EVENT

ครบรอบ 60 ปี งานแสดงช้างสุรินทร์ เน้นการจัดการแสดงวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตคนกับช้าง เตรียมจัดยิ่งใหญ่ระดับโลก

งานแสดงช้างสุรินทร์ถือได้ว่าเป็นงานที่สำคัญของชาติอีกงานหนึ่งเป็นการแสดงออกถึงวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของคนกับช้าง ที่มีมาช้านานจวบจนปัจจุบันยังคงเป็นเมืองที่มีคนเลี้ยงช้างมากที่สุดในประเทศจนได้รับการขนานนามว่าเมืองช้าง 

งานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ในปีนี้ จังหวัดสุรินทร์เน้นการจัดแสดงวัฒนธรรมประเพณี ส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมวิถีชีวิตคนกับช้าง ซึ่งวิถีชีวิต ประวัติการสร้างเมืองและวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์

สำหรับการจัดงานมหัศจรรย์งานช้างสุรินทร์ปีนี้นับเป็นปีที่ 60 ของการจัดงานแสดงช้างสุรินทร์ ซึ่งจังหวัดสุรินทร์เน้นการจัดแสดงวัฒนธรรมประเพณีส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตคนกับช้าง ซึ่งวิถีชีวิตประวัติการสร้างเมืองและวัฒนธรรมของจังหวัดสุรินทร์จะปรากฏในฉากการแสดงช้างที่กำหนดไว้ ทั้งภาคกลางวันและการแสดงประกอบแสง เสียงในภาคกลางคืน จำนวน 9 ฉากหรือ 9 องก์  ประกอบด้วย ฉากการแสดงภาคกลางวัน องก์ที่1 ช้างชูไทย 60 ปีงานช้างสุรินทร์แดสงถึงการพัฒนาการงานแสดงของช้างที่ยิ่งใหญ่ที่ผ่านมากว่า 60 ปี องก์ที่  2 การจับช้างป่าหรือการโพนช้าง ซึ่งเป็นการแสดงของการคล้องช้าง หรือจับช้าง หรือโพนช้างของชาวกูยเลี้ยงช้างในอดีตที่หารชมไม่ได้อีกแล้ว องก์ที่  3 เฉลิมยศ ฉลองเมือง พระยาสุรินทร์ภักดี ซึ่งเมือสมัยอยุธยา หัวหน้าชาวกูยแห่ง หมู่บ้านคูประทาย ชื่อ เชียงปุม และลูกบ้านกลุ่มหนึ่งได้ช่วยขุนนางผู้มียศศักดิ์จากราชสำนักอยุธยาคล้องช้างเผือกที่แตกโรงมาจากพระนครให้กลับคืนไปได้ ต่อมาหัวหน้าชาวกูยผู้นั้นได้รับราชการกับราชสำนักอยุธยา จนได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็นหลวงสุรินทร์ภักดี  และต่อมาได้เลือนเป็นพระยาสุรินทร์ภักดี ศรีณรงค์จางวาง เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองประทายสมันต์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองสุรินทร์ตามนามของพระยาสุรินทร์ภักดีถึงปัจจุบัน  องก์ที่  4 แสดงการละเล่นของช้าง เป็นการแสดงถึงความสามารถของช้างแสนรู้และความน่ารักของช้าง เช่น ช้างเต้นรำ ช้างวาดรูปช้างแสดงความสามารถด้านต่างๆเป็นต้น องก์ที่  5  แสนยานุภาพช้างไทยป้องปฐพี  เป็นฉากที่แสดงความยิ่งใหญ่ของทัพมหากษัตริย์ไทยในอดีตซึ่งใช้ช้างในขบวนทัพ และการทำยุทธหัตถี ที่ยิ่งใหญ่ตระการตา 

และพิเศษในปีนี้ซึ่งเป็นที่ครอบรอบ 60  ปีของงานช้างสุรินทร์ทางจังหวัดสุรินทร์ได้จัดให้มีการแสดงของช้างในภาคกลางคืนประกอบ แสง สี เสียงที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้ภาคกลางวันด้วยฉากการแสดงจำนวน 4 ฉากหรือ 4 องก์ ประกอบด้วย องก์ที่ 1 บูชาเทพแห่งพิฆเนศวร เป็นฉากการแสดงถึงความสำคัญของช้าง องก์ที่  2 กำเนิดหัวเมืองเขมรป่าดง เมื่อปี พ.ศ.2260กลุ่มผู้นําหมู่บ้านกูยที่มีความสามารถในการจับและฝึกช้างป่าอพยพจากเมืองอัตตปือข้ามลำน้ำโขงแล้วเดินทางตามลำน้ำมูลเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่กรุงศรีอยุธยาเรียกว่าเขตเขมรป่าดง โดยแบ่งออกเป็นเป็น 6 สาย และตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ต่าง ๆซึ่งเมื่อมีศึกสงครามก็จะนำช้างไปช่วยทำศึก แสดงถึงขบวนทัพช้างแห่งเอเชียอัคเนย์ในอดีต องก์ที่  3 การจับช้างป่า หรือ การคล้องช้างหรือการโพนช้างของชาวกูยเลี้ยงช้างจังหวัดสุรินทร์ในอดีต  องก์ 4 เฉลิมยศฉลองเมือง พระยาสุรินทร์ภักดี โดยสมัยอยุธยา หัวหน้าชาวกูย แห่ง หมู่บ้านคูประทายชื่อ เชียงปุม และลูกบ้านกลุ่มหนึ่ง ได้ช่วยขุนนางผู้มียศศักดิ์จากราชสำนักอยุธยาคล้องช้างเผือกที่แตกโรงมาจากพระนคร ให้กลับคืนไปได้

มาสคอตจังหวัดสุรินทร์

ต่อมาหัวหน้าชาวกูยผู้นั้นได้รับราชการกับราชสำนักอยุธยา จนได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็นหลวงสุรินทร์ภักดี จากนั้นอีกสามปี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกหมู่บ้านคูประทายขึ้นเป็นเมือง ประทายสมันต์ และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทร์ภักดีเป็นพระยาสุรินทร์ภักดี ศรีณรงค์จางวาง แล้วให้เป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองประทายสมันต์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และองก์ที่ 5 แสนยานุภาพช้างไทยป้องปฐพีการแสดงการทำยุทธหัตถีของพระมหากษัติรย์สมัยโบราณ ซึ่งผืนแผ่นดินไทยดำรงอยู่ได้ด้วยพระปรีชาสามารถแห่งบูรพกษัตริย์ของไทยและ ความสามารถของ คชสาร ที่กู้ชาติ กู้แผ่นดิน ไว้ในอดีตหลายยุค หลายสมัยการศึกสงครามเมื่อ ครั้งอดีต ช้างบ่งบอกถึงแสนยานุภาพอันเกรียงไกร หากผู้ชมและนักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวชมงานแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์แล้วทุกคนจะได้เห็นถึงความสำคัญของช้างที่อยู่คู่กับแผ่นดินไทยมาช้านาน

ชาวสุรินทร์จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป ได้ไปเที่ยวชมการแสดงของช้างครบรอบ 60 ปีของจังหวัดสุรินทร์ ระหว่างวันเสาร์ที่ 21  และวันอาทิตย์ 22 พฤศจิกายน  2563  นี้วันละ 2 ทั้งรอบกลางวันและรอบกลางคืน ที่สนามแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ อ.เมือง จ. สุรินทร์ 

เรื่อง: ธนินท์ทัศน์ ภูแก้ว 

Related Posts

Send this to a friend