CRIME

พบผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุพุ่ง แซงโควิด-19 หลังคลายล็อค คาดสิ้นปีไม่ต่ำกว่า 17,000 ราย

อันตราย​ !! พบผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุพุ่งแซงโรคโควิด-19 หลังคลายล็อค คาดสิ้นปีจะมีไม่ต่ำกว่า 17,000 ราย นักวิชาการ จี้รัฐผลักดันให้เป็นวาระแห่งโลก หลัง WHO ประกาศแผนยุทธศาสตร์ร่วมลดอุบัติเหตุบนท้องถนน 

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ ThaiRSC รายงานจำนวนผู้เสียชีวิตจากอบุติเหตุ จากวันที่ 20 พ.ย.64 จำนวน 10 ราย บาดเจ็บ 639 ราย น้อยละจากเมื่อวาน 19 พ.ย.64 จากคืนลอยกระทง ที่มีผู้เสียชีวิต 36 ราย บาดเจ็บ 2,881 ราย และตั้งแต่วันที่ 14-20 พย.มีผู้เสียชีวิต 304 ราย บาดเจ็บ 17,802 ราย เมื่อรวมจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในปี 2564 ถึงปัจจุบันมีจำนวน 11,730 คน บาดเจ็บ 759,988 คน 

ในขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ 21 พ.ย.64 พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 29 คน ติดเชื้อเพิ่ม 7,006 คน รวมผู้ป่วยสะสม 2,035,718 ราย ตั้งแต่ 1 เม.ย.63 

ขณะที่มูลนิธิศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะไทย พบตัวเลขเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงสุด 62 ราย ในวันที่ 9 พ.ย.64 สูงกว่า ผู้เสียชีวิตจากโควิดจำนวน 61 ราย ในขณะที่ผู้ติดเชื้อมี 6,904 ราย ส่วนผู้บาดเจ็บ 2,842 ราย ซึ่งตัวเลขสูงขึ้นหลังรัฐบาลโดย ศบค.ประกาศคลายล็อคตั้งแต่ 1 พ.ย.64

นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางถนนแห่งองค์การอนามัยโลก WHO เปิดเผยว่า สาเหตุที่จำนวนอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น มาจากการคลายล็อคโควิดอย่างเห็นได้ชัด เพราะจำนวนผู้เสียชีวิตในเดือน พ.ย.สูงขึ้นมาก เทียบกับหลังเดือนมิย.ที่เริ่มมีการล็อคดาวน์ ตัวเลขลดลง และกำลังจะกลับมาเพิ่มขึ้นเหมือนช่วงทุกปี ในเดือน พ.ย.และสูงสุดในเดือน ธ.ค.ถึงปลายปี 

“เดือนเม.ย.63 ตัวเลขน้อยลงเพราะการล็อคดาวน์โควิด เมื่อคลายล็อคก็ขึ้นมาเหมือนเดิม ซึ่งตัวเลขผู้เสียชีวิต โควิด กับอุบัติเหตุ แสดงให้เห็นอันตราจากการใช้รถใช้ถนน เมื่อเทียบกับโรคระบาดโควิดที่แตกต่างกันอย่าเห็นได้ชัด”

นพ.วิทยา เปิดเผยว่า ทั่วโลกโดยองค์การอนามัยโลก ต่างตระหนักถึงอันตรายบนท้องถนน และมองปัญหาอุบัติเหตุในทางระบาดวิทยา ที่ต้องหาทงป้องกันให้ได้มากที่สุด ซึ่งกำหนดใน 3 ปัจจัย คือ คน รถ และ ถนน ซึ่งคน เป็นปัจจัยสำคัญถึงการเกิดอุบัติเหตุสูงถึง 95 % เนื่องจากพฤติกรรมคน ส่วนที่ 2 คือ รถ ที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีการบำรุงรักษา และถนนที่ไม่ได้มาตรฐาน ต่างเป็นสาเหตุที่ทำให้อุบัติเหตุยังเกิดขึ้น

ส่วนปัจจัยตาม ในการจัดการปัญหา ตั้งแต่นโยบาย การสนับสนุนการบริหารจัดการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องยอมรับว่า WHO บอกว่าไทยมีจุดอ่อน เรื่องการบริหารความปลอดภัยทางถนน และจุดอ่อนการบังคับใช้กฏหมาย ซึ้ง 25 ปีแล้วกฏหมายหมวกกันน็อค เป็นผลสะท้อนปัญหา ความอ่อนแอในการใช้กฏหมายของไทย

นพ.วิทยา เปิดเผยว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในปีนี้น่าจะมีประมาณ 17,000 ราย ซึ่งลดลงจากปีที่แล้วเพราะมีการระบาดของโควิด ไม่ได้มาจากการบริหารจัดการของรัฐเลย 

“การบาดเจ็บ ปีละล้านคน พิการ 3-4 หมื่นคน เป็นความสูญเสียที่เกิดขึ้น เป็นแสนล้านบาท เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา เป็นความสุญเสีย เชื่อว่าเกิดจากการล็อคดาวน์ และการควบคุมโควิด ปีหน้าตัวเลขผู้เสียชีวิตอุบัติเหตุจะเพิ่มขึ้น”

