POLITICS

เลขาฯ ป.ป.ส.ลงพื้นที่ มินิธัญญารักษ์ และชุมชนต้นแบบการบำบัด CBTx จ.นครพนม

เลขาฯ ป.ป.ส. นำคณะลงพื้นที่ มินิธัญญารักษ์ และชุมชนต้นแบบการบำบัด CBTx ในจังหวัดนครพนม ชี้ การสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นพลังที่สำคัญในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาเสพติด

วันนี้ (14 มิ.ย. 67) พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) พร้อมด้วย นพ.กิตติเชษฐ์ ธีรกุลพงศ์เวช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพนสวรรค์ ร่วมกับคณะ อาทิ หน่วยบัญชาการสกัดกั้น ปราบปรามยาเสพติด (นบ.ยส.24) ฝ่ายปกครองจังหวัด ตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม ลงพื้นที่บ้านตะวันทอแสง มินิธัญญารักษ์ รพ.โพนสวรรค์ สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จ.นครพนม เพื่อติดตามผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ปฏิบัติการ ปี2567

พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ กล่าวเปิดงาน พูดถึงวัตถุประสงค์ของการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน หรือ CBTx เพื่อบำบัดให้หายขาด ฝึกทักษะการสร้างงานสร้างอาชีพ และส่งคืนกลับสู่สังคม พร้อมพาคณะสื่อมวลชนไปชมห้องที่ใช้ในการบำบัดรักษา และลานทำกิจกรรมของมินิธัญญารักษ์

จากนั้น เลขาธิการ ป.ป.ส. พร้อมคณะ ลงพื้นที่ไปยังหมู่บ้าน/ชุมชน CBTx ที่บ้านกลางจาน ต.โพนจาน อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม เพื่อตรวจเยี่ยมผู้บำบัดยาเสพติด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง พร้อมร่วมพูดคุยให้กำลังใจ

พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ เปิดเผยว่า การแก้ไขปัญหายาเสพติดที่สำคัญ คือการอยากให้ทุกคนที่อยู่ที่นี่เป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ป.ป.ส. เป็นหน่วยงานที่กำกับงานในเชิงนโยบาย จึงอยากให้เห็นการแก้ไขปัญหาในลักษณะนี้ โดยมีภาคีที่เกี่ยวข้อง และชาวบ้านร่วมด้วยโดยมีการพูดคุยตรงปัญหา ตนเชื่อว่าชาวบ้านในละแวกรู้ดีเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด แต่อยู่ที่ว่าจะกล้าพูดหรือไม่ หากเขาไม่มั่นใจ และไม่ศรัทธาในภาครัฐ ก็จะไม่มีการพูดในเช่นนี้ ฉะนั้นการที่ออกมาเปิดอกคุยกันระหว่างภาครัฐ และชุมชน ซึ่งถือเป็นความไว้วางใจในการทำงานให้ความร่วมมือกัน

พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ กล่าวอีกว่า หากการแก้ไขปัญหายาเสพติด เรานั่งทำเพียงแต่ในห้องแอร์ก็ไม่ถือว่าเป็นการแก้ไขปัญหายาเสพติด แม้เรื่องการบำบัดจะเป็นเรื่องเล็ก แต่ตนก็รู้สึกดีที่ได้ช่วย เพราะคำพูดเพียงคำเดียว ที่ไปกระตุ้น และกระตุกให้กลุ่มคนเหล่านี้หลุดพ้นจากยาเสพติด ซึ่งแก้ไขปัญหายาเสพติดจำเป็นที่จะต้องมีสื่อเข้าร่วม และช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

ส่วนขั้นตอนการบำบัดทาง ป.ป.ส. ได้มีการสนับสนุนงบประมาณ โดยจะมุ่งการสนับสนุนตั้งแต่ต้นน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งอยากให้ผู้ที่บำบัดสำเร็จแล้วได้เป็นต้นแบบให้กับผู้ที่ยังคงบำบัดอยู่ แม้ครั้งหนึ่งพวกเขาจะเคยลงผิดเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด แต่เรามีครอบครัวที่ช่วยดึงเราให้หลุดออกมาจากวังวนยาเสพติด

พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ ย้ำว่า ยาบ้ากลัวครอบครัวที่อบอุ่น หากเราอยู่ในชุมชนที่เข้มแข็ง และเมื่อไหร่ที่เราลุกขึ้นมาต่อสู้กับมัน หรือช่วยให้คำแนะนำ โดยโครงสร้างของชุมชนในต่างจังหวัด ไม่เหมือนกับชุมชนในเมืองเพราะชุมชนต่างจังหวัดที่เป็นชนบทสามารถช่วยเหลือกันได้ทุกคนสามารถไปมาหาสู่ต่างจากชุมชนเมืองที่ทุกคนต่างอยู่ต่างอาศัยของใครของมัน

