KNOWLEDGE

ศศินทร์ เผยการสอนแบบ Mindful Leaders ใช้ ‘สติ’ สร้างผลกระทบเชิงบวกสู่สังคมให้ผู้นำทางธุรกิจ

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management) เผยแพร่ข้อมูล ของ นาย Geert-Jan (GJ) van der Zanden นักวิชาการสถาบันบัณฑิตฯ บริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับการใช้สติ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกสู่สังคม และลดผลกระทบที่เกิดจาก การเติบโตของประชากร และการทำลายสิ่งแวดล้อม ที่จำเป็นต้องอาศัย “การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ” ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้นำใช้สติในการบริหาร

เนื่องจากปัจจุบันเข้าสู่ยุคของการเติบโตทางเศรษฐกิจ แบบผิดปรกติ (perverse economic growth) ซึ่งการเติบโตอยู่ในระดับที่ส่งผลเสียต่อสังคมและโลก ทั้งนี้เราต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่เฉียบขาด หากต้องการเข้าสู่โมเดลของความยั่งยืน ทั้งนี้ ศศินทร์ (Sasin School of Management) ได้พัฒนาทักษะผู้นำโดยใช้หลักปรัชญา“เศรษฐกิจพอเพียง” เช่น กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น ความร่วมมือ และความยืดหยุ่นของทัศนคติ ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน

นาย Geert-Jan กล่าวว่า เมื่อ 100 ปีก่อน จำนวนเด็กเกิดใหม่มีน้อยกว่า 2 พันล้านคน แต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 แต่ก็กล่าวได้ว่าประชากรโลกเพิ่มขึ้น ประมาณ 200,000 คนต่อวัน แน่นอนว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจนี้นำมาสู่ความเจริญที่ยิ่งใหญ่ ให้คนเป็นพันๆล้านได้บริโภคอุปโภค อยู่อาศัยเดินทาง และเกิดการใช้บริการสารพัดรูปแบบ แต่โมเดลการเติบโตทางเศรษฐกิจของเรานั้น อยู่ที่บรรทัดฐานของความเชื่อที่เลื่อนลอยว่า เมื่อคนมากขึ้นการผลิตก็จะมากขึ้น เมื่อบริโภคมากขึ้นก็จะทำให้ GDP เพิ่มขึ้น และความเป็นอยู่ก็จะดีขึ้น แล้วเราก็ได้เรียนรู้ภายหลังว่าโมเดลที่เน้นเฉพาะ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจนั้น จะทำลายต้นทุนทางธรรมชาติ การมองประโยชน์อันใกล้จะทำให้เสียความมั่นคงระยะยาว และทำให้สังคมเกิดความแตกต่างมากขึ้น เราเข้าสู่ยุคของการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบผิดปรกติ

เราสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยต้นทุนของทุนทางธรรมชาติและสังคม เช่น สหรัฐอเมริกาหมดเงิน ประมาณหนึ่งแสนสองหมื่นล้าน-หนึ่งแสนเก้าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ไปกับการรักษาภาวะ burn out และซึมเศร้า เงินที่ใช้รักษาเหล่านั้น ได้ถูกนับรวมไปใน GDP ของประเทศ งบประมาณที่สหรัฐใช้ไปทั้งหมด 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในสงครามอิรัก- อาฟกานิสถานถูกนับเข้าไปใน GDP แต่ความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกนับรวมไปด้วย การเติบโตทางเศรษฐกิจแบบผิดปรกติ นำมาซึ่งผลเสียที่ตามมาต่อสิ่งแวดล้อม เพราะการที่เรานำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ ก็เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กลับคืนสู่อากาศ เราสร้างขยะมากกว่าที่โลกจะรับไหว

ทั้งนี้การประเมินผลกระทบของมนุษย์ต่อโลก มักมีการแสดงเป็นสูตรง่ายๆคือ Impact = Population x Affluence x Technology การเติบโตของประชากรทำให้ Impact ของมนุษย์เพิ่มขึ้น สำหรับปริมาณการบริโภคต่อคนหากใช้ GDP เป็นตัวชี้วัดนั้น เติบโตเกือบ 7 เท่า (PPP) ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นเราฝากความหวังสุดท้าย ไว้ที่เทคโนโลยีได้หรือไม่นั้น ทั้งนี้แม้ว่านวัตกรรมทางเทคโนโลยีบางอย่าง สามารถลดผลกระทบ จากสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ แต่ก็ทำให้ 2 ปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้เพิ่มขึ้น

