HUMANITY

เตรียมจัดเวทีวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

สมเด็จพระกนิษฐาฯ พระราชทานปาฐกถาพิเศษ “สี่ ทศวรรษ การทรงงานด้านการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนด้อย โอกาส” ระดม 60 นักปฏิรูป ร่วมหาทางออกแก้ความเหลื่อมล้ำหลังวิกฤตโควิด-19 ระหว่างวันที่ 10-11 กรกฏาคม นี้ 

นายสุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และดร.กฤษณพงศ์  กีรติกร  ประธานอนุกรรมการกำกับทิศทางการจัดประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา : ปวงชนเพื่อการศึกษา และที่ปรึกษา กสศ. แถลงข่าวการจัดประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา : ปวงชนเพื่อการศึกษา โดย นายสุภกร บัวสาย ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า กสศ. ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย  องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ธนาคารโลก (World Bank) Global Partnership for Education และ Save the children UNESCO และภาคีเครือข่าย จัดประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา:ปวงชนเพื่อการศึกษา(ALL FOR EDUCATION)  ในวันที่10-11กรกฎาคม 2563 ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีนักปฏิรูป ผู้นำด้านการศึกษา กว่า 60 คน จาก14 ประเทศร่วม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และระดมสมองหาทางออกการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในวิกฤตโควิด-19 ในการนี้  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดและพระราชทานปาฐกถาพิเศษเรื่อง “สี่ ทศวรรษ การทรงงานด้านการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนด้อย โอกาส” ในวันศุกร์ที่10กรกฎาคม 2563 

“จากข้อมูลสถาบันสถิติแห่งองค์การยูเนสโก (UIS) แสดงให้เห็นว่ายังมีเด็กเยาวชนมากกว่า 263 ล้านคนทั่วโลกที่อยู่นอกระบบการศึกษา ในจำนวนนี้เป็นเด็กวัยประถมศึกษามากกว่า 60 ล้านคน โดยเด็กจากครอบครัวที่ยากจนที่สุด มีโอกาสหลุดออกจากระบบมากกว่าเด็กจากครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุดถึง 5 เท่า  ยิ่งมาเจอผลกระทบโควิด-19 ซ้ำเติม ทั่วโลกประเมินว่าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น   องค์การยูเนสโกและองค์การยูนิเซฟประเมิน ว่าวิกฤตนี้ทำให้มีเด็กเยาวชนมากกว่า 90% ทั่วโลกต้องออกจากระบบการศึกษาชั่วคราว และมีเด็กหลายล้านคนเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษา    สำหรับไทยพบตัวเลขผู้ยากจนด้อยโอกาส4.3 ล้านคน เป็นนักเรียนยากจน1.8-2 ล้านคน เด็กที่หลุดออกนอกระบบการศึกษา 5-6 แสนคน” นายสุภกร กล่าว

ทั้งนี้การประชุมครั้งนี้ มีผู้คร่ำหวอดในวงการศึกษาจากหลากหลายวงการ ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อาทิ อมาตย เซน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ที่เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ อลิส อัลไบร์ท ผู้จัดการกองทุนการศึกษาโลก หรือ Global Partnership for Education (GPE)  องค์กรที่มุ่งสนับสนุนการขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศกำลังพัฒนามาแล้วกว่า 68 ประเทศ       อันเดรียส ชไลเคอร์ ผู้ริเริ่มและอยู่เบื้องหลังการประเมินทักษะนักเรียนนานาชาติหรือ PISA และยังมี หนึ่งในผู้นำด้านการพัฒนาครูของภูมิภาคเอเชียจากประเทศสิงค์โปร์ นักการศึกษาชั้นนำจากฟินแลนด์    สำหรับผู้สนใจสามารถลงทะเบียนฟรีเพื่อเข้าประชุมออนไลน์ได้ที่นี่ 

นายสุภกร บัวสาย ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

ด้าน ดร.กฤษณพงศ์  กีรติกร ประธานอนุกรรมการกำกับทิศทางการจัดประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา:ปวงชนเพื่อการศึกษาและที่ปรึกษากสศ. กล่าวว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงงานด้านการศึกษาของเด็กยากจนด้อยโอกาสมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยตามเสด็จรัชกาลที่ 9 ยิ่งสถานการณ์โควิด-19 พระองค์ทรงเป็นห่วงเรื่องการศึกษาของเด็กชนบทที่ด้อยโอกาส จึงมีพระราชดำริให้ทำถุงยังชีพเพื่อการศึกษาแจกจ่ายให้กับโรงเรียนตชด.300 แห่ง โดยในถุงยังชีพประกอบด้วยอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน เช่น หนังสือแบบเรียน รูปต่อจิ๊กซอล์ ลูกบอลยาง สมุดคัดลายมือ รวมถึงเมล็ดพันธุ์พืชพระราชทาน จากพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงปฏิบัติชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงเล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนไทยและลงลึกทุกปัญหาการศึกษาจริงๆ เห็นได้จากถุงยังชีพของพระองค์ รวมถึงการให้ครูตชด.ไปสอนตามบ้านในสถานการณ์วิกฤต

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานอนุกรรมการกำกับทิศทางการจัดประชุมวิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา : ปวงชนเพื่อการศึกษา และที่ปรึกษา กสศ.

“หลังสถานการณ์วิกฤต จากนี้อย่างน้อย1ปีการศึกษา เด็กจะใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่บ้าน คือเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะช่วงที่อยู่บ้านเวลากว่าร้อยละ60-70 เด็กไม่ได้รับการศึกษาเลย คำถามคือภาครัฐและส่วนที่เกี่ยวข้องจะแก้ปัญหานี้อย่างไร สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ พระองค์ทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่างแล้ว พระองค์มีถุงยังชีพเพื่อการศึกษาเข้าไปช่วยในพื้นที่ที่โทรทัศน์ละอินเทอร์เน็ตเข้าไปไม่ถึง กับมีครู ตชด.เป็นตัวช่วย อันนี้เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทุกคนต้องช่วยกันคิด ช่วยกันแก้ มิฉะนั้นอีก2ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะจบด้วยการมีประชากรที่ไม่มีคุณภาพ” ดร.กฤษณพงศ์ กล่าว

Related Posts

Send this to a friend