POLITICS

เปิดคำชี้แจง ’สมศักดิ์‘ ต่อแพทยสภา ปมชั้น 14 รพ.ตำรวจ

เปิดคำชี้แจง ’สมศักดิ์‘ ต่อแพทยสภา ปม ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ เตือน กรรมการแพทยสภาคิดให้ดีก่อนลงมติ ยัน ไม่ได้เป็นคนของ ‘ทักษิณ’

วันนี้ (12 มิ.ย. 68) ที่อาคารมหิตลาธิเบศร ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลัง นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรววงสาธารณสุข ในฐานะสภานายกพิเศษแพทยสภา ได้เข้าชี้แจงต่อกรรมการแพทยสภา เป็นเวลา 15 นาที และเดินทางออกจากห้องประชุมได้มีการจัดทำคำชี้แจงฉบับเต็มเผยแพร่ต่อสื่อมวลชน โดยมีเนื้อหา ดังนี้

“อาศัยอำนาจตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะสภานายกพิเศษ มีหน้าที่โดยตรงในการพิจารณาให้ความเห็นต่อมติของแพทยสภา ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญในการค้ำจุนจริยธรรมของวิชาชีพแพทย์ อันเป็นเสาหลักที่ประชาชนใช้ยึดโยงความเชื่อมั่นและไว้วางใจต่อการรักษาพยาบาลในสังคมไทยจริยธรรมทางการแพทย์นั้น มิใช่เพียงข้อบังคับ หากแต่คือแก่นของ
วิชาชีพที่สะท้อนความรับผิดชอบของแพทย์ต่อชีวิต และศักดิ์ศรีของผู้ป่วย

โดยต้องตั้งอยู่บนหลัก 4 ประการ คือ การเคารพเจตจำนงของผู้ป่วย การให้ประโยชน์สูงสุด การไม่ก่ออันตราย และการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
ด้วยเหตุนี้ การให้ความเห็นต่อมติลงโทษแพทย์จึงต้องด่าเนินการด้วยความรอบคอบ ละเอียดอ่อน และยึดมั่นในความเป็นธรรมอย่างแท้จริง ไม่ใช่การเอาผิดเพื่อตอบต่อกระแส แต่ต้องเป็นการตัดสินที่ตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง เจตนา และบริบทของการปฏิบัติงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต

ผมขอเรียนทุกท่านว่า ผมได้ใช้ข้อมูลและข้อเท็จจริงทั้งหมดที่ได้จากการสอบสวนของคณะอนุกรรมการสอบสวนชุดเฉพาะกิจ ซึ่งมีท่าน ศ.เกียรติคุณ นพ.อมรลีลารัศมี เป็นประธาน โดยคณะอนุกรรมการชุดนี้ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างรอบคอบและทุ่มเท ใช้เวลาดำเนินการสอบสวนยาวนานถึง 5 เดือน 5 วันโดยผลการพิจารณาชั้นคณะอนุกรรมการสอบสวบสวนชุดเฉพาะกิจ ปรากฏดังนี้:

1.นพ.วัฒน์ชัย มิ่งบรรเจิดสุข – มีความเห็นยกข้อกล่าวหา

2.พญ.รวมทิพย์ สุภานันท์ – เห็นควรลงโทษในระดับเบา โดยมีมติให้ “ว่ากล่าว
ตักเตือน”

3.พล.ต.ท. นพ.โสภณรัชต์ สิงหจารุ – มีความเห็นว่า “ควรภาคทัณฑ์”

4.พล.ต.ท. นพ.ทวีศิลป์ เวชวิทารณ์ – มีความเห็นชัดเจนว่า “ไม่มีความผิดทาง
จริยธรรม”

แม้กายหลังจะปรากฏว่า เมื่อเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกลั่นกรองและคณะกรรมการแพทยสภาในชั้นสุดท้าย มติที่ออกมา “กลับพลิกผัน” ไปจากผลการสอบสวน โดยมีการลงโทษที่สูงขึ้น ทั้งในรูปแบบของการพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นระยะเวลาหลายเดือน ซึ่งเป็นการตีความที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และยังไม่ปรากฏว่ามีข้อเท็จจริงใหม่เพิ่มเติมที่ต่างจากชั้นสอบสวนแต่สิ่งที่ผมให้ความสนใจเป็นพิเศษ และไม่อาจละเลยได้ก็คือ เหตุใดคณะกรรมการแพทยสภาชุดใหญ่ จึงไม่เห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการสอบสวนดังกล่าว หากไม่มีพยานหลักฐานใหม่เพิ่มเติม หรือเหตุผลที่หนักแน่นเพียงพอ การเปลี่ยนแปลงมติอย่างมีนัยสำคัญในชั้นสุดท้ายเช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีแรงจูงใจอื่นใดที่อยู่นอกเหนือจากข้อเท็จจริงและหลักวิชาชีพมาประกอบในการตัดสินใจหรือไม่
ในระหว่างกระบวนการพิจารณา ผมได้พยายามขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองจริยธรรมถึงสองครั้ง แต่ทางแพทยสภากลับมีความเห็นว่าได้ส่งเอกสารให้ “เพียงพอแล้ว” ซึ่งในมุมมองของผมการไม่เปิดเผยข้อมูลสำคัญเช่นนี้ อาจเป็นผลเสียต่อการใช้ดุลยพินิจและการลงมติอย่างรอบด้านในวันนี้

