POLITICS

‘พริษฐ์’ หวังนายกฯ ดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทันเลือกตั้งครั้งหน้า

‘พริษฐ์’ หวังนายกรัฐมนตรี สร้างเอกภาพ ดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทันเลือกตั้งครั้งหน้า ขอผ่านด่านแรกประชุมรัฐสภา 14-15 ม.ค.นี้

วันนี้ (3 ม.ค. 68) นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์กับ The Reporters กรณีเผยถึงข่าวดีที่ประธานรัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา บรรจุร่าง พ.ร.บ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ในประชุมรัฐสภา ในวันที่ 14-15 มกราคม 2568 นี้

นายพิริษฐ์​กล่าวว่า นับเป็นข่าวดีที่จะมีการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้ความคืบหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลชุดนี้จะล่าช้า จากเดิมที่จะมีการทำประชามติ 3 ครั้ง และแนวโน้มการจัดทำฉบับใหม่ไม่มีทางทันการเลือกตั้งครั้งถัดไป แต่หลังจากตนเองได้พยายามใช้เวลาในช่วงปลายปี 67 หาช่องทางเพื่อลดการทำประชามติจาก 3 ครั้ง มาเป็น 2 ครั้ง ซึ่งจะช่วยลดงบประมาณกว่า 3,000 ล้านบาท ก็ดีใจที่ทุกฝ่ายเห็นด้วย และประธานรัฐสภา นัดประชุมในวันที่ 14-15 ม.ค.นี้ หากเป็นไปตามขั้นตอนประชาชนจะมีโอกาสเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทันการเลือกตั้งครั้งหน้า

“ผมมองต่างจากประธานรัฐสภาก่อนหน้านี้ที่ให้ทำประชามติ 3 ครั้ง ผมจึงใช้เวลาช่วงปิดสมัยประชุมไปรวบรวมมติใหม่ๆ ทั้งคำวินิจฉันรัฐธรรมนูญ ความเห็น อ.บวรศักด์ อุวรรณโณ และขอเข้าพบประธานศาลรัฐธรรมนูญ​ทำให้ล่าสุด หลังประชุมคณะกรรมการรัฐสภา มีมติเสียงข้างมาก ทบทวนคำวินิจฉัยเดิม และมองว่าการทำประชามติ 2 ครั้งสอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ”

นายพริษฐ์ กล่าวว่า การที่ประธานรัฐสภา บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณา เป็นการปลดล็อคกับดักในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่ต้องจับตาว่า การพิจารณาของ สส.และ สว.จะเป็นอย่างไร

“ตอนนี้ต้องฝ่าด่านแรกให้สำเร็จ เป็นหน้าที่ว่าการกระชุมรัฐสภา วันที่ 14 ม.ค.จะหยิบร่างไหนมาพิจารณา ซึ่งขณะนี้มีร่างของพรรคประชาชน คาดว่าจะมีร่างอื่นมาเสนอเช่นร่างพรรคเพื่อไทย หรือร่างคณะัฐมนตรี”

นายพริษฐ์​ เปิดเผยว่า สำหรับร่างของพรรคประชาชน มีสาระำคัญคือการประชามติ 2 ครั้ง ในครั้งแรกเป็นการสอบถามว่าเห็นชอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ตั้ง สสร.มีจากการเลือกตั้ง 100 % หรือไม่ โดยจะมี สสร.จำนวน 200 คน มาจากแบ่งเขต 100 คน และบัญชีรายชื่อ 100 คน

“พรรคประชาชน ยืนยันในหลักการว่า สสร.ต้องมาจากการเลือกตั้ง 100 % เชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะเห็นด้วยแน่นอน แต่ต้องรอดูว่า พรรคการเมืองอื่นมีท่าที่อย่างไร อย่างปี 64 เคยมีร่างที่เคยผ่านสภาฯ เสียงส่วนใหญ่ก็เห็นชอบ สสร.มาจากการเลือกตั้ง จึงคิดว่าหลักการนี้จะยังคงยึดอยู่”

