ENVIRONMENT

พบลูกวัวแดง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่าง ฤาไน ตายคล้ายติดโรคลัมปีสกิน

เมื่อวันที่ 23 ก.ย. 2564 นายอนุชา กระจายศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) ได้รับรายงานจากนางสาวมัชฌมณ แก้วพฤหัสชัย หัวหน้าศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) จ.ฉะเชิงเทรา รายงานว่าได้รับการประสานจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน แจ้งว่ามีลูกวัวแดงเสียชีวิต จึงเข้าทำการตรวจสอบ พบ

ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 2 (กระบกคู่) จ.ฉะเชิงเทรา ตรวจสอบศพลูกวัวแดงเพศเมีย อายุประมาณ 5 เดือน น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม ผิวหนังทั่วลำตัวมีตุ่มและแผลตกสะเก็ดจำนวนมาก รอยโรคที่ผิวหนังสงสัยว่าเป็นโรคลัมปีสกิน จึงทำการผ่าพิสูจน์ซาก พบตุ่มแผลหลุมบนชั้นผิวหนัง เส้นผ่านศูนย์กลาง ขนาด 1-3 ซม. กระจายทั่วร่างกาย พบต่อมน้ำเหลืองบริเวณโคนขาหนีบด้านซ้าย (ขนาดยาว 7 ซม.) โตกว่าข้างขวา (ขนาดยาว 3 ซม.) เนื้อปอดบางส่วนมีการคั่งเลือด และยังพบจุดเลือดออกขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วขอบม้าม จึงเก็บตัวอย่างเลือดและชิ้นเนื้อ ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจพิสูจน์ยืนยันผลโรคลัมปีสกิน และโรคสำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสาเหตุการตาย

หลังผ่าพิสูจน์และเก็บตัวอย่าง เจ้าหน้าที่ได้ทำการฝังกลบและโรยปูนขาวตามหลักวิชาการ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ

โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) เป็นโรคระบาดตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่สำคัญในโคกระบือ เริ่มแพร่ระบาดในเอเชียตั้งแต่ปี 2562 จากจีนแผ่นดินใหญ่ บังกลาเทศ และอินเดีย ต่อเนื่องมาถึงปี 2563 พบการระบาดในภูฏาน เนปาล ศรีลังกา ฮ่องกง ไต้หวัน เวียดนามและเมียนมา โดยประเทศไทยพยายามติดตามสถานการณ์ในต่างประเทศ และเฝ้าระวังโรคตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ร่วมกับการประกาศชะลอนำเข้าโคกระบือจากเมียนมา

ขณะที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า พันธุ์พืช วางมาตรการการป้องกันต่อเนื่อง ไม่ให้โรคลัมปีสกินระบาดลุกลามสู่สัตว์ป่า โดยสั่งการทุกพื้นที่ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การระบาดอย่าใกล้ชิด

Related Posts

Send this to a friend