1.The rebound effect (ผลย้อนกลับ) เมื่อประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น จะทำให้สินค้าราคาลดลง และกระตุ้นให้เราบริโภคมากขึ้น เช่น เมื่อมีเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง เราก็ซื้อมาใช้มากขึ้น หรือเที่ยวบินถูกลงคนก็เดินทางมากขึ้น

2.“Unintended Consequences” (ผลที่ตามมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี)เช่น ข้อดีของเทคโนโลยี มักทำให้เรามองข้ามผลกระทบด้านลบ เช่น เทคโนโลยีใหม่อย่าง 5G สร้างความเหลื่อมล้ำมากขึ้น เนื่องจากการลงทุนในการเข้าถึงเทคโนโลยีนั้น จำกัดเฉพาะประชากรที่มีฐานะ และพื้นที่ประชากรหนาแน่น

3.แนวโน้มที่เราเห็นจากตัวชี้วัดความยั่งยืนนั้น แสดงให้เห็นว่า ไม่เพียงแต่เวลาเราใกล้จะหมดแล้วเรายังไม่สามารถพึ่งพาการเติบโตของอาหาร แหล่งพลังงาน การขนส่ง และระบบโครงสร้างพื้นฐาน เราต้องใช้มาตรการที่เร่งด่วนเท่านั้น ในการเปลี่ยนแปลงสู่โมเดลความยั่งยืน ที่โลกต้องมีนั้น เราต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่เฉียบขาด เปลี่ยนอย่างไรให้ได้ผลการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบนั้นเป็นเรื่องยาก ระบบประกอบด้วยหลายฝ่าย ทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและระบบย่อยที่เชื่อมกันซึ่งมีอยู่ในระดับสังคม สถาบัน วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ เทคนิคและระบบนิเวศ ระบบย่อยเหล่านี้ มักจำกัดอยู่ในการจัดการแบบส่วนใครส่วนมัน กระบวนการที่ขัดแย้งกัน และบทบาทผู้กำหนดนโยบาย และผู้ดูแลระบบที่ไม่ได้ระบุ ความชัดเจนว่าใครทำอะไร ด้วยเหตุผลเหล่านี้แต่ละระบบจึงเป็นเครือข่าย ของการปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อน และอาจส่งผลให้เกิดผลที่เราคาดไม่ถึงได้

ทั้งนี้ “แนวคิด” A 2015 paper ได้พูดถึงการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยเน้นแรงจูงใจแบบภายใน (“intrinsic”) ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับเหตุผลอารมณ์ หรือค่านิยม โดยหนังสือ“Thinking in Systems” โดย Donella Meadows ชี้ให้เห็นถึงจุดที่จะแทรกแซงแนวคิดได้ 3 จุดเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ได้แก่ 1.เมื่อมีการลำดับความสำคัญ และกลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของระบบใหม่ 2.เมื่อมีความคิดที่จะนำไปสู่ระบบใหม่ 3.เมื่อสามารถก้าวข้ามกระบวนทัศน์ ที่มีอยู่ แทนที่จะแค่ปรับเปลี่ยนอะไรที่มีอยู่

สำหรับการสอน Mindful Leaders หรือการใช้ ‘สติ’ สร้างผลกระทบเชิงบวกสู่สังคม ถ้าเรามีความหวังที่จะหยุดการเติบโต ทางเศรษฐกิจที่ผิดปรกติ สถาบันสอนบริหารธุรกิจ ต้องปลูกฝังความคิดทักษะและเครื่องมือ ที่เหมาะสมให้กับผู้นำในอนาคต เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ วิธีที่ศศินทร์กำลังใช้อยู่ คือการสอน Mindful Leaders ให้มี skills 6 อย่าง คือ

1.Contextual curiosity (ความอยากรู้อยากเห็นเชิงบริบท) การถ่อมตนว่า ‘ไม่รู้’ และการคิดวิเคราะห์ เพื่อแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ และการเชื่อมโยงข้อมูลโดยตระหนัก ถึงตัวกรองและอคติต่างๆ ความสามารถนี้ยังรวมถึงความสามารถ ในการเห็น ‘เทรนด์’ ก่อนที่เทรนด์จะชัดเจนและกลายเป็นความจริง