การลงมติในครั้งนี้ ผมก็คาดหวังว่ากรรมการทุกคนที่มาลงมติจะมิได้เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หากแต่เป็นผู้ที่สามารถคงไว้ได้ซึ่งความเป็นกลาง

ผมขอเน้นย้ำอีกครั้งว่าการพิจารณาเสนอให้ยับยั้งมติในครั้งนี้ มิได้เกิดจากความเห็นส่วนตัวหรือการวินิจฉัยอย่างผิวเผิน หากแต่เกิดจากการใคร่ครวญข้อเท็จจริงอย่างละเอียดรอบด้าน แต่เนื่องจากผมมีความเห็นแตกต่างจากที่ประชุมแพทยสภาจึงนำมาสู่การประชุมในวันนี้ เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้ร่วมกันพิจารณาอีกครั้งด้วยความรอบคอบที่สุด

โดยผมขอชี้แจงเหตุผลการยับยั้งมติดังนี้ครับ กรณี นพ.วัฒน์ชัยฯ (ผู้ถูกร้องที่ 1) ถูกกล่าวหาว่าให้ข้อมูลทางการแพทย์ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงนั้ คณะกรรมการแพทยสภาได้วินิจฉัยโดยรอบคอบและมีมติยกข้อกล่าวหา เมื่อพิจารณาร่วมกับเอกสารและข้อเท็จจริงทั้งหมด ผมเห็นว่ามติดังกล่าวสอดคล้องกับหลักนิติธรรม และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย จึงเห็นชอบตามมติของคณะกรรมการแพทยสภา

กรณี พญ.รวมทิพย์ฯ (ผู้ถูกร้องที่ 2) ถูกกล่าวหาว่าออกใบส่งตัวผู้ต้องขังแรกรับไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ผู้ต้องขังถูกส่งไปรักษานอกเรือนจำ และถูกตีความว่าเป็นการไม่รักษามาตรฐานวิชาชีพเวชกรรม

อย่างไรก็ตาม การออกใบส่งตัวล่วงหน้าในขั้นตอนตรวจร่างกายผู้ต้องขังแรกรับเป็นแนวปฏิบัติปกติในเรือนจำ เพราะเรือนจำไม่ใช่โรงพยาบาล ไม่มีแพทย์ประจำหรือแพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา และเป็นการเตรียมความพร้อมในกรณีที่ผู้ต้องขังมีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาเฉพาะทาง

ในกรณีนี้ แพทย์เพียงอนุญาตให้นำใบส่งตังตัวเดิมไปใช้ตามคำร้องของพยาบาลเวรในภาวะฉุกเฉิน โดยไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจส่งตัวผู้ต้องขัง ซึ่งเป็นอำนาจของผู้บัญชาการเรือนจำพฤติกรรมของ พญ.รวมทิพย์ฯ จึงอยู่ในขอบเขตของวิชาชีพแพทย์อย่างเหมาะสม ไม่ปรากฏเจตนาทุจริต และไม่ควรถือเป็นความผิดทางจริยธรรม

กรณีหมอโสกณรัชต์ฯ (ผู้ถูกร้องที่ 3) ถูกกล่าวหาว่า ให้ข้อมูลทางการแพทย์ไม่ตรงกับความเป็นจริง จากการให้สัมภาษณ์นักข่าวถึงอาการเจ็บป่วยของผู้ต้องขังในโรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งถูกตีความว่าเป็นการสร้างความเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤติ แต่ข้อเท็จจริงคือ หมอโสภณรัชต์ฯ ไม่ได้กล่าวว่าผู้ป่วย “วิกฤติ” แต่อย่างใด คำพูดที่ว่า “ความดันยังสูงอยู่” และ “ยังมีอาการน่าเป็นห่วง” เป็นการอธิบายสภาพ ผู้ป่วยตามเวลานั้นไม่ใช่ข้อมูลบิดเบือน และมีได้ขัดแย้งกับเวชระเบียนในฐานะผู้บริหารโรงพยาบาล ซึ่งมิใช่แพทย์เจ้าของใช้ การตอบคำถามนักข่าวต่อหน้า โดยมิได้นัดหมาย ถือเป็นการให้ข้อมูลตามหน้าที่โดยสุจริต การตีความถ้อยคำ ดังกล่าวว่าเป็นความผิดจริยธรรมจึงไม่เป็นธรรม และไม่ควรใช้เป็นเหตุลงโทษทางวิชาชีพ

