ASEAN

ผู้นำ “ไทย” “เมียนมา” ร่วมหารือแก้ปัญหาสถานการณ์ในรัฐยะไข่ และผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา

นายกรัฐมนตรี หารือ นางอองซาน ซูจี ก่อนการประชุมระดับผู้นำอาเซียน เสนอแนวทางช่วยเหลือเมียนมาแก้ปัญหาสถานการณ์ในรัฐยะไข่ และการส่งกลับผู้ล้ภัยชาวโรฮิงญาจากบังคลาเทศ ซึ่งเมียนมาเตรียมทำบัตรประจำตัวให้ชาโรฮิงญาเป็นการยืนยันตัวตน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้หารือทวิภาคีร่วมกับ นาง อองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐเมียนมา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของปัญหาแรงงาน หรือผู้ลี้ภัย ผ่านความร่วมมือของประเทศทั้งสองประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่ามีความราบรื่น ทำให้สามารถร่วมกันแก้ปัญหาต่างๆ ได้จนประสบความสำเร็จด้วยความเชื่อมั่นและจริงใจระหว่างกัน

สำหรับการประชุมระดับผู้นำอาเซียนที่กำลังเกิดขึ้น นางสาว บุษฏี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอาเซียนเห็นชอบรายงานการแก้ปัญหาในรัฐยะไข่ ที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียนได้ลงพื้นที่ไปติดตามแนวทางการช่วยเหลือเมียนมา และจะเสนอให้ที่ประชุมระดับผู้นำอาเซียนได้พิจารณาร่วมกัน เป็นรายงานฉบับแรก เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งกลับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาจากบังคลาเทศกลับเมียนมา ทั้งมาตรการ ระยะสั้น ด้านที่พักอาศัย การประกอบอาชีพ และระยะยาวในการดูแลด้านมนุษยธรรม ซึ่งอาเซียนพร้อให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ แต่ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ไม่ได้หารือเรื่องการอพยพของชาวโรฮิงญาจากรัฐยะไข่เมียนมา และบังคลาเทศ ที่ได้ส่งผลกระทบทั้งไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และอินเดีย

ขณะที่ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ถูกจับตาจากทั่วโลกถึงบทบาทของอาเซียนในการเข้าไปแก้ปัญหาสถานการณ์ในรัฐยะไข่ โดยเฉพาะการส่งกลับผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา จากบังคลาเทศกลับมายังเมียนมา ซึ่งที่ผ่านมามีความพยายามหลายครั้งแต่ไม่ลุล่วง อาเซียนได้พยายามส่งเสริมให้มีการพบปะหารือกันเพื่อกำหนดเวลากันให้ชัดเจน

โดยทีมของเลขาธิการอาเซียนได้ไปดูพื้นที่ ความพร้อมของเมียนมาที่จะรับกลับ ซึ่งต้องพิจารณาควบคู่กันทั้งความปลอดภัยและ วิถีชีวิต และการยอมรับ สถานะของชาวโรฮิงญา ซึ่งเมียนมาได้ให้น้ำหนักเรื่องเหล่านี้ โดยจะมีการออกบัตรประจำตัว หรือ ไอดีการ์ด เพื่อให้สามารถทำมาหากินได้ด้วย โดยทางเมียนมาจะออกไอดีการณ์ผู้ที่กลับจากค่ายอพยพ ซึ่งถือเป็นก้าวแรกในการยอมรับตัวตนของชาวโรฮิงญา ซึ่งอาเซียนพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะเมียนมาทราบดีว่าเป็นที่จับตามองของนานานาประเทศ แต่ที่ยังมีปัญหาเพราะยังไม่มั่นใจเรื่องความปลอดภัย จึงยังไม่สามารถบอกได้เรื่องเวลา

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Send this to a friend