2.Future consciousness (การตระหนักถึงอนาคต)ความสามารถในการจินตนาการถึงอนาคตผ่านการคิดที่แตกต่าง โดยใช้มุมมองและฉากทัศน์ที่หลากหลาย ขณะเดียวกันใช้ความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจคนต่างยุคสมัย

3.Systems range (ขอบเขตของระบบ) มี senseของความรับผิดชอบ ในการเป็นผู้นำและการเอาใจใส่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการบริหารองค์กร ให้มีประสิทธิภาพสูง ผู้นำต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่างๆของระบบ และสามารถคาดการณ์ผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นได้ทั้งผลกระทบที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ

4.Collaborative competence (ความสามารถในการทำงานร่วมกัน) ความสามารถในการสร้างความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสำเร็จ

5.Radical impact agility (ความสามารถในการปรับตัวรับผลกระทบที่เฉียบพลันได้) การมุ่งมั่นในการสร้าง impact แม้ว่าโลกจะเต็มไปด้วยความผันผวน ความซับซ้อน ความไม่แน่นอนก็ตาม ผู้นำที่ใช้ความตั้งใจในการเปลี่ยนแปลง และใช้แนวคิดแบบผู้ประกอบการ ตั้งคำถามอย่างต่อเนื่องและหาทางออกใหม่ๆ เพื่อสร้าง impact และคุณค่าแบบใหม่

6.Purpose (วัตถุประสงค์) การรู้จักตนเอง ความซื่อสัตย์เข็มทิศทางศีลธรรม และความชัดเจนของวิสัยทัศน์ที่จะสร้างแรงบันดาลใจ ให้ผู้อื่นเดินตามไปในทางที่ดีขึ้น Pursuing Sufficiency, Not Excess (ใฝ่พอเพียง ไม่มากเกินไป)

อีกทั้งการสอน Mindful Leadership ของศศินทร์ รวมเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียง“Sufficiency Economy” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2540 พระองค์ทรงใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจในเวลานั้น ในวิสัยทัศน์ของพระองค์การพัฒนาเศรษฐกิจ ควรเป็นแบบองค์รวมแบบค่อยเป็นค่อยไปทั่วทั้งสังคม และเป็นไปอย่างระมัดระวัง และต้องมองการณ์ไกลเพื่อป้องกันความผิดพลาดเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ ในหลายภาคส่วนในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเงิน ที่สามารถเพิ่มความพึงพอใจ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และลดความเสี่ยงและลดต้นทุน

ซึ่งหลักการเศรษฐกิจพอเพียงนั้นได้นำคำสอนของพระพุทธศาสนามาใช้ ได้แก่ 1.Moderation ความพอเพียงทำให้เกิดการจัดการอย่างรอบคอบ 2.Reasonableness ความสมเหตุสมผลขับเคลื่อน 3.Risk resilience องค์กรจะมีความยืดหยุ่น ต่อความเสี่ยงมากขึ้น เมื่อสามารถสร้างทุนทางการเงิน มนุษย์สังคมและชื่อเสียง โดยการใช้ความพอเพียง และหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ ที่ไม่สมเหตุสมผลทฤษฏีของเศรษฐกิจพอเพียง ยังช่วยส่งเสริมคุณธรรมและความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นเสาหลักที่สำคัญในการบริหารคุณภาพ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการแก้ไขวิกฤตปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านความเชื่อใจ การฟอกเขียว และการให้ข้อมูลบิดเบือน เป็นต้น

ผู้นำทางธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถนำหลักธรรมอื่นๆ มาปรับใช้ได้ ตัวอย่างเช่น Bob Thurman อดีตศาสตราจารย์ด้าน Indo-Tibetan Buddhist Studies มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เคยอธิบายความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิด ซึ่งกลายมาเป็นแรงจูงใจด้านความยั่งยืน เช่นการที่เราทำให้สภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติและสังคม เสื่อมโทรมลงนั้นทำให้เราต้องใช้กรรม โดยทำให้เรากลับมาเกิดแบบแย่ลง เราจะสามารถมีโอกาสบรรลุนิพพาน ต่อเมื่อเราทำความดีเพื่อให้โลกดีขึ้น เป็นต้น

Related Posts

Send this to a friend

Thailand Web Stat