กรณี พล.ต.ท. นพ. ทวีศิลป์ฯ (ผู้ถูกร้องที่ 4) ถูกกล่าวหาว่าเขียนใบแสดงความเห็นแพทย์ไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้ผู้ต้องขังได้รับอนุญาตให้นอนพักรักษาตัวต่อในโรงพยาบาล ซึ่งถูกตีความว่าให้ข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง เรื่องนี้ที่ท่านลงโทษหมอทวีศิลป์เพราะว่ามีการลงความเห็นการรักษาแพทย์ที่ไม่ตรงกัน ความเห็นที่ไม่ตรงกันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในการใช้ดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งข้อเท็จจริงจากการสอบสวน ความเห็นในในใบแสดงความเห็นแพย์ของหมอทวีศิลป์ฯ ไม่มีข้อความส่วนใดเป็นเท็จ แต่ข้อความที่ถูกลงโทษเกิดจากความเห็นแพทย์ที่มีความเห็นไม่ตรงกัน

ความเห็นของแพทย์ที่มีลักษณะดูแลแบบองค์รวม ไม่ไม่ได้มุ่งหมายเสพาะโรคใดโรคหนึ่ง หากจะมีความแตกต่างกัน ก็ไม่ควรจะถือว่าความเห็นเหล่านั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เรื่องนี้แม้แต่คณะอนุกรรมการสอบสวน ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี ก็ยังมีการสรุปความเห็นมาก่อนแล้วว่า กรณีหมอทวีศิลป์ไม่ควรเป็นความผิด

การวินิจฉัยเช่นนี้ก็รับฟังได้ มีเหตุผลท่านกรรมการแพทยสภาทุกท่าน,การตัดสินว่าการกระทำใดละเมิดจริยธรรมหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจาข้อเท็จจริง เจตนา และบริบทโดยรอบ ไม่อาจใช้หลักเกณฑ์ตายตัว หากเราต้องการรักษาจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ให้มั่นคงและเป็นธรรม ต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ ความเมตตา และความกล้าหาญที่จะตัดสินโดยปราศจากอคติ

ท่านทั้งหลายรู้สึกไหมว่าในเวลานี้มีผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มจะเชื่อว่าการลงโทษหมอสามคนนี้ เป็นการ “ตีวัวกระทบคราด”ท่านอดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับประเทศภายใต้กระบวนการยุติธรรม และเหลือโทษจำคุกเพียง 1 ปี เมื่อเดินเข้าเรือนจำ ท่านก็ได้รับการตรวจร่างกายเบื้องต้น

ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้กับผู้ต้องขังแรกรับทุกคน โดยมีเป้าหมายเพื่อประเมินสุขภาพและความจำเป็นในการรักษา ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันกับผู้ต้องขังรายอื่นเพียงแค่ผู้ป่วยอย่างอดีตนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง ได้รับการส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพรองรับการรักษาเฉพาะทางตามความจำเป็น กลับกลายเป็นเหตุให้แพทย์ 4 คนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาในห้วงเวลาดังกล่าว ต้องถูกตั้งข้อกล่าวหาว่าประพฤติผิดจริยธรรม ทั้งที่กระทำไปด้วยความรับผิดชอบในวิชาชีพ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย เท่านั้นหรือ

พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 33 บัญญัติให้การคุมขังในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่เรือนจำ หรือ House Arrest เป็นหนึ่งในวิธีการการคุมขัง ที่ใช้แนวคิด บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน ซึ่งแสดงความเห็นถึงความจำเป็นในการใช้ทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่เรือนจำ เพื่อคุมขังผู้ที่ไม่ใช่ผู้ต้องขังอุจฉกรรจ์ อันเป็นนโยบายการลงโทษที่ก้าวหน้าและเป็นทิศทางที่สำคัญที่จะมีต่อไปในกระบวนการยุติธรรม

