BUSINESS

FTI Poll เอกชนเสนอรัฐ “ตรึงดีเซล-ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบภาคการผลิต”

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 17 ในเดือนพฤษภาคม 2565 ในหัวข้อ “เงินเฟ้อกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า ราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบของวิกฤตความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน และปัญหา Supply chain disruption เป็นปัจจัยหลักที่เร่งให้ภาวะเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และยังกดดันกำลังซื้อภาคครัวเรือนให้ลดลง

นายมนตรี กล่าวว่า จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 200 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด พบว่า ปัจจัยที่เร่งให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัว สูงขึ้น 86.50% ภาวะสงครามจากความขัดแย้ง ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน 77.00% ต้นทุน การผลิตที่สูงขึ้น จากปัญหา Supply chain disruption 69.50% ความต้องการสินค้าและบริการที่มีมากเกินไปหลังการเปิดประเทศ 13.50% ตามลำดับ

ผลสำรวจยังพบว่า ภาวะเงินเฟ้อมีผลกระทบที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและประชาชนในวงกว้าง โดย 88.50% มองว่า ทำให้การแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จนส่งผลต่อภาวะราคาสินค้าแพง , 64.00% มองว่า ส่งผลภาระหนี้สินภาคครัวเรือน และการขาดสภาพคล่องของผู้ประกอบการ , 57.00% มองว่ากำลังซื้อภาคครัวเรือนที่ลดลง , 30.50% เชื่อว่า ส่งผลให้ผู้ประกอบการ มีความระมัดระวังในการลงทุน และจำกัดการจ้างงานตามลำดับ

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการคาดการณ์เงินเฟ้อตลอดทั้งปี 2565 จะอยู่ในระดับ 4 – 5% ถึง 50.00% จึงต้องการให้ในภาครัฐมีมาตรการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ได้แก่ มาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย และ ผู้ประกอบการ SMEs คิดเป็น 59.50% ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อภาคการผลิต คิดเป็น 58.50% ตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ที่ 32 บาทต่อลิตร ต่อเนื่องไปอีก 3 – 6 เดือน 58.00% ควบคุมและดูแลราคาสินค้าไม่ให้มีการฉวยโอกาสปรับราคาเกินจริง

Related Posts

Send this to a friend