ENVIRONMENT

ปี 63 แล้งหนักรอบ 60 ปี ขอประชาชนลดใช้น้ำ 20-30% คุมเข้มการเกษตร ต้นปีน้ำทะเลหนุนสูง คนกรุงอาจต้องใช้น้ำกร่อย

นาย สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ หรือ สสน. สรุปสถานการณ์น้ำ ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม ปี 2562 ปริมาณฝนโดยรวมของประเทศไทยน้อยกว่าค่าปกติ 18% ทำให้ภาพรวมน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศมีน้ำเก็บกักน้อยมาก

ปัจจุบันมีเขื่อนที่มีน้ำน้อยกว่า 30% จ้านวน 9 เขื่อน ประกอบไปด้วย เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำนางรอง เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนทับเสลา เขื่อนกระเสียว เขื่อนคลองสียัด เขื่อนจุฬาภรณ์ และเขื่อนอุบลรัตน์

สำหรับเขื่อนอุบลรัตน์ สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยวิกฤตและปัจจุบันใช้น้ำใต้ระดับกักเก็บไปแล้ว 80 ล้านลูกบาศก์เมตร และอาจต้องใช้น้ำก้นอ่างสำหรับอุปโภค-บริโภคตลอดช่วงฤดูแล้ง จำนวน 160 ล้าน ลบ.ม.

แม้กระทั่งภาคใต้เองปีนี้ก็ยังมีฝนตกน้อยกว่าค่าปกติ น้้าไหลลงเขื่อนทั้งเขื่อนรัชชประภาและเขื่อนบางลาง ยังมีน้ำไหลลงเขื่อนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย โดยเฉพาะเขื่อนรัชชประภานั้นยังมีน้ำต่ำกว่า Lower Rule Curve ซึ่งยังน่าเป็นห่วงว่าภาคใต้เองก็จะเสี่ยงต่อภัยแล้งตามมาด้วยเช่นเดียวกัน

ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา อ่างเก็บน้ำ 4 เขื่อนหลัก ประกอบไปด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนที่สำคัญของลุ่มน้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้ำน้อย โดยปัจจุบันมีปริมาณน้ำใช้การรวมเพียง 4,500 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ฤดูแล้งปี 2562/2563 นี้ มีน้ำไม่เพียงพอต่อ “การสนับสนุนการเกษตร” ซึ่งภาครัฐได้ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรงดทำนาปรัง เนื่องจากจำเป็นต้องเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับ “การอุปโภค-บริโภค” และ “รักษาระบบนิเวศ” ประมาณ 3,500 ล้าน ลบ.ม.

ซึ่งตอนนี้ระบายน้ำตามแผนมาแล้ว 1,200 ล้าน ลบ.ม. ยัง ต้องระบายน้ำมาอีกกว่าจะสิ้นสุดฤดูแล้ง 2,300 ล้าน ลบ.ม. และต้องเก็บน้ำที่เหลือสำรองเอาไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝนปี 2563 จ้านวน 1,000-2,000 ล้าน ลบ.ม. แต่ปัจจุบันเกษตรกรกลับทำนาปรังไปแล้วกว่า 2 ล้านไร่ ท้าให้เกษตรกรสูบน้ำจากคลองชลประทานจนน้ำผลิตประปาไม่เพียงพอ

ซึ่งตามแผนนั้นต้องส่งน้ำผ่านคลองไปให้สำหรับโรงผลิต น้ำประปาดังเช่นที่เกิดขึ้นแล้วในจังหวัดลพบุรี ทำให้ปริมาณน้ำที่ระบายจากเขื่อนในฤดูแล้งปี 2563 นี้ อาจเกิดการสูบน้ำออกไปจากระบบเพิ่มมากขึ้น การประปาหลายแห่งที่ใช้น้ำจากคลองชลประทานอาจเกิดปัญหาขาดน้ำเพิ่มมากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ยังเกิดสถานการณ์น้ำทะเลหนุน น้ำเค็มได้เข้าสู่คลองสาขาของจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตก และสมุทรปราการ ทำให้ต้นไม้ และพืชผลทางการเกษตรอาจได้รับความเสียหายเสียหายจำนวนมาก เพราะพืชสามารถทนค่าความเค็มได้เพียง 2 กรัมต่อลิตร

สสน. มีความกังวลว่าในช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม ความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาอาจจะรุกตัวหนักกว่านี้ อาจกระทบทำให้การประปานครหลวงต้องลดกำลังการผลิตน้ำลง ส่งผลให้น้ำประปาไหลอ่อนลงก็เป็นได้ ซึ่งภาครัฐได้เร่งหาทางเตรียมการรับมือ

ล่าสุดนั้นสามารถคาดการณ์ได้ว่าสถานการณ์ฝน ปี 2563 จะคล้ายคลึงกับ ปี พ.ศ. 2538 ซึ่ง ปริมาณฝนช่วงครึ่งแรกของปี ประเทศไทยยังคงมีฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ย พายุฤดูร้อนอาจจะเกิดได้ไม่มากและฝน อาจจะมาล่าช้าไปจนถึงเดือนมิถุนายน ทำให้จำเป็นต้องพึ่งพาการใช้น้ำจากเขื่อนเป็นหลัก และใช้ไปต่อเนื่องไป จนถึงเดือนมิถุนายน

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่าสถานการณ์ภัยแล้งในปี 63 มีแนวโน้มแล้งหนักและยาวนานกว่าปี 58

โดยรายงานกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ปี 63 ฝนจะมาช้าราวปลายเดือน มิถุนายน – กรกฎาคม และมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปกติ 5-10% ประกอบกับช่วงเดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ จะมีภาวะน้ำทะเลหนุนสูง จำเป็นต้องใช้น้ำต้นทุนมาดันทำให้เกิดการใช้น้ำมากกว่าปกติ และอาจเกิดผลกระทบต่อคุณภาพน้ำในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล บางพื้นที่ (อาจต้องใช้น้ำกร่อย หรือน้ำไหลไม่แรงบางช่วงเวลา)

นอกจากนี้ฝนที่มาช้าและน้อยกว่าปกติ ทำให้จำเป็นต้องดึงน้ำต้นทุนจาก 2 เขื่อนหลัก คือ เขื่อนภูมิพล และ เขื่อนสิริกิติ์ มาใช้รองรับความต้องการอุปโภค – บริโภค ซึ่งอาจมีน้ำไม่เพียงพอต่อทำการเกษตร โดยเฉพาะเกษตรนอกแผน(นาปรัง 63/64 หรือ นาปรังรอบ 2) หากควบคุมการใช้น้ำไม่ได้อาจมีผลกระทบถึงน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค

จากการรวบรวมข้อมูลพบว่ามีพื้นที่เกษตรเสี่ยงขาดแคลนน้ำราว 2.6 ล้านไร่ และพื้นที่เกษตรที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำรุนแรง กว่า 3.7 แสนไร่ ดังนั้น จึงขอความร่วมมือประชาชนทุกภาคส่วน ลดการใช้น้ำลงให้ได้อย่างน้อย 20-30% และต้องเร่งทำความเข้าใจกับภาคการเกษตรเรื่องการงดทำเกษตรนอกแผน

นายกองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ได้เปิดศูนย์เฉพาะกิจรับมือภัยแล้งไว้พร้อมแล้ว

ด้านข้อมูลฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยาก็เผยว่าคาดการณ์ปริมาณฝนในปี 2563 คือตั้งแต่เดือน มกราคม-เดือนมิถุนายน โอกาสฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติในรอบ 60 ปี

กรมชลประทานได้ แจ้งประสานหน่วยงานในท้องถิ่น พื้นที่ต่างๆจัดเตรียมสำรองน้ำไว้ใช้ให้เพียงพอในห้วง 3 -6 เดือน ตั้งแต่ มกราคม ถึง มิถุนายน

หากต้องการความช่วยเหลือสามารถแจ้งได้ที่โครงการชลประทานในพื้นที่ หรือโทรสายด่วน 1460 หรือ เฟสบุ๊ก เรารักชลประทาน รอบรั้วชลประทาน และศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ

ภาพประกอบ: เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

Related Posts

Send this to a friend