หนึ่งในผู้บำบัด ซึ่งเป็นตัวแทนจากการบำบัดในมินิธัญลักษณ์บ้านตะวันทอแสงกว่า 1 เดือน เปิดเผยว่า ได้หมอช่วยในการบำบัด และให้ยาจิตเวช ตอนอยู่ก็มีความสุข และก็ไม่มีคำว่าอยากกลับไปใช้ยาอีก และขอบคุณทุกคนที่เป็นกำลังใจ ตอนนี้เป็นคนดีแล้ว และบอกว่าตนไม่เอายาเสพติดอีกแล้ว ซึ่งสิ่งที่เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เข้ารับการบำบัด คือ ครอบครัว และลูก เพราะลูกบอกว่าหากเลิกยาเสพติดจะยอมกลับมาหา

ขณะที่เจ้าหน้าที่ อสม. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่ใกล้ชิดกับคนในชุมชนบำบัดมากที่สุด เปิดเผยว่า ในหมู่บ้านมีเจ้าหน้าที่อสม. 12 คน โดยทั้งหมดสามารถดูแลลูกบ้านได้ 10-15 ครัวเรือน ซึ่งอสม. เป็นผู้ใกล้ชิดในครัวเรือนแต่ละหลังมากที่สุดและเป็นผู้ที่ทราบว่าครัวเรือนใดมีทั้งผู้เสพ ทั้งเจ้าหน้าที่อสม.จะมีการนำข้อมูลหากพบว่ามีผู้เสพในหมู่บ้านให้กับเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเตรียมสถานที่รองรับสำหรับผู้ที่เข้ารับการบำบัดในมินิธัญญารัตน์

พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า วันนี้พาสื่อมวลชนมาลงพื้นที่ชุมชนซึ่งเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยจะเห็นว่าการแก้ไขปัญหายาเสพติดหากต่างคนต่างทำ และแยกส่วนกันทำ ก็จะไม่สามารถแก้ไขได้ ซึ่งตนพูดอยู่เสมอว่าปัญหายาเสพติด ถ้าสุดท้ายแล้วถ้าเราสร้างครอบครัวให้อบอุ่นหรือสร้างชุมชนให้เข้มแข็งก็จะทำให้คนในชุมชนขับเคลื่อนให้เกิดการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ เพราะพวกนี้จะรู้ว่าพื้นที่หรือบ้านหลังใดเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด หากภาครัฐออกมา และพูดคุยกับชุมชนทำให้ชุมชนเกิดความศรัทธา และเชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหายาเสพติดก็จะแก้ไขปัญหาร่วมกับภาครัฐได้

ปัญหายาเสพติดเป็นของภาครัฐแต่ต้องใช้ชุมชนร่วมด้วยบ้านตะวันทอแสงหรือ มินิธัญญารัตน์เหมือน บ้านสำหรับผู้ที่สมัครใจเข้ารับการบำบัดโดยจะมีหมอ เข้ามาดูแลทั้งอย่างให้ญาติพี่น้องที่เข้ารับการบำบัดได้รับกำลังใจที่ดีจากทั้งชุมชนและครอบครัวเพราะหากได้รับกำลังใจจะทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดผลยาเสพติดได้นี่คือจุดมุ่งหมายหลักของรัฐบาลที่ต้องการเห็นชุมชนลุกขึ้นมาต่อสู้กับยาเสพติด

ทั้งนี้ภายในชุมชนยังมีฝ่ายการเมือง ที่ผ่านการเลือกตั้งเข้ามาช่วยผลักดันเพื่อทำให้ชุมชนเข้มแข็งตอบผู้ที่ผ่านการเลือกตั้งจะเข้าใจปัญหา และอีกปัจจัย สำหรับผู้ที่ไม่มีการศึกษาและไม่มีงานทำก็อยากให้ช่วยกันให้การศึกษาและให้งานได้ทำเพื่อบุคคลเหล่านี้ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอีก

ด้าน นพ.กิตติเชษฐ์ ระบุว่า เรามีการติดตามผู้บำบัดย้อนหลังสามถึงหกเดือนและ 1 ปี เพื่อดูข้อมูลว่าผู้บำบัดเหล่านั้นกลับไปเสพสารเสพติดอีกหรือไม่ แต่ยอมรับว่าในจำนวนกว่า 80% ก็กลับไปเสพซ้ำอีก แต่ไม่ได้สร้างปัญหากับชุมชน ซึ่งชุมชนเป็นที่รองรับผู้บำบัดของเรา โดยปัจจุบันเราใช้พื้นที่ของสำนักงานที่ดิน ซึ่งจะมีการขอคืนพื้นที่ ทำให้ตอนนี้ต้องมีการเตรียมจัดหาสถานที่ใหม่ที่จะใช้เป็นมินิธัญญรักษ์ โดยเบื้องต้นหากไม่สามารถเจรจาได้จะใช้แผน 2 คือย้ายกลับมาที่โรงพยาบาลโพนสวรรค์ ซึ่งเคยใช้พื้นที่วอร์ดของโรงพยาบาล แต่ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการบำบัดรักษา

อย่างไรก็ตาม พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ ได้รับปากว่าจะช่วยดำเนินการแก้ปัญหาอและหาทางออกในเรื่องนี้ โดยจะแจ้งผลกลับมาให้ทราบภายใน 7 วัน

Related Posts

Send this to a friend