กมธ.มั่นคงฯ เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงแนวทางแก้แม่น้ำกก
กมธ.มั่นคงฯ เรียก กรมทรัพยากรน้ำ – ทบ. – สมช. สมช. – หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แจงทางแก้แม่น้ำกก ชี้ พร้อมทำฝายดักตะกอน ด้าน กต. ยัน เมียนมา – จีน พร้อมให้ความร่วมมือ ขอรายชื่อบริษัททำเหมือง
วันนี้ (5 มิ.ย. 68) ในการประชุมคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ โดยมีนายรังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เป็นประธานในการประชุม เพื่อพิจารณาปัญหาผลกระทบข้ามแดนที่มีความเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านที่ส่งผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่ชายแดนไทย กรณีการพบสารปนเปื้อนในแม่น้ำกก แม่น้ำสาย และแม่น้ำโขง โดยได้เชิญ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งติดภารกิจ ไม่สามารถมาได้ จึงส่งตัวแทนมา, กรมทรัพยากรน้ำ, สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงศ์พันธุ์ กาญจนการุณ, สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ, กระทรวงการต่างประเทศ, สำนักงานทรัพยากรน้ำ , สำนักงานจังหวัดเชียงราย, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกองบัญชาการกองทัพบก เข้ามาให้ข้อมูล
ตัวแทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ชี้แจงว่า ขณะนี้เรามีการตรวจระดับสารพิษในร่างกายประชาชนคือติดตั้ง เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ตั้งศูนย์บัญชาการส่วนหน้าทำงานระหว่างจังหวัด ในส่วนมาตรการเชิงรุก เห็นตรงกันว่าทำฝายดักตะกอน แต่สารหนูที่ตกตะกอน อาจะต้องทำเพื่อลดความรุนแรงสารหนู และมีการแหล่งน้ำดิบอื่นที่ใช้แทนแม่น้ำกกด้วย อย่างไรก็ตาม มีการตั้งคณะทำงานเพิ่มเติม ในการเจรจาเมียนมา รวมทั้งจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม สร้าวความรู้ความเข้าใจและแจ้งเตือนประชาชน
ส่วนมาตรการบริหารจัดการมีกลไกคณะอนุกรรมการ และมีการแถลงข่าวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยภาพรวมในระยะถัดไปให้กรมทรัพยากรน้ำเร่งออกแบบฝายดักตะกอน ที่จะเริ่มที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งลดความรุนแรงในแม่น้ำได้ ดักที่ต้นทางเน้นที่การเจรจา และมีมาตรการเชิงรุกและเฝ้าระวัง
ส่วนเรื่องการทำแผนระยะสั้น ทำฝายดักตะกอนชั่วคราว สามารถทำได้ไม่เกิน 3 เดือนต่อจุดใช้วัสดุกล่อง และตัวกลางดูดซับ แต่ละจุดดักตะกอน โดยจากการดูภาพถ่ายทางดาวเทียมแล้วนั้น จะต้องมีการสร้างในจุดที่มีทางเข้าสะดวก ซึ่งตั้งไว้ 10 จุด โดยปริมาณความเข้มของสารหนูจะเข้มมากในฤดูแล้ง แต่ในฤดูฝนทางนั้นมีน้อยกว่า ทั้งนี้ การสร้างฝายจะใส่ชีทไพล์ ซึ่งสร้างเสร็จใน 3 เดือน มีบ่อพักตะกอนดูดมาพัก มี Geotech ใช้แผ่นนี้ปูขึ้นมา แล้วค่อยนำไปฝังกลบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พงศ์พันธุ์ ระบุว่า การทำฝาย ติดขัดเรื่องกฎหมาย ฝายถาวรมีปัญหาในการขออนุญาตก่อสร้าง ส่วนการออกแบบฝากดักตะกอน จะมีตะกอนดิน และทราย ซึ่งจะติดกับดินหลัก จึงควรมีฝายดักตะกอนทรายก่อน และมีอ่างดักดินข้างหลัง หากทำบ่อเดียวค่าบำรุงรักษาจะแพงมาก ฝายที่เสนอมาก็ดี ซึ่งประชาชนเกิดคำถามว่าใช้น้ำกกได้ไหม โดยอาจสร้างไม่ทันในรอบนี้ จึงเสนอให้ฝายไม้คอกหมู