สำหรับไทม์ไลน์จะทันก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้าหรือไม่ นายพริษฐ์ เปิดเผยว่า ไทม์ไลน์ มี 2 เส้นที่เดินคู่ขนานกันไป จากการที่สภาฯให้แก้ไขเรื่องประชามติที่ต้องทำภายใน 180 วัน ซึ่งอาจจะถึงช่วงกลางเดือนมิถุนายน ระหว่างนี้ จะพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 14 ม.ค. ที่จะผ่านวาระแรก จากนั้นตั้งคณะกรรมาธิการในวาระ 2-3 คาดว่าจะใช้เวลาภายใน 4-5 เดือน ก็คาดหวังให้เสร็จก่อนการแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ จากนั้นก็จะทำให้สามารถทำประชามติครั้งแรกได้ในช่วงปลายปี 2568 ถ้าประชาชนเห็นด้วยให้แก้ไขและตั้ง สสร.มาจากการเลือกตั้ง ในช่วงต้นปี 2569 ก็จะมีการเลือกตั้ง สสร.ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจใช้เวลา 1 ปี คาดว่าในต้นปี 2570 ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะแล้วเสร็จ เสนอประชาชนทำประชาติรอบ 2 ถ้าผ่านก็จะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทันก่อนการเลือกตั้งปี 2570 ได้

“เรามีโอกาสจะเห็นรัฐธรรมนูญใหม่ตามนี้ แต่ขึ้นอยู่กับ พรรคร่วมรัฐบาล และ สว.ด้วย ผมหวังว่าอันนี้ไม่ควรจะเป็นคำถาม เพราะการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะถูกประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการแถลงนโยบายเศรษฐาหรือแพทองธาร ในเมื่อเป็นนโยบายรัฐบาล ควรผูกพัน สส.รัฐบาลทุกพรรค ครม.ควรจะมีร่างประกบ ผมหวังว่า จะไม่เป็นปัญหา”

ในส่วนของ สว. นายพริษฐ์ ยอมรับว่า อาจคาดเดาได้ยากขึ้น เพราะยังไม่เคยเห็น สว.ชุดนี้ลงมติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าดูจากการพิจารณาร่างประชามติ ก็อาจมองว่าคิดอย่างไร ถ้ามองโลกในแง่ดี ก็ต้องรอดู 14 ม.ค. ว่า สว.จะลงมติเช่นไร

“ถ้าเรามีความเชื่อเหมือนสังคมบางส่วนว่า สว.หลายคน มีชุดความคิดคล้ายพรรคร่วมรัฐบาลพรรคหนึ่ง ที่พรรคนั้น เคยมาแถลงข่าวว่าเห็นด้วยกับการจัดทำรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ โดย สสร. ก็หวังว่า สว.จะเห็นด้วยกับพรรคนั้น”

นายพริษฐ์​ กล่าวว่า บุคคลหนึ่งที่จะมีบทบาทสำคัญมากที่จะทำให้ร่าง รัฐธรรมนูญผ่านไปได้คือนายกรัฐมนตรี คนที่อยู่ตรงกลางที่จะมีบทบาทในการแสวงหาเอกภาพ คือหัวหน้ารัฐบาล หวังว่า 11 วันที่เหลืออยู่ ที่รัฐสภา พิจารณาในวาระที่ 1 ในวันที่ 14-15 ม.ค.นี้ อยากเห็นนายกรัฐมนตรี ผลักดันในฐานะการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายเรือธงของรัฐบาล

“สส.และสว.จะเห็นชอบการจัดทำฉบับใหม่หรือไม่ ก็เป็นโอกาสของทุกคนแล้ว ซึ่งยอมรับว่าในทางการเมืองก็ต้องมองแนวทางที่จะถูกคว่ำไว้ด้วย แต่จากที่เคยถูกสบประมาทที่เสนอให้ลดขั้นตอนการประชามติจาก 3 ครั้ง เป็น 2 ครั้งมาแล้ว ผมก้ยังมีความหวังเสมอที่จะเห็นการแก้ไขรัธฐรรมนูญจะผ่านควาเห็นชอบของรัฐสภา” นายพริษฐ์​ กล่าวย้ำ

Related Posts

Send this to a friend