HUMANITY

“ป้องกันไม่ให้มีการทรมาน”แถลงการณ์ วันต่อต้านการทรมานสากล 26 มิถุนายน 2562

สมาคมป้องกันการทรมาน (ATP) ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF) นำเสนอผลการวิจัยและแผนงานโครงการต่อทูตจากหลายสถานทูต และร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางก้าวถัดไปในการทำงานป้องกันไม่ให้มีการทรมาน โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานคณะอนุกรรมการป้องกันการกระทำทรมานและการบังคับให้หายสาบสูญ ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงยุติธรรม

โดยในระหว่างวันที่ 17-20 มิถุนายน 2562 สมาคมป้องกันการทรมาน หรือ  the Association for the Prevention of Torture (APT) องค์กรพัฒนาเอกชนอิสระ มีสำนักงานอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ซึ่งทำงานทั่วโลกเพื่อป้องกันการทรมานและปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม นำเสนอผลการวิจัยเรื่องการทรมานและการกระทำอื่นที่โหดร้ายทารุณในประเทศไทยหลังจากการทำงานรวบรวมข้อมูลเป็นเวลาหนึ่งปี โดยผลงานวิจัยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดับชาติภายใต้กรอบเวลาสามปี ที่มุ่งพัฒนาการดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้มีการทรมานในการคุมขังโดยหน่วยงานตำรวจหรือทหาร

สมาคมป้องกันการทรมาน (ATP) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนอิสระอื่น ๆ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ แบ่งปันประสบการณ์และความเชี่ยวชาญอย่างรอบด้านเกี่ยวกับกฎหมายและกลวิธีของตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการทรมานและการกระทำอื่นที่โหดร้ายทารุณ การสนทนากลุ่มย่อยระหว่างสมาคมป้องกันการทรมาน (ATP) กับหน่วยงานตำรวจ และการทำงานของมูลนิธิผสานวัฒนธรรมร่วมกับผู้ต้องขังและอดีตผู้ต้องขังแสดงให้เห็นทัศนคติของเจ้าหน้าที่และประชาชนต่อวิธีการสอบสวนที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำงานอย่างหนักเพื่อต่อต้านการทรมานและการกระทำอื่นที่โหดร้ายทารุณในประเทศไทย การประชุมดังกล่าวได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม

แม้กฎหมายอาญาในประเทศไทยไม่ได้กำหนดให้การกระทำที่โหดร้ายทารุณหรือการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมเป็นความผิดทางอาญา แต่ประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญาได้ระบุถึงสิทธิทางกฎหมายของผู้ต้องขังในการเข้าถึงทนายความของผู้ถูกจับกุมและผู้ต้องขัง สิทธิในการได้รับการเข้าเยี่ยมจากครอบครัว สิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาล อย่างไรก็ตามสมาคมป้องกันการทรมานระบุว่าถึงแม้สิทธิเหล่านี้จะถูกบัญญัติไว้ตามกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติมักไม่ถูกนำมาบังคับใช้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการใช้ดุลยพินิจงดเว้นสิทธิ ช่องว่างและข้อยกเว้นทางกฎหมายทำให้ง่ายต่อการเกิดการทรมาน การกระทำอื่นที่โหดร้ายทารุณ และลิดรอนสิทธิผู้ต้องขังโดยเจ้าหน้าที่ ด้วยปัจจัยดังกล่าวทำให้ผู้ต้องขังไม่ทราบสิทธิทางกฎหมายของตน และไม่สามารถติดต่อแจ้งสมาชิกในครอบครัวเรื่องการคุมขังได้ การขาดมาตรการคุ้มครองทำให้การป้องกันไม่ให้เกิดการทรมานเป็นไปไม่ได้ เพราะทนายความหรือสมาชิกในครอบครัวไม่สามารถรับรู้ และเรียกร้องความเป็นธรรมได้  อ่านยุทธศาสตร์การป้องกันการทรมานได้ที่ https://bit.ly/2WWmLv1

ทั้งนี้ข้อแนะนำต่อประเด็นข้างต้นคือการเพิ่มความตระหนักรู้ของประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญเรื่องมาตรการคุ้มครอง และเครื่องมือที่ใช้ได้จริงสำหรับกลุ่มเปราะบางซึ่งมีความเสี่ยงในการถูกคุมขัง

เรียนรู้สิทธิและเครื่องมือเพิ่มเติมในรูปแบบภาษาไทยได้ที่เว็บไซต์ https://bit.ly/2WW6wJC

หรือแสกน QR Code

Related Posts

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Send this to a friend