณีไม่สามาถพิสูจน์ได้ ต้องมีองค์ประกอบหลายอย่าง ซึ่งข้อด้อยของไทย ที่ไม่มีองค์ความรู้เรื่องนี้เพียงพอ และส่วนตัวมองว่า ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอ และมีข้อจำกัด กลไกภายในกรรมการเราจึงตัดสินใจลาออก

ผลสอบจบในแง่การพิสูจน์มีอะไรเกิดขึ้นในค่ายที่ได้รับบาดเจ็บ กรรมการก็ดูเรื่องการเยียวยาต่อ สังคมต้องการค้นหาความจริง ซึ่งกรรมการตอบข้อสงสัยของสังคม มากกว่ามุ่งเน้นการเยียวยา เขาไม่ต้องการความรู้สึกว่าให้เงินแล้วจบ ยิ่งตอกย้ำความเจ็บปวด ถ้าคุณกระทำแล้วคุณมาให้เงินทำไม

สังคมคาดหวังที่จะเห็นความจริงจากกรณีนี้เพราะในอนาคตต้องมีคนถูกควบคุมตัวอีก ต่อไปใครจะยอมมาอยู่ในค่าย เขาเลือกจะหนี นำไปสู่การหลบหนี การวิสามัญฆาตกรรม ถ้าไม่ค้นหาความจริงให้เจอ จะกลับไปสู่ยุคปี 48-49 ที่ทุกคนกลัวการซ้อมทรมาน เพราะเราไม่ได้แก้ที่รากเหง้า คือความยุติธรรม

Related Posts

Send this to a friend