BUSINESS

NSC เปิดตัว shellfish อาหารทะเลจากนอร์เวย์ จับตลาดร้านอาหารระดับไฮเอนด์

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ร่วมมือกับ บริษัท จาโกต้า บราเดอร์ส เทรดดิ้ง เปิดตัว shellfish หรือ อาหารทะเลจำพวกเปลือก จากประเทศนอร์เวย์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย จับตลาดร้านอาหารระดับไฮเอนด์ทั่วกรุงเทพฯ ภายในงานเปิดตัวได้รับเกียรติจากเชฟ พันธมิตรคู่ค้า มาร่วมลิ้มลองความสดอร่อยของ ปูแดงจักรพรรดิ กุ้งลังกู้สตีน หอยเชลล์ ปูสีน้ำตาล และกุ้งน้ำเย็นจากนอร์เวย์ ที่ ลอร์ดจิมส์ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ

ดร. อัสบีเยิร์น วาร์วิค เรอร์ทเว็ท ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) กล่าวว่า “เราภูมิใจและตื่นเต้นเป็นอย่างมาก กับการเปิดตัวสินค้าไลน์ใหม่ที่พรีเมียมที่สุดอย่าง shellfish จากนอร์เวย์ ซึ่งมีตัวเลือกหลากหลายประเภท ให้ได้เลือกสรรให้กับร้านอาหารระดับไฮเอนด์ ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนไทย เช่น fine dining (ไฟน์ไดนิ่ง) และ omakase (โอมากาเสะ) ในวันนี้ เราได้ร่วมมือกับบริษัทชั้นนำอย่าง จาโกต้า ที่มีแนวทางการทำธุรกิจ ที่มุ่งเน้นการจับเทรนด์ด้านฟู้ดโซลูชั่น ส่งมอบวัตถุดิบระดับพรีเมียม ในทุกจานที่เสิร์ฟให้แก่ผู้บริโภค และร่วมผลักดันอุตสาหกรรมอาหารของไทย ให้มีวัตถุดิบคุณภาพ นอกเหนือจากรสชาติที่สด หวานละมุนของปูแดงจักรพรรดิ กุ้งลังกู้สตีน หอยเชลล์ ปูสีน้ำตาล และกุ้งน้ำเย็นจากนอร์เวย์ วัตถุดิบพรีเมียมดังกล่าว ยังมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และมาจากแหล่งธรรมชาติที่ใส่ใจในความยั่งยืน นอร์เวย์มีกฎระเบียบด้านการประมงที่เข้มงวด ยกตัวอย่างเช่น การกำหนดโควตาปลา และการเลือกใช้อุปกรณ์จับปลาที่มีประสิทธิภาพ โดยแบ่งแยกสำหรับปลาขนาดใหญ่ และเล็กไว้อย่างชัดเจน เพื่อส่งเสริมความยั่งยืนของระบบนิเวศรอบแนวชายฝั่ง นอร์เวย์เป็นประเทศแห่งอาหารทะเล ที่ส่งออกอาหารทะเลใหญ่ เป็นอันดับสองของโลก การบริหารจัดการบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ ต่อแหล่งทรัพยากรของประเทศ จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC)”

มร. โกปาล จาโกต้า ผู้อำนวยการด้านการพัฒนาธุรกิจ บริษัท จาโกต้า บราเดอร์ส เทรดดิ้ง กล่าวว่า “ถ้าพูดถึงอาหารทะเล เราคัดสรรวัตถุดิบที่คุณภาพดี และมาจากแหล่งการประมงที่ยั่งยืนที่สุด เพื่อให้ลูกค้าเราสามารถนำไปประกอบอาหารได้จริง ในปี 2565 นี้ เราเชื่อว่าเรื่องของคุณภาพเป็นมากกว่า การมีเนื้อสัมผัส รสชาติ หรือรูปลักษณ์ที่ดี แต่ยังหมายถึงความยั่งยืน การไม่จับปลาเกินกว่าที่จำเป็น ความรับผิดชอบต่อสุขภาวะของภาคแรงงาน และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับที่ต่ำ ตั้งแต่การผลิตขนส่งไปจนถึงการบริโภค เราอยากที่จะสร้างคำนิยามใหม่ ของคำว่า “คุณภาพ” ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของความยั่งยืน ต่อระบบนิเวศและความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นหลักการที่สอดคล้องกับทิศทาง ของอุตสาหกรรมอาหารทะเลของนอร์เวย์”

Related Posts

Send this to a friend