PUBLIC HEALTH

ศบค.ปรับเพิ่มพื้นที่สีแดงเข้ม เป็น 29 จังหวัด ขยายเคอร์ฟิวหลัง 21.00 – 04.00 น. เริ่ม 3 ส.ค.

นายกรัฐมนตรีประชุมศบค. ปรับเพิ่มพื้นที่สีแดงเข้มเป็น 29 จังหวัด ขยายมาตรการงดออกนอกเคหะสถานหลัง 21.00 – 04.00 น. เริ่ม 3 สิงหาคม

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ครั้งที่ 11/2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) เพิ่มพื้นที่ สีแดงเข้มเป็น 29 จังหวัด ขยายระยะเวลา การใช้มาตรการตามข้อกำหนดฉบับ 28 งดออกนอกเคหะสถานหลัง 21.00 – 04.00 น. เริ่ม 3 สิงหาคม นี้

นายกรัฐมนตรีแจ้งในที่ประชุมทราบว่า ระยะเวลา 1-2 เดือนข้างหน้าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ซึ่งทั่วโลกมีทิศทางการแพร่ระบาดรุนแรงและเพิ่มมากขึ้น ศบค. จึงเร่งดำเนินการในขณะนี้ ทั้งการยกระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรและปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด – 19 การใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit ให้กำหนดมาตรการกำกับดูแลอย่างรัดกุม และกำหนดแนวทางการในการบริหารจัดการตรวจ Antigen Test Kit รวมทั้งกำชับให้บริหารจัดการระบบการรักษาพยาบาลทุกระบบให้มีประสิทธิภาพและให้มีการประสานงานโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน จัดทำระบบ HI และ CI เพิ่มเติม ทั้งในพื้นที่กรุงเทพและต่างจังหวัด ขณะเดียวกัน การยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคในสถานประกอบกิจการ ทั้งโรงงาน แคมป์แรงงาน บริษัท ในรูปแบบการป้องกันควบคุมโรคเฉพาะพื้นที่ หรือ Bubble and Seal โดยเฉพาะโรงงานใหญ่ ๆ เพื่อชะลอกการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานให้มากที่สุด

นายกรัฐมนตรียังเปิดเผยอีกว่า วันพรุ่งนี้จะมีการรับมอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่รัฐบาลต่างประเทศส่งมอบวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ประกอบด้วย รัฐบาลสหรัฐอเมริกา มอบวัคซีนไฟเซอร์ ไบโอเอนเทค (Pfizer-BioNTech) จำนวน 1,503,450 โดส ซึ่งมาถึงประเทศไทยแล้ว เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ที่ผ่านมา วัคซีนแอสตร้า เซเนกา ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร จำนวน 415,040 โดส รัฐบาลสมาพันธรัฐสวิสมอบอุปกรณ์ทางแพทย์ ได้แก่ ชุดตรวจหาเชื้อโควิด – 19 แบบเร่งด่วน (Rapid Antigen Test) จำนวน 1,100,000 ล้านชุด และ เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 102 เครื่อง ซึ่งได้จัดส่งถึงไทยแล้ว เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม และวัคซีนแอสตร้า เซเนกา ของรัฐบาลญี่ปุ่นได้มอบจำนวน 1,053,090 โดส เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา

สำหรับแผนการจัดหาและกระจายวัคซีน นั้นนายกรัฐมนตรียังยืนยันการจัดหาโควิด-19 ในเดือนสิงหาคม จำนวน 10 ล้านโดส ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม 7 โรคเสี่ยง โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ และบุคลากรด่านหน้า กลุ่มโรงงานและกลุ่มประกันสังคมรวมทั้งคนต่างประเทศที่อยู่ประเทศไทย พร้อมทั้งได้เร่งให้มีการพิจารณาการขึ้นทะเบียนวัคซีนสปุ๊กนิก ขณะเดียวกันก็สั่งการให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการต่างประเทศเร่งเจรจาจัดหาวัคซีน เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อป้องกันไวรัสที่กลายพันธ์ ขณะนี้ได้เร่งการฉีดวัคซีนให้มากที่สุด เชื่อว่าจะสามารถฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุได้ครอบคลุมร้อยละ 50 ภายในเดือนสิงหาคม นี้

