HUMANITY

ไม่มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ “โรฮิงญา” เปิดคำชี้แจง “อองซาน ซูจี” ต่อศาลโลก

นางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ สาธารณรัฐเมียนมา เป็นตัวแทนรัฐบาลชี้แจงต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก กรณีสาธารณรัฐแกมเบีย ยื่นฟ้องมีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา

นางซูจี ระบุว่า การยื่นคำร้องของแกมเบียต่อศาลโลก ยังไม่สมบูรณ์และทำให้เข้าใจผิด เกี่ยวกับสถานการณ์ในรัฐยะไข่ ที่ไม่อยากให้ประเมินจากความรู้สึก เพราะปัญหามีความซับซ้อนและเข้าใจยาก ซึ่งเราก็มีความเห็นอกเห็นใจผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับความเสียหายจากความขัดแย้งในปี 2559-2560 จนต้องอพยพไปในค่ายผู้ลี้ภัยที่ค็อกซ์บาซาร์ ประเทศบังคลาเทศ

ซึ่งในรัฐยะไข่ มีปัญหามานานนับศตวรรษและเลวร้ายลงเมื่อปีที่ผ่านมา จากการปะทะกันของ กองทัพอาระกัน (Arakan Army : AA) ซึ่งต่อสู้เพื่อกอบกู้รัฐอาระกัน กับกองทัพเมียนมา จนเกิดความขัดแย้ง มีผู้พลัดถิ่นจำนวนมากในรัฐยะไข่ หรือรัฐอาระกันในอดีต

นางซูจี ระบุว่า สถานการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นจากกองกำลังกู้ชาติโรฮิงญาอาระกัน ( Arakan Rohingya Salvation Army :ARSA) นำกำลังกว่า 400 คนได้เข้าโจมตีค่ายตำรวจ 3 แห่งในเมือง Maungdaw และเมือง Ratataung ชายแดนบังคลาเทศ ซึ่ง ARSA ออกมาแสดงความรับผิดชอบจากกานกระทำครั้งนี้ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ 9 นายเสียชีวิตและพลเรือนกว่า 100 คนเสียชีวิต นอกจากนี้ยังมีการยึดอาวุธกว่า 10,000 รายการรวมถึงปืนไรเฟิล 68 กระบอก นี่คือจุดเริ่มต้นของการต่อสู้ระหว่างกองทัพพม่าและ ARSA ในปลายปี 2560

แต่รายงานจากแกมเบียไม่ได้ระบุถึงสถานการณ์ความขัดแย้งนี้ และกลายเป็นภัยคุกคามในพื้นที่ จนรัฐบาลต้องมาควบคุมสถานการณ์นี้ โดยรายงานของกลุ่ม Crisis International ระบุว่า ARSA ได้รับอาวุธและความช่วยเหลือด้านกระสุนจากกลุ่มผู้ทำสงครามชาวอัฟกานิสถานและปากีสถาน และกองกำลัง ARSA มีเป้าหมายเพื่อยึดพื้นที่เมืองมองดอว์

นางซูจี ได้ชี้แจงข้อมูลพื้นหลังในเมืองดอว์ ที่หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อศาล โดยระบุว่า มีปัญหาเรื่องเขตแดนบริเวณชายแดนพม่าและบังคลาเทศ ตั้งแต่ยุดอาณานิคมอังกฤษ ที่เขตของพม่าไกลไปถึงเมืองจิตตากอง แต่หลังได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1948 ก็ปรากฏดินแดนเหมือนในปัจจุบัน ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1942 เมืองมองดอว์ อยู่ในการควบคุมของอังกฤษ ซึ่งมีการใช้กองกำลังของชาวมุสลิมร่วมมือต่อต้านกองทัพญี่ปุ่น จนมีการตอบแทนด้วยการพยายามจัดตั้งเขตมุสลิมที่มีความเป็นอิสระในเมืองมองดอว์ ก่อนที่พม่าจะได้รับเอกราชใน พ.ศ.2491 ขณะเดียวกันก็มีความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมและชาวพุทธในปี พ.ศ. 2485 และความขัดแย้งในปีพ. ศ. 2491 ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง ในรัฐยะไข่

“การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่มีการกล่าวหาเมียนมา จึงเป็นคำที่ทำให้เข้าใจผิด เพราะสิ่งที่ทหารเมียนมา กำลังทำอยู่นี้คือการปราบปรามผู้ก่อการร้าย”

นางซูจี ระบุว่า เรื่องนี้มีกระบวนการยุติธรรมในเมียนมาดำเนินการสอบสวนเรื่องนี้ ตามรัฐธรรมนูญปี 2551 ที่มีศาลทหาร พิจารณาคดีของทหาร ซึ่งเป็นเรื่องยากเช่นเดียวกันที่จะตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะหากทหารพม่าทำอาชญากรรมสงคราม ก็จะถูกตัดสินภายใต้กระบวนการยุติธรรมทางทหารตามรัฐธรรมนูญ

นางซูจี มีความคาดหวังที่จะเห็นสันติภาพและความสามัคคีในรัฐยะไข่ ที่ต้องการพัฒนาให้ดีขึ้น อย่างที่มีความพยายามให้นายโคฟี่ อันนัน อดีตเลขาธิกาาองค์การสหประชาชาติ หรือ UN เข้ามาเป็นที่ปรึกษาในรัฐยะไข่ เพื่อชุมชนทั้งหมดในรัฐยะไข่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานเดียวกัน และเตรียมการในการส่งกลับผู้ลี้ภัยจากบังคลาเทศกลับเมียนมา

“รัฐยะไข่กำลังประสบปัญหาความขัดแย้งภายในระหว่างกองทัพ AA และกองทัพพม่า ความขัดแย้งนี้ไม่ได้เกี่ยวกับชาวมุสลิม แต่อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการรักษาความปลอดภัย และเรากำลังพยายามในการที่จะสร้างความยุติธรรมและความปรองดอง เพื่อให้เกิดสันติภาพในรัฐยะไข่ด้วย”

หลังการชี้แจงของนางซูจี ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 11 ธ.ค.62 มีชาวเมียนมา มาชูป้ายสนับสนุนนางซูจี และมีชาวโรฮิงญา และกลุ่มชาติพันธุ์อื่นมาต่อต้านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ด้วย

สำหรับคดีนี้ประเทศแกมเบีย ยื่นฟ้องเมียนมา ในนามรัฐสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม OIC ที่มีสมาชิกประเทศมุสลิม 57 ประเทศ กล่าวหาว่า เมียนมา ละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่สมาชิกสหประชาชาติ (UN ) ร่วม ลงนามเมื่อปี 1948 ซึ่งแกมเบียและเมียนมา เป็นสมาชิกด้วย จึงขอให้ศาลโลกออกคำสั่งฉุกเฉิน ยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวโรฮิงญา เอาผิดผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชดเชยความเสียหายกับเหยื่อความรุนแรงนี้

Related Posts

Send this to a friend