“อุบัติเหตุรุนแรงยิ่งกว่าโควิด เพราะต่อเนื่องยาวนานมาเป็นสิบสิบปี โควิดมาแค่ 2 ปี แต่อุบัติเหตุรุนแรงยิ่งกว่า แต่การจัดการสรรพกำลังมาแก้เรื่องอุบติเหตุ เทียบกับโควิด เทียบกันไม่ติด โควิด ตั้ง ศบค.แถลงข่าวทุกวัน ทุ่มเทเงินมหาศาล มี EOC ในทุกจังหวัด แต่อุบัติเหตุไม่มี ทั้งๆที่มีการสูญเสียไม่เฉพาะคนเสียชีวิตหลายหมื่นคน คนเจ็บนับล้านคน คนพิการ 3-4 หมื่นคน นับเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท”

นพ.วิทยา ย้ำว่าสิ่งที่มีการเสนอมาโดยตลอดว่าไทยต้องทุ่มเทกับการบริหารจัดการ ทำถนนให้ปลอดภัย นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการ เชื่อว่าความสูญเสียจะลดลง เช่นหมวกกันน็อค แค่ใบเดียว อาจทำให้ผู้เสียชีวิตลดลง 5,000 คนได้เลย

“การลงทุนเพื่อการป้องกันอบุติเหตุ เทียบกันไม่ติดกับโควิด ถ้าได้รับการเหลียวแล ทุ่มเทการบริหารจัดการ ทำถนนให้ปลอดภัย นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการความสูญเสียจะลดลง เช่นหมวกกันน็อคใบเดียว รับรองเลยว่า การสูญเสียชีวิต จะลดลง 5,000 คนเลย หมวกใบเดียวจะทำให้คนตายลดลง เหมือนการรณรงค์สวมหน้ากากอนามัยป้องกันโควิด ก็ต้องให้สวมหมวกกันน็อค ทำได้เท่านี้ก็ลดการสูญเสีย”

นพ.วิทยา เปิดเผยว่า เมื่อเดือนตุลาคม องค์การอนามัยโลก ประกาศ Global Plan รณรงค์ลดอุบัติเหตุต้องสร้างพฤติกรรมใหม่ New Nornal ให้เหมือนโควิด-19 เช่นต้องสวมหมวกกันน็อค ไม่ขับรถเร็ว ไม่เกิน 30 กม.ต่อชม. ขับรถแบบเว้นระยะห่าง ไม่จี้ ไม่ดื่มแล้วขับ ไม่ง่วงแล้วขับ และ 5 เช็ค ในการเชคสภาพรถให้ปลอดถัย เชื่อว่าหากผสมกันได้ เมืองไทยจะปลอดถัย

“ในแผนป้องกันอุบัติเหตุ 2565-2570 ตั้งเป้าลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุในปี 2570 ให้เหลือ 8,000 คน ถ้าใช้วิธีการเดิมๆ ไม่ได้เข้มงวดบังคับใช้กฏหมาย หรือปรับปรุงถนน ไม่มีทางที่ จะลดจำนวนผู้เสียชีวิตจาก 17,000 คนจะเหลือ 8,000 คนในปี 2570 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศใช้ Global plan ประกาศ 5ยุทธศาสตร์ ให้เดินทางทางเลือก ไม่ใช่แค่ขับรถยนต์ ให้เดิน ขี่จักรยาน มอเตอร์ไซค์เสี่ยง แต่เป็นทางเลือก ประเทศไทยมีมอเตอร์ไซค์ต่อประชากร อันดับต้นๆของโลก มีขนส่งสาธารณะที่ดี ในไทยจะสำเร็จได้เพราะการจัดการ”

นพ.วิทยา ย้ำว่า ความสำคัญที่สุด องค์การอนามัยโลกประกาศไว้เลยว่า เป้าประสงค์ในแผนโลก จะสำเร็จได้ รัฐบาลต้องมอบหมายให้มีหน่วยงาน ที่ทำเรื่องความปลอดภัยทางถนน องค์การนำคือ ศูนย์ถนน ทำยังไงให้มีองค์กรนำ ต้องทำตลอดปี ต้องให้องค์กรนำต้องทำหน้าที่ในการวางแผนหลัก safety system มอบหมายการประสานภาคประชาสังคม แหล่งทุน มาใช้ แหล่งทุน ที่สนับสนุนความปลอดภัยทางถนน อยู่มาก และไทยได้ลงนามในสัตยาบันที่ตั้งป้าลดอุบัติเหตุให้เหลือ 50 % ในปี 2570 จึงอยากให้การแก้ปัญหาอุบัติเหตุ ยึดหลักระบาดวิทยา จะได้แก้ปัญหาตรงจุด ลดการสูญเสียทั้งชีวิตประชาชน และการสูญเสียทางเศรษญกิจหลายแสนล้านบาท ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุไว้ด้วยว่า หากลดอุบัติเหตุได้ ถือเป็นครึ่งหนึ่งของ GDP ที่จะช่วยทำให้สถานะทางเศรษฐกิจของไทยดีขึ้นด้วย

“ผมอยากให้รัฐบาลผลักดันเรื่องการลดอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นวาระแห่งโลก ที่ไม่ใช่แค่เพียงวาระแห่งชาติ และต้องรีบทำป้องกันการสูญเสียในทุกวินาที” นพ.วิทยา กล่าว

Related Posts

Send this to a friend