สำหรับเกณท์การจัดสรรวัคซีน Pfizer 1.5 ล้านโดส ยังเป็นบุคลากรทางการแพทย์ (เข็ม 3 กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ) จำนวน 700,000 โดส ผู้มีภาวะเสี่ยงสูง จำนวน 645,000 โดส ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จำนวน 150,000 โดส ทำการวิจัย 5,000 โดส และสำรองส่วนกลาง จำนวน 3,450 โดส มั่นใจว่าหลังจากนี้ไทยจะสามารถจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม รวมทั้งการให้มีการรายงานการจัดหายาฟาวิฟิราเวียร์ และยาตัวอื่นๆ ซึ่งจะเป็นยารักษาโควิด-19 ตัวใหม่ๆ เพิ่มด้วย ในการประชุม นายกรัฐมนตรียังกำชับการทำงานที่บ้าน (WFH) ให้มากที่สุด โดยเฉพาะภาครัฐและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ให้มีการ WFH ขั้นสูงสุด ขณะเดียวกันก็ขอความร่วมมือภาคเอกชนลดการทำงานในออฟฟิศสำนักงาน โดยขอให้ปรับทำงานที่บ้านให้มากที่สุดด้วยเช่นกัน

นายกรัฐมนตรียังเปิดเผยในนามผอ. ศบค. มีความเป็นห่วงพี่น้องประชาชนและสถานการณ์การแพร่ระบาดในขณะนี้มาก จึงสั่งให้ศบค. มีทั้งมาตรการทั้งในเชิงรุก เชิงรับ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทุกวัน พร้อมกำชับให้ทุกหน่วยงานต้องเร่งประชาสมัพนธ์ สร้างความเจ้าใจถึงความจำเป็นที่ทุกคนยังต้องปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข DMHTT เพื่อลดโอกาสในการแพร่หรือติดเชื้อ เน้นในการประชาสัมพันธ์

ขณะเดียวกันก็ฝากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย แสดงแผนที่จัดหวัดให้พื้นที่สีฟ้าทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งบางจังหวัด ไม่ใช่พื้นที่แดงทั้งจังหวัด ยังมีพื้นที่ปลอดภัย หรือพื้นที่สีฟ้าสะท้อนถึงเห็นถึงความร่วมมือของประชาชนในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามารถควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่ทั่วประเทศในทุกจังหวัด โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังห่วงใยเจ้าหน้าที่ด่านหน้าผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งอาสาสมัคร จิตอาสา ย้ำให้จัดมีอุปกรณ์ เพื่อป้องกันในการปฏิบัติหน้าที่ด้วย พร้อมกำชับให้เจ้าหน้าที่ดูแลการชุมชน ให้เป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่ด้วย

ที่ประชุมมีมติสำคัญ ดังนี้

  1. การยกระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร ปรับเป็น พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (แดงเข้ม) จากเดิม 13 จังหวัดเป็น 29 จังหวัด กรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดชลบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดตาก จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครนายก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดประจวบคีรีขัน จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดปัตตานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดยะลา จังหวัดระยอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสงขลา จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดอ่างทอง และไม่มีพื้นที่เฝ้าระวัง (พื้นที่สีเขียว)
  2. การปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

    2.1 การปรับมาตรการจำหน่ายอาหารแบบสำหรับร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่นผ่าน Delivery ร้านยา/เวชภัณฑ์ ซุปเปอร์มาณ์เก็ต เปิดได้ไม่เกิน 20.00 น. โดยผู้ประกอบการจัดทำมาตรการ DMHT จัดพนักงานในการส่งอาหารไปยังจุดส่งอาหาร ห้ามเปิดบริการหน้าร้าน

    2.2 ปิดร้านเสริมสวย ร้านนวด สถานเสริมความงาม

    2.3 งดการเรียนการสอนในสถานศึกษาทุกระดับสถาบันกวดวิชา ไม่ให้มีการจัดกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมาก

    2.4 ปิดสถานที่เล่นกีฬาหรือแข่งขันกีฬา

Related Posts

Send this to a friend