ทั้งนี้ ยังเสนอทำฝายประยุกต์ แบบฝายคอกหมู เน้นสร้างเพื่อดูประสิทธิภาพในการดักตะกอนเร่งด้วน กระทบต่อกฎหมาย รื้อถอนง่ายเร็ว มีผลกระทบทางด้านเหนือ และทางน้ำน้อยที่สุด ประหยัดงบในการก่อนสร้าง เปิดทางเดินเรือได้
ส่วนเทคนิคการบำบัดมีการใช้เทคโนโลยี Solidification/Stabilization เพื่อควบคุมการชะล้างของสารหนู ใช้พืชน้ำ ใช้เทคโนโลยี ใช้ดินเบนโทไนต์ที่ปรับปรุงด้วยแลนทานัม ในการบำบัดสารหนูในตะกอน
นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส. ระยอง พรรคประชาชน ตั้งคำถามว่า งบประมาณที่ตังไว้ จะใช้งบประมาณอะไร และที่น้ำนิ่งจะทำให้มีสารปนเปื้อนกว่าเดิม และจะรับแรงน้ำได้หรือไม่ ผลการบำบัดจะดีขึ้นอย่างไร และหลังจากนั้นจะมีการจัดการอย่างไร ต่อ อยากได้การจัดการทั้งระบบ เพื่อดูความคุ้มค่า รวมถึงบทเรียนของการทำฝาย ทั้งเสนอแนะพื้นที่บำบัด ประสานไปยังโรงงานโรงบำบัดแล้วหรือไม่ว่าพื้นที่พร้อมระบบบำบัดปนเปื้อนสารหนูมีกี่ตัน
ด้านนางสาวพรรณิการ์ วานิช ตั้งคำถามว่า ประสิทธิภาพของฝายคลิตี้ มีอนุภาคไมครอน ไมครอนหรือไม่ อยากรู้ว่าของแม่น้ำกกอนุภาคไหน งบประมาณเพียงพอในการจัดการสารปนเปื้อนต่อเนื่องหรือมีและขอเสนอแนะว่าการ การจัดทำฝายดักตะกอนถ้าไม่จัดการต้นทาง ก็ประสิทธิภาพลดลงเรื่อว ๆ ต่องทำความเข้าว่าการทำฝายเป็นการแก้ที่ผลายเหตุ ถ้าไม่จัดการที่ต้นทาง ก็จะแก้ไม่ได้
กรมทรัพยากรน้ำ ชี้แจงว่า งบประมาณต่อจุด 7 แสนบาท รวมในเรื่องของวัสดุต่าง ๆ ด้วย ซึ่งน้ำชันมาก ไหลแรง จึงต้องใช้โครงการที่แข็งแรงยันน้ำหนัการไหลของน้ำ และต้องเจาะชีทไพล์ ส่วนงบ 300 ล้านคืองบต่อปีในการเคลื่อนย้าย ฝังกลบ และฤดูฝนทำฝายไม่ได้ เพราะน้ำเยอะ ซึ่งสารหนูก็เจือจาง แต่เมื่อเข้าฤดูหนาว น้ำลดลง ก็จำสามารถทำได้ ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มได้ในเดือนพฤศจิกายน หากเห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว โดยจะเริ่มต้นทำ 4 จุดก่อน ใช้เวลาจุดละ 3 เดือน วงเงินงบประมาณเป็นเพียงแค่กรอบ และยังไม่ได้มีการลงพื้นที่จริง ระเบียบทุกอย่างต้องเป็นไปตามกรมบัญชีกลาง
ศาสตราจารย์ ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ ตั้งคำถามถึงกระทรวงการต่างประเทศ ว่า การแก้ไขปัญหาระยะยาวจนวันนี้กระทรวงการต่างประเทศมีนโยบายในการใช้กฎหมายระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาระยะยาวหรือไม่ โดยมีข้อตกลงระหว่างประเทศที่ไทยสามารถทำได้ ที่จะร้องเรียนทั้งอาเซียน และสหประชาชาติเกี่ยวกับเมียนมา และจีนที่ไม่ดูแลสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศและบริษัทของคุณ
กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า ที่ผ่านมาเรามีการสื่อสารกับทั้งสองประเทศในทุกสถานการณ์ และทุกโอกาส ซึ่งปัจจุบันทั้งสองประเทศรับทราบแล้ว และแสดงความพร้อมที่จะร่วมมือกับไทยในการแก้ไข ทางจีนก็ขอรับข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติมส่วนขั้นตอนต่อไปทางเมียนมา กระทรวงการต่างประเทศอยู่ในระหว่างการประสานงานซึ่ง รองนายกฯ ประเสริฐ ได้ลงพื้นที่ไปกำหนดวัน และต้องขอข้อมูลเพิ่มเติมจริง ขอข้อมูลเพิ่มเติมรายชื่อบริษัทต่าง ๆ ที่สงสัยว่าไปลงทุนทำเหมืองอยู่ในเมียนมา ซึ่งได้ส่งข้อมูลไปแล้วเป็นสถานะปัจจุบัน
ส่วนการใช้กฎหมายระหว่างประเทศในการจัดการเรื่องนี้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง โดยมีหลักการป้องกันเราต้องออกมาตรการป้องกันให้กิจการใด ๆ ที่อยู่ภายใต้เขตอำนาจของรัฐเกิดความเสียหายต่อกลไกการบังคับใช้เรื่องนี้ต้องไปศาลเพื่อตัดสิน ซึ่งหากตกลงกันได้แล้ว ไม่ต้องไปขึ้นโรงขึ้นศาลจะดีที่สุด ซึ่งในกรณีนี้ทั้งสองประเทศก็แสดงความพร้อมในการร่วมมือกับไทย
ส่วนกรอบระยะเวลาการพูดคุยกับเมียนมา จะทำภายในเดือนนี้ ซึ่งจะพูดคุยกับทีมงานที่เกี่ยวข้องส่วนจีนสิ่งที่เราขอความร่วมมือไปคือช่วยดูว่าบริษัทที่ลงทุนทำหรือไม่ และช่วย หรือบังคับใช้ก็ตามที่ทำให้บริษัทเหล่านั้น ประกอบกิจการด้วยความรับผิดชอบมากขึ้นได้หรือไม่ และคิดว่าน่าจะทำให้มีความคืบหน้าในเรื่องนี้ได้เป็นการลงพื้นที่สำรวจร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่าย โดยกระทรวงการต่างประเทศ ก็ตอบรับ และเห็นว่าเป็นแนวทางที่สามารถทำได้
ตัวแทนจากกองทัพบก ชี้แจงว่า กองกำลังของว้ามีความพร้อมด้านยุทโธปกรณ์ และกองกำลัง ซึ่งต่างจากกองกำลังที่สู้รบกันอยู่กับรัฐบาลเมียนมาตามแนวชายแดนแม่สอด หรือแนวชายแดนอื่น ๆ โดยในพื้นที่ว้าใต้ติดชายแดนไทย ซึ่งรายได้หลักของกลุ่มนี้เริ่มจากยาเสพติด โดยจุดนี้เป็นพื้นที่ที่เราจับยาเสพติดได้มากที่สุด และหลังจากนั้นก็มีเรื่องเหลืองโดยการที่เราพิสูจน์ทราบ เราได้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมร่วมกับจิสด้า และกระทรวงการต่างประเทศได้มีการเรียกประชุม ก็ยืนยันว่า เมื่อพิสูจน์ทราบลงไปลึก ๆ จะรู้ว่าเป็นเมืองอะไรให้เขาบอกเมืองทองคำ แต่มีแร่แรร์เอิร์ธ แร่อื่น ๆ วันนี้กองทัพบก หน่วยงานความมั่นคง ต้องใช้หน่วยข่าวกรองสืบทราบ เพราะการเจรจาพูดคุยกับจีนต้องมีหลักฐานยืนยันว่ามีบริษัทจีน และต้องไปดูว่าเป็นการลงทุนแบบบริษัท หรือสัมปทาน ซึ่งต้องไปพิสูจน์ข้อมูลเหล่านี้
กองทัพบกเริ่มจากคณะกรรมการชายแดนท้องถิ่นหรือ TBC ภายหลังเกิดการร้องเรียนกองทัพบกได้อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ทางการส่งเสริมด้านวิชาการ ช่วยจัดประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงสถานการณ์ตามพื้นที่ ทั้งนี้ มีการใช้ช่องทางทางการทูตด้วย และจากการประชุมกับกระทรวงการต่างประเทศ เรื่องนี้ค่อนข้างละเอียดอ่อน ในประเทศของเรา มักจะมีคำว่าจีนเทา เมืองจีน ตึกจีนถล่ม ซึ่งทางต่างประเทศพยายามให้ชัดเจน และจะได้พูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์ ตอนนี้ความขัดแย้งเยอะ การทำเหมืองนั้น รายได้ดี หากทำอย่างถูกต้อง ซึ่งกองกำลังว้า ก็มียุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย ซึ่งเราจะเห็นว่าการสู้รบก็แตกต่างจากในอดีต ดังนั้น หากใช้สันติวิธีได้ก็จะดีกว่า