แต่หากมีการลงโทษหมอรักษาคนในกรณีนี้ จะมีส่วนสำคัญที่จะเป็นอุปสรรคต่อแนวคิดการบริหารงานราชทัณฑ์และกระบวนการยุติธรรมในภาพรวม ผู้ที่ได้รับผลกระทบไม่ใช่แค่แพทย์สามท่าน แต่คือทุกคนในสังคมและผมเองไม่อยากเห็นวันที่เราคนใดคนหนึ่งจำเป็นจะต้องถูกส่งตัวไปรักษา หรือคุมขังนอกเรือนจำหรืออยากจะใช้ House Arrest ที่ผมได้กล่าวถึง … แต่มันไม่มีเพราะเรื่องที่เราทำกันในวันนี้ กรรมการหลายท่านในวันนี้ อาจมีความเชื่อในใจว่า ผมมาอธิบายเพื่อปกป้องอดีตนายกรัฐมนตรี แต่วันนี้ ผมมาในฐานะ ‘คนนอก’ คนหนึ่ง ที่มาปกป้องเพื่อนร่วมวิชาชีพของท่าน พี่น้องของท่าน และลูกหลานของท่าน และผมอยากฝากคำถาม 3-4 ข้อ ให้กรรมการทุกท่านค่อยๆช่วยกันคิดนะครับ

1.การตัดสินใจของเราในวันนี้ จะสร้างบรรทัดฐานอะไรให้กับวงการแพทย์ในอนาคต? เราจะทำให้แพทย์เก่งๆ อีกหลายคนไม่กล้าตัดสินใจใจในภาวะวิกฤตที่ต้องเลือกระหว่างความเสี่ยงเพื่อช่วยชีวิตคนใช้ให้ดีที่สุด กับความปลอดภัยของต้าเอง เพราะต้องกลัวถูกลงโทษอย่างรุนแรงหรือไม่? เรากำลังสร้าง วัฒนธธรรมแห่ง”ความกลัว’ แทนที่จะเป็นวัฒนธรรมแห่ง ‘ความตั้งใจสูงสุดในการดูแลผู้ป่วยหรือเปล่าครับ?”

2.ในฐานะกรรมการผู้ทรงเกียรติ หากในอีก 5-10 ปีข้างหน้า มีบริบททางสังคมเปลี่ยนไป และสังคมมองย้อนกลับมาว่าการตัดสินใจของเราในวันนี้คือ ‘ความผิดพลาดครั้งประวัติศาสตร์’ ของวงการแพทย์ เป็นการลงโทษที่เกิดจากอคติในใจ ไม่ใช่เพื่อจรรยาบรรณอย่างแท้จริง… เราจะอธิบายต่ออนุชนรุ่นหลัง และต่อมโนธรรมของตัวเองว่าอย่างไร ว่าเราได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้วจริงหรือไม่?”

3.ผมขอถามความรู้สึกจากใจจริงของทุกท่าน… มีแม้แต่เพียง “เสี้ยวหนึ่ง’ ในใจของท่านหรือไม่ ที่รู้สึกว่า “อาจมีบางอย่างไม่ถูกต้อง’ ในกระบวนการนี้? มีความลังเลแม้เพียงเล็กน้อยหรือไม่ว่า โทษที่เรากำลังจะมอบให้ มัน ‘รุนแรงเกินไป’ เมื่อเทียบกับเจตนาและข้อเท็จจริงทั้งหมด? หากมีความรู้สึกนั้นแม้เพียงนิดเดียว มันไม่ได้กำลังบอกเราหรอกหรือ ว่าเราควรหยุดทบทวนอย่างจริงจัง ก่อนที่จะทำลายชีวิตของเพื่อนร่วมวิชาชีพคนหนึ่งไปตลอดกาล?”

4.สุดท้ายนี้ ผมอยากขอให้ทุกท่านลองจินตนาการว่า ถ้าเหล่าแพทย์ที่ท่านกำลังจะลงโทษนั้นไม่ใช่คนอื่น แต่เป็น ลูกหลานของเราหรือเป็นตัวเองในวันที่อ่อนประสบการณ์ที่สุด…. เระยังคงยืนยืนยันในบพลงโทษที่รุนแรงเช่นนี้หรือไม่? เราจะต้องการคณะกรรมการที่พิจารณาจากข้อเท็จจริงอย่างรอบด้านและ ‘ให้ความเมตตา’ หรือต้องการคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ตัดสินอย่าง ‘เย็นชา’ โดยมีปัจจัยภายนอกชี้นำ!เดียวกับที่เราอยากจะได้รับหรือไม่?

ในการประชุมวันนี้ ขอให้พวกเราช่วยกันตัดสิน ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งไม่ใช่ในฐานะกรรมการเพียงอย่างเดียว ผมเชื่อเสมอว่า ความเมตตาไม่ใช่ความอ่อนแอ แต่คือความยุติธรรรมในรูปแบบที่สูงที่สุด”

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat