HUMANITY

เปิดเวทีเสวนาบทบาทสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวการชุมนุม

วันนี้ (4 มี.ค. 64) เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมกาแล็กซี่ โรงแรมอวานี ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ AMNESTY INTERNATIONAL THAILAND เปิดเวทีเสวนา “บทบาทสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวการชุมนุม” จากวิทยากร 4 ท่าน ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นางสาวฐปณีย์ เอียดศรีไชย (แยม) ผู้ก่อตั้งสำนักข่าว The Reporters นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) แกนนำราษฎร และนายนภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการบริหารสำนักข่าว WorkpointTODAY ร่วมบรรยายการทำงานด้านสื่อต่อสิทธิมนุษยชน พร้อมประกาศผลรางวัล “สื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2563

หัวข้อบรรยายกล่าวถึง กระบวนการทำงานของสื่อในเหตุการณ์ชุมนุมที่ผ่านมา และเรื่องสิทธิมนุษยชนที่มีการผลักดันในหลายภาคส่วนในปี พ.ศ.2563 ถึงปัจจุบัน “รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล” เผยถึงสื่อที่ได้มีการเข้ามาทำรายใน วันที่ 10 ส.ค. พ.ศ.2563 ซึ่งสื่อในบางสำนักได้มีการปิดรายงานไปบางส่วน ถึงการปราศรัยและยอมรับถึงคำพูดบางช่วงที่อาจไม่สุภาพ โดยที่ผ่านในระยะหลังตนได้ลดถ้อยคำเหล่านั้นลงเพื่อสามารถนำมาออกอากาศได้

สื่อบางสำนักให้ข่าวแค่ด้านเดียวเป็นผลลบแก่ผู้ชุมนุม ซึ่งเราอยากให้เนื้อหาที่เกี่ยวกับผู้ชุมนุมได้ถูกเผยออกไปเช่นกัน แต่ไม่มีข่าวเกี่ยวกับผู้ชุมนุมที่บาดเจ็บหรือได้รับอันตราย ในฐานะแกนนำแนวร่วม ม.ธ. ต้องการให้สื่อดั้งเดิมเสนอเนื้อหาดังกล่าวออกไป เพราะผู้คนส่วนใหญ่ยังมีการ อ่านหนังสือพิมพ์อยู่จึงอยากจะใช้ช่องทางนี้ในการสื่อสารเช่นกัน

นางสาวฐปณีย์ เอียดศรีไชย ผู้ก่อตั้งสำนักข่าว The Reporters กล่าวถึง กระบวนการทำงานของสื่อ ในช่วงปีที่ผ่านมานั้น มีความยากลำบากและเป็นความท้าทาย ด้วยเรื่องที่นำมาปราศรัยนั้นเป็นเรื่องที่ใหม่ต่อการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการเคลื่อนไหวในการตั้งกลุ่มที่ไม่มีแกนนำนั้น ทำให้การติดต่อกับตัวแกนนำที่จะเสนอข่าวนั้นไม่มีข้อมูลเสนอ จึงได้เห็นสื่อบางแห่งหยิบข้อมูลราชการนำมาใช้แทน อีกทั้งการผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ รู้สึกดีใจที่ผู้คนในหลายภาคส่วนหันมาสนใจและร่วมแรงไม่เฉยต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะการที่สื่อช่วยรายงานความเป็น “มนุษยชน” จะทำให้เขาปลอดภัย และเห็นด้านนึงของความเป็นอยู่ เช่นนั้นสื่อต้องสร้างความเข้าใจของตัวบุคคลออกมาให้รับรู้

“แกนนำที่เป็นเยาวชนนั้นมีเพิ่มขึ้น” ทั้งนี้การนำเสนอต้องยึดถึงหลักการละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชน ไว้ในการสัมภาษณ์ ต้องมีการตรวจสอบความยินยอมหากให้เปิดหน้าตา หรือบอกเล่าเรื่องนั้น ถึงแม้ว่าจะมีการยินยอมแต่การปกป้องแหล่งข่าวนั้นจำเป็นต้องคำนึงเช่นกัน ในการที่ผู้ชุมนุมหรือแกนนำต้องการเสนอเรื่องนั้นออกมา

จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย

นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เผยถึง เรื่องราวการชุมนุมเมื่อวันที่ 28 ก.พ. พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา ถึงเหตุการณ์ที่นักข่าวสำนักประชาไท ถูกควบคุมตัว ซึ่งต่อมาภายหลังสมาคมนักข่าวแถลงการณ์ได้มีการจัดประชุมถึงเรื่องดังกล่าวเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำ ลดความเข้าใจว่าสื่อไม่ทำงาน และนำเสนออย่างไรไม่ให้ตัวเองถูกฟ้อง อีกทั้งย้ำถึงอิสระในการรายงานข่าวของสื่อโดยปราศจากการถูกคุกคาม

“สื่อต้องการพื้นที่ปลอดภัย” ในการรายงานทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ทางสมาคมนักข่าวนั้น ยินดีที่จะในการสร้างพื้นที่เป็นตัวกลางในการพูดคุยแสดงความคิดเห็น ของผู้ชุมนุมและรัฐบาล เพราะปัญหานั้นไม่ใช่มีเพียงแค่การเมืองเพื่อไม่ปล่อยให้ความคิดนี้นำไปสู่ความรุนแรงที่บานปลาย อีกทั้งได้กล่าวขอบคุณ รุ้ง-ปนัสยา ถึงการบอกกล่าว สื่อมวลชนถึงกรณีเมื่อเกิดการปะทะขึ้นให้เข้าพื้นที่ปลอดภัย

นายนภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ บรรณาธิการบริหารสำนักข่าว WorkpointTODAY เล่าประสบการณ์ทำงานของการเป็นบรรณาธิการ หากย้อนกลับเมื่อการชุมนุมในครั้งอดีต ต้องชิงพื้นที่การสื่อสารกัน โดยต้องปรากฏตัวผ่านวิทยุหรือหนังสือพิมพ์ ในหลายครั้งเขาไม่สามารถเรียกร้องหรือ บอกสิ่งต่างๆ ออกไปได้ในพื้นที่นั้นแน่นอนว่าการรายงานอาจมีความรุนแรงเผยออกไป ซึ่งปัจจุบันสื่อออนไลน์นั้นเป็นการรายงานแบบไลฟ์สด ทำให้เห็นมุมที่ต่างออกไปในหลายมุมเพราะเป็นเหตุตรงหน้าจึงไม่มีการใส่กรอบความคิดของนักข่าวลงไป แน่นอนว่าการรายงานยั้นอาจมีความรุนแรงอผยออกไป สื่อหนังสือพิมพ์ หรือโทรทัศน์ผู้คนรุ่นใหม่ให้ความสนใจน้อยลงอย่างมาก

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (รุ้ง) แกนนำราษฎร

นายนภพัฒน์จักษ์ กล่าวในฐานะบิดาว่า ต้องยอมรับความคิด ทางการเคลื่อนไหว แม้อาจไม่ได้เห็นด้วย 100% แต่ต้องมีการพูดคุยทำความเข้าใจ ในความคิดโลกของกันและกัน ซึ่งตัวผู้ปกครองเองก็เคารพ ในความคิดเขาเช่นกัน ไม่ใช่ไล่เขาออกจากบ้าน เพราะ คนต่างรุ่น อาจมีความคิดที่แตกต่างกัน หากสื่อยังมีการโหมโรงความรุนแรงอยู่ มีการใส่กรอบความคิดเห็นตัวเองอยู่ สิ่งนี้เองเป็นการเปิดโอกาสใช้ความรุนแรงในพื้นที่สื่อให้เกิดขึ้น

วิทยากรได้ทิ้งท้ายถึงการที่สื่อต้องเป็นตัวเชื่อมความเข้าใจแก่ผู้รับสาร และจะมีการผลักดันถึงการทึ่รัฐใช้อุปกรณ์ เข้าสลายชุมนุมโดยไม่มีการบอกกล่าวถึงแนวทาง ปฎิบัติที่ชัดเจน และประกาศผลรางวัล “สื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2563 เป็นลำดับต่อไป

Related Posts

Send this to a friend