HEALTH

กุมารแพทย์แนะ เตรียมความพร้อมลูกน้อย ช่วยเที่ยวอย่างปลอดภัย ช่วงวันหยุดยาว

ช่วงปลายปีนอกจากอากาศจะหนาวเย็นแล้ว ยังมีวันหยุดยาวหลายช่วง ให้เลือกเดินทางท่องเที่ยว หลายบ้านต่างก็กำลังรอคอยเวลา ที่จะไปท่องเที่ยวกันอยู่ แต่ก่อนจะเดินทางไปไหน นอกจากการจัดเตรียมสัมภาระข้าวของเครื่องใช้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็ก จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมทั้งตัวเองและลูกน้อยด้วย พญ.สิริรักษ์ กาญจนธีระพงค์ กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา ศูนย์สุขภาพเด็ก (Children’s Health Center) โรงพยาบาลนวเวช มีข้อแนะนำดีๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่ในการเตรียมตัวลูกน้อยและครอบครัว เพื่อให้ท่องเที่ยวสนุก ปลอดภัย และประทับใจ

พญ.สิริรักษ์ กล่าวว่า “ 1.เตรียมร่างกาย โดยแนะนำให้เริ่มการเดินทางได้ หลังลูกน้อยอายุครบ 1 ปี เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มรู้เรื่อง และได้รับวัคซีนป้องกันโรคอย่างครบถ้วนเหมาะสมบ้างแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัคซีนไอพีดี ป้องกันปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ รวมถึงวัคซีนป้องกันโควิด (ชนิดไฟเซอร์ฝาแดง ซึ่ง อย.อนุมัติให้ฉีดได้ในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปีแล้ว ทั้งนี้การเดินทางที่ต้องใช้เวลานานๆ หากมีการแวะพักระหว่างทางได้ จะช่วยลดความเหนื่อยล้า ทั้งของคุณพ่อคุณแม่และลูกน้อย แต่ถ้าเดินทางแบบ Long Flight ควรเลือกเวลาเดินทางที่ครอบคลุมช่วงเวลาการนอนของลูกน้อย (อาจพิจารณาการใช้ยาบางชนิด ที่ช่วยลดอาการคัดแน่นจมูก แน่นหูได้ในการเดินทางด้วยเครื่องบิน)

2.เตรียมความพร้อมของลูก และผู้ปกครอง โดยตรวจสอบสภาพอากาศ ของสถานที่ปลายทางที่จะไป เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีฝนตกฟ้าคะนอง อากาศร้อน หรือ อากาศหนาว เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่สามารถจัดเตรียมเสื้อผ้าของตนเองและลูกน้อย ได้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ปัจจุบันมีเสื้อผ้าเด็กที่มีคุณสมบัติสามารถใส่ได้ในทุกสภาพอากาศ ทั้งควบคุมอุณหภูมิและระบายอากาศ ลดความอับชื้นไปได้พร้อมๆกัน ซึ่งเหมาะสมสำหรับการใส่เดินทางในทุกโอกาส และควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี สำหรับเด็กๆมักจะได้รับการตรวจสุขภาพ และพัฒนาการควบคู่ไปกับการรับวัคซีนเป็นประจำอยู่แล้ว ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สบายใจ และอาจขอรับคำปรึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับความพร้อมในการเดินทางของลูกจากกุมารแพทย์ได้ด้วย

3.เตรียมยา เช่น ยากลุ่มไข้ หรือ ยาลดไข้ paracetamol ,ยากลุ่มทางเดินหายใจ หรือยาแก้แพ้,ยาแก้คัดจมูกลดน้ำมูก ยาแก้ไอ ยาขยายหลอดลม น้ำเกลือล้างจมูก (แนะนำชนิดซองละลาย เพื่อความสะดวกในการเดินทาง),ยากลุ่มทางเดินอาหาร เช่น ยาแก้อาเจียน ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ปวดท้อง ขับลม น้ำเกลือแร่แบบผงชงละลาย,ยาหยอดยาทาต่างๆ เช่น ยาหยอดตาแก้แพ้แก้คัน หรือ น้ำตาเทียม ยาทาผื่นแมลงสัตว์กัดต่อย ยาทาแก้แพ้ เช่น สเตียรอยด์ คาราไมล์,ยาเฉพาะโรค โดยเฉพาะในเด็กๆ ที่มีโรคประจำตัว และทางที่ดีควรขอคำแนะนำจากแพทย์ที่ดูแล หรือแพทย์เฉพาะทางก่อนทุกครั้ง

Related Posts

Send this to a friend